โรคเหงือกหรือโรคปริทันต์ เหงือกอักเสบ เกิดจากอะไร?


โรคเหงือก

เหงือกมีความสำคัญมากไม่แพ้อวัยวะส่วนอื่นใด เหงือกเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะที่ทำหน้าที่ยึดฟันไว้ในกระดูกขากรรไกร และรองรับแรงในการบดเคี้ยว โดยปกติเหงือกจะมีสีชมพู ขอบเรียบ ไม่บวม ไม่มีเลือดออก แต่ถ้าใครที่มีปัญหาเลือดออกขณะแปรงฟัน นั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคเหงือกอักเสบที่เป็นต้นตอหลักของการสูญเสียฟันในอนาคต

ปรึกษาปัญหาเรื่องฟันฟรี

@bidcdental

โปรโมชั่นฟอกฟันขาว
ราคา รากฟันเทียม
โปรโมชั่นจัดฟัน รัชดา
จัดฟันใส ราคา 2567
ครอบฟัน ราคา
ทำวีเนียร์ที่ไหนดี
โปรโมชั่นรีเทนเนอร์
จัดฟันใส iGo ราคา
ดูโปรโมชั่นทำฟัน
ทีม BIDC วัคซีนป้อง Covid-19
ป้องกันโควิด 19

สารบัญความรู้เกี่ยวกับโรคเหงือก โรคปริทันต์ [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากอะไร ?

เหงือกอักเสบ โรคเหงือก (Gum Disease) สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสะสมตัวของคราบพลัค หรือคราบจุลินทรีย์ ที่ประกอบด้วยแบคทีเรียและคราบอาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน จากการทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ทำให้คราบเหล่านั้นกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียส่งผลให้แบคทีเรียเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นและเมื่อแบคทีเรียปล่อยกรดและสารพิษออกมากระตุ้นให้เกิดการอักเสบ

รักษารากฟัน

นอกจากนี้ โรคเหงือกอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น

    • อายุ โดยโรคเหงือกมักพบในวัยผู้สูงอายุ
    • เพศ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเหงือกได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศในช่วงวัยเจริญพันธุ์
    • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารแบบไม่ถูกสุขลักษณะอย่างการดื่มน้ำอัดลมหรือการรับประทานอาหารทอด รวมทั้งไม่แปรงฟันทันทีหลังรับประทานอาหารดังกล่าว
    • ความเครียด ซึ่งอาจทำให้ร่างกายติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
    • การใส่เครื่องมือจัดฟัน ซึ่งอาจทำให้ขจัดคราบพลัคออกไปได้ายากขึ้น
    • ปัญหาสุขภาพหรือโรคบางชนิด เช่น ภาวะขาดสารอาหาร การติดเชื้อไวรัสเอชไอวีหรือเอดส์ โรคเบาหวาน เป็นต้น
    • ประวัติทางการแพทย์อื่น ๆ เช่น เคยเข้ารับการทำเคมีบำบัด และเคยเป็นโรคเกี่ยวกับเหงือก เป็นต้น

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคเหงือก?

Prosthodontic Dentistry
  • มีเลือดออกขณะแปรงฟัน หรือตอนใช้ไหมขัดฟัน
  • เหงือกแดง และบวมหรือนุ่ม
  • ฟันดูยาวขึ้น เนื่องจากเหงือกร่น
  • เหงือกไม่ติดอยู่กับฟัน เหมือนมีร่อง
  • ฟันมีการขยับเขยื้อนเวลาเคี้ยว
  • มีหนองไหลออกมาจากบริเวณร่องเหงือก
  • มีกลิ่นปาก

ทั้งนี้ อาการที่เกิดจากโรคเหงือกอาจสังเกตได้ยาก เพราะบางครั้งคนไข้อาจไม่มีอาการปวดหรือระคายเคืองบริเวณเหงือก ดังนั้น การเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปากเป็นประจำจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะจะช่วยให้ทันตแพทย์ตรวจพบความผิดปกติของเหงือกและทำการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ทั้งยังช่วยป้องกันการสูญเสียฟันอีกด้วย

อาการของโรคเหงือก

อาการของโรคเหงือกอาจแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการ ดังนี้

1. โรคเหงือกอักเสบ (Gingivitis)

เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะแรกและมักส่งผลกระทบต่อผิวเหงือก โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อของเหงือกและฟัน คนไข้อาจมีเลือดออกที่เหงือกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน มีอาการกดเจ็บที่เหงือก และเหงือกบวมแดง ทั้งนี้ เหงือกอักเสบสามารถรักษาได้โดยการแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดแบคทีเรียและคราบพลัคบนผิวฟัน ซึ่งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นในเวลาต่อมา แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

โรคเหงือกอักเสบ Gingivitis

2. โรคปริทันต์อักเสบ หรือ โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ (Periodontitis)

เกิดขึ้นเมื่อภาวะเหงือกอักเสบไม่ได้รับการรักษา ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดร่องลึกระหว่างเหงือกและรากฟัน รวมทั้งอาจเกิดการสะสมของแบคทีเรียที่บริเวณนั้น ๆ จนเนื้อเยื่อและกระดูกขากรรไกรที่ยึดเหงือกและฟันเอาไว้ด้วยกันได้รับความเสียหาย และทำให้สูญเสียฟันได้ในที่สุด

โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ Periodontitis

ผู้ที่ควรตรวจเหงือกอักเสบ

  • คุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง มีการศึกษาที่พบความสัมพันธ์ของเชื้อแบคทีเรียชนิดที่เป็นสาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ และปริทันต์อักเสบ สัมพันธ์กับภาวะการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้
  • ผู้ที่รักษาความสะอาดช่องปากได้ไม่ดี
  • คนไข้โรคเรื้อรังเบาหวานและความดัน เนื่องจากคนไข้จะได้รับยาที่ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
  • คนไข้โรคหัวใจ

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

การรักษาโรคเหงือก

ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านโรคเหงือก หรือ ปริทันตแพทย์ (Periodontist) จะมุ่งเน้นด้านการรักษาโรคปริทันต์หรือโรคเหงือก ซึ่งโดยทั่วไปมักจะหมายถึงโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ รวมถึงการทำศัลยกรรมเหงือกและการปลูกถ่ายเหงือก

วิธีการรักษาโรคเหงือกประกอบด้วย :

การเกลารากฟันและขูดหินปูน

เกลารากฟัน

การเกลารากฟันและขูดหินปูน เป็นการขจัดคราบพลัค หรือคราบหินปูนออกจากบริเวณฟันและใต้รอยต่อเหงือกโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์ เป็นวิธีการเบื้องต้นในรักษาโรคเหงือกอักเสบและโรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ

การผ่าตัด

ผ่าตัดเหงือก

การผ่าตัดหากมีอาการของโรคปริทันต์ที่ค่อนข้างรุนแรง ทันตแพทย์อาจผ่าตัดเปิดร่องเหงือกเพื่อทำความสะอาดบริเวณดังกล่าว

ศัลยกรรมปลูกเหงือก

ปลูกเหงือก

การปลูกถ่ายเหงือกเป็นวิธีการแก้ปัญหาเหงือกร่น โดยวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณและความหนาของเหงือกในบริเวณที่เกิดการความเสียหายหรือเหงือกร่น ทันตแพทย์อาจตัดเอาเนื้อเยื่อจากบริเวณอื่นๆ ในช่องปากใส่เข้าไปทดแทนเนื้อเยื่อในบริเวณที่เสียหาย

ศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อความสวยงาม

ศัลยกรรมเหงือก

การผ่าตัดเพื่อตกแต่งเหงือก โดยทั่วไปมักทำเพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่รอยยิ้ม เช่น การเพิ่มความยาวของฟัน โดยปกติจะทำกับฟันหน้า เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฟันที่เข้ารับการทำครอบฟันหรือ ทำวีเนียร์เพื่อความสวยงาม

ยิ้มเห็นเหงือกเกิดจากอะไร? มีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้าง?
โดย ทพญ.ชลฤทัย ขาวโต DDS., | ศูนย์ทันตกรรม BIDC

ดูประวัติการศึกษา : ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านโรคเหงือก หรือ ปริทันตแพทย์ ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิก)

การป้องกันโรคเหงือก

เราสามารถป้องกันการเกิดโรคเหงือกได้ด้วยตนเองตามวิธีดังต่อไปนี้

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เน้นแปรงบริเวณฟันและรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก โดยควรใช้แปรงสีฟันหัวเล็กที่มีขนแปรงนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-4 เดือน เพราะแปรงสีฟันเก่าจะมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟันลดลงและอาจทำให้เหงือกเกิดการบาดเจ็บได้
  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัดหากต้องใช้เครื่องมือทำความสะอาดฟันอย่างไหมขัดฟัน แปรงสำหรับซอกฟัน หรือเครื่องมืออื่น ๆ
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรับประทานอาหาร เพราะช่วยขจัดเศษอาหารตามซอกฟันและช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดคราบพลัคที่ฟันได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
  • งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อาจทำให้ช่องปากเกิดการระคายเคืองและทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในช่องปากได้
ราคาฟอกสีฟันที่บ้าน

ติดต่อเรา คลินิกจัดฟันรัชดาภิเษก

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental

แผนที่การเดินทางมาศูนย์ทำฟัน BIDC

จุดเด่นของ ศูนย์ทันตกรรม BIDC

กลับไปด้านบน บริการทางทันตกรรม