การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน (Orthognatic Surgery)
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เป็นการวิธีการรักษาคนไข้ที่ประสบปัญหา หน้าเบี้ยว คางยื่น ฟันยื่น ฟันเหยิน ยิ้มเห็นเหงือกเยอะ และมีปัญหาในการบดเคี้ยวผิดปกติ เนื่องจากการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งการจัดฟันเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะมีความผิดปกติทางโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกร ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่แค่ในเรื่องของความสวยงาม จนกลายเป็นปมด้อยหรือถูกล้อเลียนเท่านั้น
แต่ยังส่งผลในเรื่องของคุณภาพชีวิต เช่น เรื่องการบดเคี้ยวอาหาร การกัด การออกเสียง ดังนั้น การมีโครงสร้างใบหน้าและขากรรไกรผิดปกติจึงควรได้รับการแก้ไขให้ตรงจุดที่สุดจึงต้องใช้ 2 วิธีร่วมกันคือ “การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร”
ปรึกษาปัญหาเรื่องฟันฟรี
สารบัญ การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
- การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร ?
- ทำไมต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- ข้อดีของการจัดฟันผ่าตัดขากรรไกร
- จัดฟันผ่าตัดขากรรไกร ราคา
- คางยื่น ทำอย่างไร
- การผ่าตัดขากรรไกรและจัดฟันหลังผ่าตัด (Surgery First)
- ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกรและจัดฟันหลังผ่าตัด
- วิธีการจัดฟันก่อนแล้วจังผ่าตัดขากรรไกร
- อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา
- การดูแลรักษาหลังจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรเจ็บไหม
- การผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ*
- สรุป
ราคาจัดฟันผ่าตัดขากรรไกร
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร ?
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery) คือ การผ่าตัดเพื่อปรับตำแหน่งของขากรรไกรร่วมกับการจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ผิดปกติ รวมถึงการแก้ปัญหาการสบฟันให้มีความเหมาะสม เนื่องจากในบางกรณีความผิดปกติของขนาด รูปร่างหรือตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรเพียงเล็กน้อยนั้นสามารถส่งผลกระทบทำให้การสบฟันและการบดเคี้ยวผิดปกติ รวมไปถึงความผิดปกติของรูปหน้าอีกด้วย
การวางแผนการรักษาล่วงหน้าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จนอกเหนือจากขั้นตอนการรักษาและผ่าตัด ศัลยแพทย์แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุดให้แก่คนไข้ โดยประเมินจากแบบจำลองฟัน ผลเอกซเรย์ และ CT Scan
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : เทคโนโลยีทางทันตกรรม ศูนย์ทันตกรรม BIDC รัชดา (คลิก)
คางยื่น ทำยังไงดี?
สำหรับกรณีที่มีคางที่ยื่นผิดปกติ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรอาจมีความจำเป็นเพื่อช่วยปรับตำแหน่งให้มีการสบฟันที่ถูกต้อง รวมไปถึงสามารถช่วยแก้ไขโครงหน้าให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น โดยศัลยแพทย์จะทำการเลื่อนขากรรไกรล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งในการรักษาอาจทำร่วมกับการปลูกถ่ายกระดูกขากรรไกร* หรือการปรับแต่งกระดูกคางในบางกรณี
ความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าขากรรไกร
โดยคุณหมอ ณัฐพงษ์ อุดมลาภธรรม ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
*อ่านข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ การเสริมกระดูก ปลูกถ่ายกระดูกฟัน (คลิก)
ทำไมต้องจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร ข้อดีของการจัดฟันมีอะไร?
- สามารถช่วยแก้ไขความผิดปกติของตำแหน่งของฟัน ช่วยให้การสบฟันมีความเหมาะสม ช่วยปรับการเรียงตัวฟันให้มีความสวยงาม และใช้งานได้ดี
- ช่วยแก้ไขและปรับปรุงโครงหน้าที่ผิดปกติ เช่น หน้าเบี้ยว คางยื่น ฟันไม่สบกับ เพื่อการเคี้ยวให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- แก้ไขให้สามารถออกเสียงได้ดีขึ้น ชัดขึ้น มีบุคลิกภาพที่ดี ที่สำคัญยังแก้ไขถึงความผิดปกติของรูปหน้าอีกด้วย ทำให้มีใบหน้ามีความสวยงามมากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้ริมฝีปากสามารถหุบได้สนิทในบางกรณีที่มีปัญหาเรื่องนี้
- ช่วยป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ (TMJ)
- ช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ตัวอย่างการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
ภาพก่อน – หลัง จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
ภาพก่อน – หลัง จัดฟัน *บางเคส อาจไม่ต้องผ่าตัดขากรรไกร
*ในบางเคสที่ไม่ต้องผ่าตัดขากรรไกร : สำหรับการจัดฟันในเด็กวัยรุ่น เนื่องด้วยการเจริญเติบโตยังไม่สิ้นสุด โดยกระดูกจะสิ้นสุดการเจริญเติบโตที่ อายุ 18 – 20 ปี เพราะฉนั้น หากอายุต่ำกว่า 10 ปี ไม่ควรทำการผ่าตัด โดยจะอยู่ในดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาเป็นหลัก
การผ่าตัดขากรรไกรและจัดฟันหลังผ่าตัด (Surgery First)
โดยทั่วไปก่อนการเข้ารับการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรนั้น คนไข้จะต้องได้รับการจัดฟันมาก่อนแล้วเพื่อให้ได้ฟันที่มีการเรียงตัวและการสบฟันที่เหมาะสม แต่ในปัจจุบันนั้นได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาที่เรียกว่า การผ่าตัดขากรรไกรและจัดฟันหลังผ่าตัด หรือ Surgery First เพื่อลดระยะเวลาขั้นตอนจัดฟันก่อนผ่าตัดได้ 6-12 เดือน และยังเป็นการหลีกเลี่ยงภาวะช่วงที่การสบฟันที่ดูผิดปกติมากจากการจัดฟันก่อนผ่าตัด เพื่อจัดตำแหน่งฟันสำหรับเตรียมพร้อมผ่าตัดขากรรไกร โดยมีขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกรและจัดฟันหลังผ่าตัดดังนี้
ขั้นตอนการผ่าตัดขากรรไกรและจัดฟันหลังผ่าตัด
สำหรับคนไข้ที่ทีมทันตแพทย์ลงความเห็นว่า ควรได้รับการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน (Surgery First ) เมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปาก เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) สำหรับใช้ในห้องผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วอาจจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 2 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้าน 2-4 สัปดาห์ จาก หลังจากนั้นเมื่อคนไข้หายดีแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการ การจัดฟัน เพื่อปรับการเรียงฟัน และการสบฟันให้สมบูรณ์ขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี
วิธีการจัดฟันก่อน แล้วค่อยผ่าตัดขากรรไกร
สำหรับคนไข้ที่ทีมทันตแพทย์ลงความเห็นว่าควรได้รับการจัดฟันให้มีความเหมาะสมดีก่อนเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกร คนไข้เข้ารับการจัดฟันก่อนผ่าตัด ใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อแก้ไขการซ้อนเกและปรับแนวแกนฟัน เนื่องจากโดยปกติ คนไข้ที่มีความผิดปกติของขากรรไกร จะมีการชดเชยของฟันโดยฟันจะล้มเอนตามธรรมชาติไปปิดบังความผิดปกติของขากรรไกร ดังนั้น เมื่อเข้ารับการจัดฟันก่อนผ่าตัดจะทำให้การสบฟันก่อนผ่าตัดโดยรวมทั้งใบหน้าดูแย่ลงเพียงชั่วคราว และเมื่อพร้อมที่จะผ่าตัด ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากอีกครั้ง
เพื่อจำลองการผ่าตัดในแบบจำลองฟัน และทำเฝือกสบฟัน(Occlusal Splint) สำหรับใช้ในห้องผ่าตัด และหลังจากผ่าตัดเสร็จแล้วอาจจำเป็นต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล 2 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้าน 2-4 สัปดาห์ เมื่อคนไข้พักฟื้นหายดีแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการจัดฟันต่ออีกประมาณ 6 เดือน – 1 ปี เพื่อปรับการเรียงตัวและการสบฟันให้สมบูรณ์มากขึ้น
การจัดฟันหลังการผ่าตัดยังคงมีความจำเป็นในทุกกรณีเพื่อแก้ไขการสบฟันที่อาจยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ หรือเพื่อคงสภาพฟันหลังการผ่าตัด การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกรนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะต้องรอให้ผู้เข้ารับบริการมีฟันแท้ขึ้นมาจนครบเสียก่อน นอกจากในบางกรณีเท่านั้นที่มีความจำเป็นพิเศษ เช่นกรณีอุบัติเหตุ ศัลยแพทย์จึงจะทำการผ่าตัดให้ทันที และการผ่าตัดจัดแต่งขากรรไกรในผู้ใหญ่นั้น บางครั้งยังสามารถเป็นศัลยกรรมเพื่อความงามโดยทำร่วมกับการผ่าตัดเนื้อเยื่อบางส่วนเพื่อให้ได้รูปหน้าที่มีความสวยงามมากขึ้นได้อีกด้วย
อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการรักษา
คนไข้จะใช้เวลาพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1 – 3 วันหลังการผ่าตัด ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ภายในสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดคนไข้อาจมีอาการบวมหรือฟกช้ำบนใบหน้าซึ่งเป็นผลจากการผ่าตัดและคนไข้ยังจำเป็นต้องได้รับการจำกัดและควบคุมด้านกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ เช่น การออกกำลังกาย ภายใน 1 เดือนแรกหลังการผ่าตัด
การดูแลรักษาหลังจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- รับประทานยาตามคำแนะนำของศัลยแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ควรรักษาความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอ เพื่อลดผลแทรกซ้อนการติดเชื้อ ควรบ้วนปากและเริ่มแปรงฟันหลังผ่าตัดวันที่ 2 และแปรงฟันอย่างระมัดระวัง
- ทันตแพทย์อาจใช้ยางยึดขากรรไกรบนและล่างไว้ด้วยกัน ในกรณีที่กัดฟันไม่ลงหรือฟันไม่สบกันประมาณ 2-4 สัปดาห์ ระหว่างนี้ให้คนไข้รับประทานอาหารเหลวผ่านทางกระบอกฉีดยา ประมาณ 2-4 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเอายางออกให้ คนไข้สามารถเคลื่อนไหวขากรรไกรบนและล่างได้
- ควรรับประทานอาหารเหลวในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการผ่าตัด เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของบาดแผลในช่องปาก
- ไม่ควรเคี้ยวอาหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 2 สามารถเริ่มรับประทานอาหารอ่อนๆได้ เช่น โจ๊ก ไข่ตุ๋น
- การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถทำได้ตามปกติ แต่ใน 1-2 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้แรงหนัก เช่น ยกของ วิ่ง
- หลังสัปดาห์ที่ 2 สามารถออกกำลังกายเบาๆ เข่น เดิน เหยียดกล้ามเนื้อได้
- หลังสัปดาห์ที่ 12 สามารถออกกำลังกายแบบเต้นโรบิค วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องปะทะกัน เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล กีฬาผาดโผน
- ควรประคบเพื่อลดอาการบวม ประมาณ 3-5 วันแรกตลอดเวลาหลังผ่าตัด หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นประคบร้อน/อุ่น ต่อเนื่องอีก 3 วัน หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อลดอาการบวม
- การนอนหลับ ควรนอนยกศีรษะสูง 30 องศา ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยในการลดบวม
- หลีกเลี่ยงการล้วงเข้าไปในช่องปาก ห้ามเขี่ยแผลเล่น เพราะจะทำให้แผลหายช้าและเกิดการติดเชื้อ
จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกรเจ็บไหม
ความอดทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ดังนั้น บางท่านจะบอกว่าเจ็บมาก เจ็บน้อยแตกต่างกันออกไป แต่ในขณะที่ทำการผ่าตัดคนไข้จะไม่รู้สึกตัวเพราะต้องทำการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ* ซึ่งอยู่ในความควบคุมของวิสัญญีแพทย์ที่มีประสบการณ์ และแพทย์จะให้ยาระงับปวดระหว่างทำการผ่าตัดผ่านทางสายน้ำเกลือเพื่อระงับการปวดหลังผ่าตัด เมื่อกลับบ้านก็จะมีการจ่ายยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะให้หลังการรักษา เมื่อคนไข้รู้สึกปวดจึงสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้
ทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ การให้ยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย (General Anesthesia : GA) เป็นวิธีที่ใช้เพื่อทำให้ผู้ป่วยหลับ ปราศจากความกังวลและความกลัว ผู้ป่วยจะไม่สามารถจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผ่าตัดได้ด้วยการให้ยาระงับความรู้สึก มีการสูดดมยาสลบเข้าทางระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH สุขุมวิท ซอย 2
สรุป
การศัลยกรรมกระดูกขากรรไกรบนใบหน้า โดยมีการร่วมกับการจัดฟัน หรือ การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน ซึ่งในการผ่าตัดขากรรไกรนั้น อาจจะผ่าขากรรไกรเดียวหรือ สองขากรรไกรก็ได้ ขึ้นกลับลักษณะความผิดปกติของขากรรไกร โดย ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการจะทำการขยับเคลื่อนกระดูกขากรรไกร ตามแผนการรักษา เพื่อให้มีใบหน้าที่สวยงาม และการสบฟันที่ดีขึ้น
ติดต่อเรา BIDC คลินิกจัดฟัน รัชดาภิเษก
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental