การอุดฟันแบบ inlays และ onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป แต่มีการสูญเสียเนื้อฟันไปค่อนข้างมากจากฟันผุหรือฟันแตกจนเกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่เกินกว่าจะทำการอุดฟันตามปกติ แต่ยังมีเนื้อฟันเหลือเพียงพอที่จะทำการบูรณะได้โดยไม่จำเป็นต้องทำการครอบฟัน (Crown) ดังนั้นทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาจึงแนะนำให้ใช้วิธีการอุดแบบ inlays หรือ onlays
เนื้อหาความรู้ Inlays และ Onlays
- Inlays และ Onlays คืออะไร?
- ประเภทของอินเลย์และออนเลย์
- ขั้นตอนการทำ Inlays และ Onlays
- ข้อดีของของการอุดฟันด้วยอินเลย์และออนเลย์
- การดูแลรักษาหลังการทำ Inlays และ Onlays
Inlays และ Onlays
การอุดฟันแบบ inlays เป็นการอุดฟันด้านในของตัวฟัน (Intracoronal Restoration) ในขณะที่การทำ onlays จะมีวิธีการคล้ายคลึงกับการทำ inlays เพียงแต่จะมีพื้นที่ในการอุดมากกว่า inlays โดยมีทั้งส่วนที่อยู่ในตัวฟัน และส่วนที่มีขอบเขตอยู่ผิวนอกของตัวฟัน (Extracoronal Restoration)
ประเภทของอินเลย์และออนเลย์
Inlays และ onlays สามารถทำได้จากวัสดุต่างๆ เช่น เซรามิก ทอง และวัสดุเรซินคอมโพสิตที่มีสีเหมือนฟัน โดย Inlays และ Onlays ที่ทำจากเซรามิกจะให้ความใสและสวยงามเป็นธรรมชาติ ขณะที่การทำด้วยทองจะมีความแข็งแรงและทนทานสูง
ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC เราเลือกใช้วัสดุ IPS Empress Esthetics ในการทำ Inlays และ Onlays แบบเซรามิกล้วน เพื่อประสิทธิภาพที่ดี และมีความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
ขั้นตอนการอุดฟันด้วย อินเลย์และออนเลย์ (Inlays / Onlays)
ครั้งที่ 1 การวางแผนการรักษา และการพิมพ์ฟัน
- ทันตแพทย์วางแผนการักษา และเลือกวัสดุที่เหมาะสมร่วมกับคนไข้
- การกรอฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม และพิมพ์ฟัน
- เลือก สี ขนาด รูปร่างของอินเลย์/ออนเลย์ ที่ต้องการ และส่งแลปทันตกรรมเพื่อผลิตชิ้นงาน รอประมาณ 5 – 7 วัน
- ทันตแพทย์จะทำการอุดฟันแบบชั่วคราวให้แก่คนไข้สำหรับใช้งานระหว่างรอชิ้นงาน
ครั้งที่ 2 การใส่วัสดุ Inlays หรือ Onlays บนฟัน
- เมื่อได้ชิ้นงานจากแลปทันตกรรมแล้ว ทันตแพทย์จะรื้อวัสดุอุดแบบชั่วคราวออก
- ติดยึด Inlays หรือ Onlays บนฟัน และตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
ขั้นตอนการทำ Inlay/Onlay ด้วยเทคโนโลยี CAD/CAM
ครั้งที่ 1 การวางแผนการรักษา และการสแกนฟัน
- ทันตแพทย์วางแผนการักษา
- ทันตแพทย์จะกรอแต่งฟันให้มีรูปร่างที่เหมาะสม และใช้กล้องสแกนภาพโพรงฟันในช่องปากโดยตรง และนำภาพที่ได้ไปออกแบบชิ้นงานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- ทันตแพทย์จะเลือกวัสดุที่ใช้ รูปร่าง และสีที่เหมาะสมร่วมกับคนไข้
- สร้างชิ้นตามที่ได้ออกแบบไว้ด้วยเทคโนโลยี CAD /CAM
ครั้งที่ 2 การใส่วัสดุ Inlays หรือ Onlays บนฟัน
- เมื่อได้ชิ้นงานจากเทคโนโลยี CAD /CAM ทันตอพทย์จะทำการติดยึด Inlays หรือ Onlays บนฟัน และตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมที่สุด
การทำ Inlays หรือ Onlays ด้วยเทคโนโลยี CAD /CAMช่วยย่นระยะเวลาการรักษาให้เหลือเพียง 1-2 วันเท่านั้น การทำ Inlays หรือ Onlays นั้นมีความคล้ายคลึงกับการอุดฟันโดยทั่วไป เพียงแต่วัสดุที่ใช้ในการทำ Inlays และ Onlays นั้นจะมีความแข็งแรงและทนทานมากกว่าวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน และในปัจจุบัน วัสดุ Ceramic ได้ถูกพัฒนาให้มีความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และมีความสวยงามเป็นธรรมชาติ และการรักษาด้วยวิธีนี้จะก่อให้เกิดอาการเสียวฟันได้น้อยมาก
ข้อดีของการอุดฟันแบบอินเลย์และออนเลย์ (Inlays / Onlays)
- เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ฟัน และมีความทนทานมากกว่าการอุดฟันแบบธรรมดา
- ปกป้องเนื้อฟันที่เหลือ และป้องกันการแตกหัก
- เป็นอีกทางเลือกแทนการครอบฟันในกรณีที่ฟันมีปัญหาไม่มาก
- วัสดุเซรามิกที่ใช้ในการทำ inlays และ onlays จะไม่มีการเปลี่ยนสีจากอายุการใช้งานหรือคราบอาหาร
- ให้ความสวยงามและดูเป็นธรรมชาติกว่าการอุดฟันด้วยอมัลกัม
- มีอายุการใช้งานนาน
การดูแลรักษาหลังการทำ Inlays และ Onlays
- ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
- ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
- ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
- ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณที่ได้รับการรักษา
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน