การทำสะพานฟัน คือ การทำฟันปลอมชนิดติดแน่นอีกรูปแบบหนึ่ง เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยหลักการของสะพานฟันก็คือ อาศัยฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเป็นหลักในการยึดติด ไม่สามารถถอดเข้าออกด้วยตัวเองได้ รูปร่างของสะพานฟันก็เหมือนฟันธรรมชาติ ไม่มีตะขอ ไม่มีแผ่นเหงือกปลอม การทำสะพานฟันจะทำในกรณีที่ฟันถูกถอนไป แต่ยังเหลือฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงที่แข็งแรงสามารถเป็นหลักยึดสะพานฟันได้
สิ่งที่ควรรู้ก่อนทำสะพานฟัน
- ประเภทของสะพานฟัน
- สะพานฟันมีกี่ส่วน
- สะพานฟัน ราคา
- สะพานฟันหน้า ทำได้หรือไม่
- ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน
- 8 ข้อดีของการทำสะพานฟัน
- คำแนะนำหลังการเข้ารับการทำสะพานฟัน
- การดูแลรักษาหลังการทำสะพานฟัน
- ทำสะพานฟัน ที่ไหนดี
สะพานฟันประกอบด้วย 2 ส่วน
- ส่วนที่ยึดติดกับฟันธรรมชาติ คือ ส่วนที่ต้องสวมลงใปครอบกับฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง หรือเรียกว่าซี่ให้ใช้ยึด ซึ่งวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟันเป็นวัสดุชนิดเดียวกับการทำครอบฟัน เช่น เซรามิกล้วน โลหะล้วน หรือ แบบเซรามิกผสมโลหะ เป็นต้น
- ฟันลอย (Pontic) สะพานฟันซี่นี้จะลอยอยู่เหนือเหงือก เป็นตัวเชื่อมระหว่างหลักยึดฟันทั้ง 2 ซี่ ทำหน้าที่ทดแทนฟันที่ถูกถอนฟันไป สามารถใช้บดเคี้ยวอาหารได้เหมือนฟันธรรมชาติ และเพิ่มความมั่นใจในการยิ้ม หรือการพูดได้มากยิ่งขึ้น
ประเภทของสะพานฟัน
แบ่งเป็น 3 ประเภทตามลักษณะการยึดติดของสะพานฟัน
สะพานฟันแบบทั่วไป
จะประกอบด้วยครอบฟันประเภทต่างๆ แล้วแต่ความต้องการของคนไข้ ซึ่งจะมีครอบฟันลอย (Pontic) ที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปเป็นตัวเชื่อมกับครอบฟันที่ยึดติดบนฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียง การทำครอบฟันประเภทนี้เป็นที่นิยมทำกันโดยทั่วไปเนื่องจากสามารถยึดติดและใช้งานบดเคี้ยวได้ดีกว่าสะพานฟันประเภทอื่น
สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว
สะพานฟันแบบมีหลักยึดข้างเดียว (Cantilever Bridges) สะพานฟันประเภทนี้จะมีฟันธรรมชาติซี่ข้างเคียงเพียงซี่เดียวที่ใช้ในการเกาะยึดสะพานฟัน ซึ่งหากใช้บดเคี้ยวอาหารที่แข็ง หรือเหนียวเกินไปจะทำให้แตกหรือหักได้ง่าย
สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์
สะพานฟันแบบแมรี่แลนด์ (Maryland bridge) หรือ สะพานฟันที่ยึดด้วยวัสดุเรซิน (Resin-bond bridge) เป็นการทำสะพานฟันที่มีแกนโลหะและมีโลหะลักษณะคล้ายปีกที่ใช้ยึดติดด้านหลังของฟันหลักซี่ข้างเคียง ทำให้ไม่ต้องสูญเสียเนื้อฟันธรรมชาติของฟันที่ยึดเกาะเยอะเท่ากับการทำสะพานฟันแบบทั่วไป แต่ความแข็งแรงจะไม่เท่ากับการทำสะพานฟันแบบทั่วไป
สะพานฟัน ราคา
ราคาของสะพานฟันจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้เช่นเดียวกับการทำครอบฟัน ถ้าสะพานฟันที่มีส่วนผสมของทองแท้มากกว่า ราคาสะพานฟันก็จะสูงกว่าสะพานฟันโลหะธรรมดา ซึ่งทันตแพทย์จะช่วยแนะนำวัสดุสำหรับทำสะพานฟันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานฟันตำแหน่งนั้นๆ
ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำสะพานฟัน
ประเภทของวัสดุที่ใช้ทำสะพานฟันจะเหมือนที่ทำในการทำครอบฟัน คือ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก
- สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกและโลหะ Porcelain-fused to Metal (PFM) Bridge
- สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกล้วน All Porcelain Bridge
สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบโลหะล้วน (ทอง) All Gold Bridge
สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันประเภทเซรามิกผสมโลหะ และ แบบเซรามิกล้วน นั้นจะมีสีที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยทันตแพทย์มักจะแนะนำให้คนไข้เลือกใช้สะพานฟันที่ประกอบด้วยครอบฟันแบบเซรามิกผสมโลหะ สำหรับการทดแทนฟันกรามซึ่งใช้ในการบดเคี้ยว และแบบเซรามิกล้วนในการทดแทนฟันหน้า ซึ่งแบบเซรามิกล้วนนั้นจะมีความใส สวยงาม เหมือนฟันตามธรรมชาติ ในปัจจุบันนี้ วัสดุเซรามิกถูกพัฒนาให้มีมีความแข็งแรงค่อนข้างสูง จึงสามารถใช้เป็นสะพานฟันช่วงฟันกรามหลังได้ ส่วนแบบโลหะล้วนนั้นจะมี่ความแข็งแรงและทนทานมากที่สุด เนื่องจากไม่มีการบิ่นหรือแตกเหมือนวัสดุเซรามิก แต่มีลักษณะสีโลหะ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่ต้องการความสวยงามแบบธรรมชาติ
ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDCเราเลือกใช้วัสดุ IPS Empress Esthetics ในการทำสะพานฟันแบบเซรามิกล้วน เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน
ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบทั่วไป
ครั้งที่ 1 กาวางแผนการรักษา และการพิมพ์ฟัน
- วางแฝนการรักษา รวมถึงการเลือกสีและวัสดุของสะพานฟันให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ร่วมกันคนไข้
- ทันตแพทย์การฉีดยาชา และกรอฟันซี่ที่จะใช้ยึดเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
- ยึดติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้คนไข้สำหรับใช้งานระหว่างการรอสะพานฟันตัวจริง ประมาณ 5-7 วัน
ครั้งที่ 2 การใส่สะพานฟันตัวจริง
- เมื่อได้สะพานฟันตัวจริงจากแลปทันตกรรมแล้ว ทันตแพทย์จะรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
- ใส่สะพานฟันแบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุดซึ่งสะพานฟันตัวจริงนี้จะมีความแข็งแรง และสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
- ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน และจะนัดมาตรวจเซ็คหลังจากใช้งานไปแล้ว 7-14 วัน ซึ่งหากมีปัญหาการใช้งานจะได้แก้ไขให้คนไข้ได้
หมายเหตุ : ขั้นตอนการเตรียมฟันและการใส่สะพานฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน
8 ข้อดีของสะพานฟัน
- ช่วยให้สามารถมีรอยยิ้ม หัวเราะ พูดคุย ได้เหมือนฟันธรรมชาติ
- ช่วยให้สามารถมีการบดเคี้ยวและการออกเสียงที่ดีได้ดังเดิม
- ช่วยรักษารูปหน้าให้เป็นไปตามปกติ
- ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป และยังช่วยป้องกันฟันล้มที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
- ช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการรับแรงบดเคี้ยวที่มากเกินไปของฟันซี่ข้างเคียง
- ช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาการล้มของฟันซี่ข้างเคียงมายังช่องว่าง
- ช่วยรักษาตำแหน่งและการทำงานของฟันให้เป็นไปตามธรรมชาติ
- ช่วยรักษาการสบฟันให้เป็นไปตามปกติ
การดูแลรักษาหลังทำสะพานฟัน
- ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
- ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง
- ควรทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาผสมฟลูออไรด์ก่อนนอนทุกวัน โดยทำกลั้วน้ำยาและอมไว้ในปากอย่างน้อย 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังการบ้วนปาก
- ควรให้ความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเคี้ยวของแข็งบริเวณสะพานฟัน
- ควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน
ข้อปฏิบัติหลังทำสะพานฟัน
การดูแลเอาใจใส่เพื่อสุขภาพของปากและฟันที่ดีนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสะพานฟันสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้ก็ต่อเมื่อฟันที่ใช้เป็นฐานรองรับสะพานฟันมีสุขภาพแข็งแรง
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารที่มีความแข็งภายใน 24 ชั่วโมงหลังการใส่สะพานฟัน
- ท่านสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดการบวม หรืออาการต่างๆได้โดยการบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ ( เกลือ 1 ช้อนชา + น้ำอุ่น 1 แก้ว) อย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
- ควรดูแลความสะอาดบริเวณที่ติดสะพานฟันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเกิดโรคเหงือก
- อาการเสียวฟันอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางท่าน โดยอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่นาน ซึ่งถ้าเกิดอาการเสียวฟันผู้ป่วยควรปฏิบัติตนดังนี้
- หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารที่ร้อน หรือเย็นจัด หรือมีความเป็นกรดสูง เช่นน้ำมะนาวเป็นต้น
- การรับประทานยาแก้ปวดสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ระดับหนึ่ง
- ควรเลือกใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีสารฟลูออไรด์สูงซึ่งสามารถช่วยปัญหาการเสียวฟันได้
- ควรทำความสะอาดอย่างถูกวิธี
“ควรเริ่มด้วยการรับประทานอาหารอ่อนๆจนกว่าจะเคยชินกับสะพานฟันที่มี”
สะพานฟันหน้า ทำได้หรือไม่
สะพานฟันทำได้ทุกทุกแหน่ง แม้แต่บริเวณฟันหน้า ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาจะสามารถออกแบบ สะพานฟันหน้า ให้มีความเป็นธรรมชาติมากที่สุดรวมถึงการเลือกสีและวัสดุที่ใช้ สะพานฟันนั้นใช้หลักการยึดติดแน่น คนไข้จึงไม่ต้องกังวลจะขยับเวลายิ้มหรือพูด สามารถใช้งานได้ปกติสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติ
ทำสะพานฟัน ที่ไหนดี
การทำสะพานฟันจำเป็นต้องอาศัยฝีมือทันตแพทย์ผู้มีประสบการณ์ และจบในด้านทันตกรรมเฉพาะทาง จึงจะสามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ และสามารถออกแบบสะพานฟันให้สวยงามเข้ากับฟันธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้สะพานฟันมีอายุการใช้งานยาวนาน มีการสบฟันและมีประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ดี
ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC เป็นศูนย์ทันตกรรมแบบครบวงจร ทำสะพานฟันโดยอาจารย์ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา มีความรู้และมีประสบการณ์สูง ออกแบบสะพานฟันให้สวยงามเข้ากับฟันธรรมชาติและผลิตจากห้องแลปทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และได้สะพานฟันที่มีคุณภาพ
นอกจากนี้ เราเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ตลอดจนมีระบบการปลอดเชื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล มาตรฐาน JCI (Joint Commission International) เพื่อให้ผู้ที่มารับบริการได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักการและดูแลให้บริการอย่างมืออาชีพ