คนเราทุกคนเมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น อวัยวะต่าง ๆ ที่ผ่านการใช้งานในทุกวันก็ต้องเกิดการเสื่อมสภาพ รวมถึงฟันของเราที่ตกอยู่ในภาวะความตึงเครียด ทั้งการกัด, การเคี้ยว, การบด และการพูด ฟันก็เหมือนอวัยวะทั่วไปที่ต้องการความรักที่อ่อนโยน และการดูแลที่แท้จริง เพื่อคงความแข็งแรง และมีสุขภาพดี
โดยการแปรงฟัน และขัดฟันเป็นประจำ รวมถึงการตรวจสุขภาพช่องปาก ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อที่คราบจุลินทรีย์จะได้ไม่มาเกาะตามฟัน และขอบเหงือก พยายามหลีกเลี่ยงขนมที่มีน้ำตาลมากเกินไป, เครื่องดื่มชา กาแฟ รวมไปถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ต้องสังเกตความผิดปกติภายในช่องปาก ถ้าหากเกิดความผิดปกติจะได้แก้ไข และรับการรักษาได้ทันเวลา
ปัญหาเรื่องฟันของคนวัยทำงาน [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
1. ปัญหาโรคเหงือก
ปัญหาของโรคเหงือก ระยะแรกของโรคเหงือกเรียกว่าเหงือกอักเสบซึ่งเป็นระยะเดียวที่รักษาให้กลับมาเหมือนเดิมได้หากไม่ได้รับการรักษาเหงือกอักเสบจะนำไปสู่การเสียรูปของเหงือกที่ร้ายแรง เหงือกอักเสบเกิดจากการดูแลสุขภาพในช่องปากไม่ดีพอ จึงเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์ตามบริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน
เมื่อแปรงฟันไม่ทั่วถึงก็จะเกิดการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้นและเป็นเวลานานขึ้นจนกลายเป็นคราบหินปูน ภายในคราบจุลินทรีย์และหินปูนนั้นจะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ เมื่อแบคทีเรียได้รับอาหารจากที่เรารับประทานเข้าไปก็จะสร้างกรดขึ้นมารอบๆ บริเวณนั้น ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่รอบๆ
สามารถรักษาได้ด้วยการขูดหินปูน เกลารากฟัน หรือผ่าตัดสร้างเนื้อเยื่อปริทันต์ขึ้นมาใหม่ โรคปริทันต์โรคเหงือกมีโอกาสเกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณใดบอกล่วงหน้าเป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจสุขภาพฟันและการตรวจโรคปริทันต์ถึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก
2. ปัญหาฟันหลอ ช่องว่างระหว่างฟัน
ปัญหาฟันหลอ หากคุณมีฟันหลอ 1 – 2 ซี่ เนื้อที่ว่างระหว่างฟันขนาดใหญ่อาจจะกระทบกับวิธีการพูด และการรับประทานอาหารของคุณ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถสังเกตได้ ฟันกรามที่หายไปก็สามารถกระทบกับการที่คุณเคี้ยวได้เช่นกัน ฟันที่เหลืออาจจะเคลื่อนย้าย
และในบางกรณีนั้นการสูญเสียกระดูกสามารถเกิดได้ในบริเวณที่ฟันหลอ ตัวเลือกต่าง ๆ ในการแทนที่ฟันที่หายไปคือสะพานฟัน, ฟันปลอม และการฝังรากเทียม ดังนั้นจงปรึกษากับทันตแพทย์ของคุณว่าตัวเลือกไหนดีที่สุดสำหรับคุณ
3. อาการเสียวฟัน
อาการเสียวฟัน การปวดฟันอันเกิดจากการเสียผิวหน้าของฟันหรือเหงือก เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะเป็นเพราะการแปรงฟันที่ผิดวิธี เช่น การใช้แปรงสีฟันที่แข็งหรือแปรงฟันแรงเกินไปก็จะทำให้เหงือกร่น ฟันสึกบริเวณใกล้ขอบเหงือก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้เสียวฟันขึ้นมาได้
เนื่องจากโดยปกติผิวฟันชั้นนอกจะปิดทับเนื้อฟันชั้นเดนทีนเอาไว้ เมื่อหายไปเนื้อฟันซึ่งไวต่อความรู้สึกจะถูกเปิดออกนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่พบได้บ่อยของอาการเสียวฟัน คือ การที่รากฟันถูกสัมผัส เนื่องจากเหงือกร่น ทั้งนี้รากฟันไม่มีสารเคลือบฟันทำให้เปิดโอกาสให้เส้นประสาทฟันถูกเปิด เมื่อมีความร้อน ความเย็นมาสัมผัส เราจึงรู้สึกปวด การละเลยความเสียวฟันสามารถนำไปสู่ปัญหาเรื่องเหงือก และฟันอื่นๆ ได้
4. ปัญหาปากแห้ง
ปัญหาปากแห้ง ปากของทุกคนสามารถแห้งได้บางครั้งแต่ถ้าหากรู้สึกว่าปากแห้งตลอดเวลาก็อาจจะถึงเวลาที่จะมองหาการรักษาการใช้ยา และสภาวะสุขภาพหลาย ๆ อย่างสามารถนำไปสู่อาหารปากแห้งการมีปากแห้งไม่ใช่เรื่องรุนแรงแต่การดูแลฟัน และเหงือก รวมถึงการพบทันตแพทย์เป็นประจำเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อใช้ชีวิตด้วยอาการปากแห้งฟันผุ และปัญหาสุขภาพฟันอื่น ๆ อาจถามหาหากปราศจากการทำความสะอาดโดยน้ำลาย
5. มะเร็งคอหอยส่วนปาก
มะเร็งคอหอยส่วนปากสามารถกระทบกับบริเวณใด ๆ กับตามของคอหอยช่องปากรวมถึงปาก, เนื้อเยื่อเหงือก, การเรียงตัวของฟัน, ลิ้น, กราม หรือ เพดานปาก และคอ โรคนี้มักจะเริ่มเป็นจุดเล็ก ๆ สีขาว หรือแดงซึ่งสังเกตได้ยาก หรือมีอาการปวด และบวมบริเวณใด ๆ ก็ตามในปาก หรือคอ
การพบทันตแพทย์เป็นประจำสามารถเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหาในช่องปากของคุณได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มะเร็งสามารรักษาได้ง่ายกว่าอย่าลืมให้แจ้งทันตแพทย์ถึงปัญหาทั้งหมดที่มีเมื่อเคี้ยว, กลืน, พูด หรือขยับลิ้น และกราม การตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ รวมถึงการตรวจทั้งปากเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการตรวจพบมะเร็ง และภาวะก่อนเกิดมะเร็งได้เร็วขึ้น
สรุป
ในชีวิตประจำวันบางคนอาจจะพบเจอ 5 ปัญหาสุขภาพฟันที่กล่าวมาข้างต้น หรือบางคนอาจจะพบเจอปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก และฟันที่แตกต่างกันไป ถึงอย่างไรแล้วการที่ไม่เกิดปัญหาภายในช่องปากและฟันถือเป็นสิ่งดี
แต่ถ้าพบความผิดปกติ แนะนำให้ปรึกษาทัตนแพทย์ทันทีอย่าปล่อยไว้นาน ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดการสะสม และส่งผลกระทบในระยะยาวได้ ดังนั้น ทุกคนต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาด หมั่นตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก อย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของทุกคน
เราควรดูแลสุขภาพฟัน และพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และแก้ไขปัญหาแต่เนิ่นๆ เพื่อยืดอายุฟันให้มีสุขภาพแข็งแรงไปนานๆ
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่