นอนกัดฟันเกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไรกับสุขภาพช่องปากและฟัน

นอนกัดฟัน

อาการนอนกัดฟันเป็นอาการที่เกิดขึ้นโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัว เวลามีคนใกล้ชิดมาบอกว่าได้ยินเสียงกัดฟันของเราตอนนอนหลับ แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะการนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น อายุที่มากขึ้น ความเครียด เป็นต้น เราสามารถรักษาหรือแก้ไขอาการนอนกัดฟันได้ด้วยตนเองได้โดยมีวิธีการแก้ไขปัญหาอาการนอนกัดฟันตามรายละเอียดด้านล่างนี้ (คลิกอ่านต่อ)

*ถ้าหากมีอาการที่รุนแรงและไม่สามารถรักษาเองได้ แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์เพื่อรับรักษาที่เหมาะสมที่สุด | ปรึกษาหมอฟัน เรื่องนอนกัดฟันที่นี่ (คลิก)

การนอนกัดฟัน (Bruxism) คืออะไร

การนอนกัดฟัน (Bruxism) คือ เป็นภาวะเมื่อเกิดการบด กัด หรือขบเน้นฟัน ซึ่งภาวะนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวันหรือขณะกำลังนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัว

นอนกัดฟันจัดว่าเป็นความผิดปกติของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ (Sleep-Related Movement Disorder) โดยผู้ที่มีการขบเน้นฟันหรือบดกัดฟันในขณะนอนหลับ มักจะพบว่ามีโรคหรือความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวของกับการนอนหลับ เช่น นอนกรน และภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea)

สำหรับอาการนอนกัดฟันที่ยังไม่รุนแรงอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่สำหรับในผู้ที่นอนกัดฟันถี่ และรุนแรงจนอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับขากรรไกร ปวดหัว และสร้างความเสียหายให้กับฟัน จำเป็นต้องได้รับการรักษา

นอนกัดฟัน เกิดจากอะไร รู้ได้อย่างไรว่าเรานอนกัดฟัน

ส่วนมากคนที่นอนด้วยเขาจะบอกเราได้ แต่บางทีหรือบางคนถ้ากัดฟันแบบกัดแน่น ไม่ไถฟันไปมา ก็ไม่ได้ยินเสียง อาจสังเกตตัวเองว่าตื่นนอนแล้วรู้สึกเมื่อยหรือเจ็บตึงที่บริเวณแก้ม หน้าหู หรือมีข้อต่อขากรรไกรขยับลำบาก ติดๆ ขัดๆ

ถ้าให้ทันตแพทย์ตรวจจะพบมีฟันสึกผิดปกติ ไม่สมกับอายุ ดูบริเวณแก้มด้านใน และที่ขอบลิ้น มีรอยหยักตามแนวสบฟันชัดเจน แต่ต้องดูประกอบกันหลายอย่าง และอาจใช้เครื่องมือที่ช่วยทดสอบว่านอนกัดฟัน

นอนหลับ นอนกัดฟัน

วิธีสังเกตตนเอง ว่ามีอาการนอนกัดฟันหรือไม่?

  • รู้สึกเสียวฟันเวลาถูกของร้อนหรือเย็นและเวลาแปรงฟัน
  • รู้สึกตึงบริเวณหน้าหรือกล้ามเนื้อบริเวณหน้า
  • มีรอยเส้นบางๆ ที่เคลือบฟันของฟันบางซี่
  • ปวดฟันอย่างรุนแรง เหงือกอักเสบ
  • ปวดศีรษะ
  • มีแผลที่กระพุ้งแก้มด้านใน

สาเหตุของการนอนกัดฟัน

สาเหตุของการนอนกัดฟันโดยส่วนใหญ่จะมีความเกี่ยวของกับปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียดและความวิตกกังวล มักจะเกิดในช่วงเวลาที่กำลังนอนหลับโดยที่ไม่รู้ตัวว่ากำลังนอนกัดฟันอยู่

หรืออาจมีสาเหตุจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep Apnea) นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติในการกัดฟัน การสบฟัน ฟันหลอ หรือฟันเบี้ยว

ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสให้เกิดการนอนกัดฟัน ได้แก่

  • อายุ การนอนกัดฟันเป็นเรื่องปกติที่เกิดกับเด็ก แต่โดยทั่วไปจะหายไปเองเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
  • บุคลิกภาพหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เช่น ผู้ที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบการแข่งขัน หรือสมาธิสั้น สามารถเพิ่มโอกาสในการนอนกัดฟันได้
  • สารกระตุ้นต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
  • การใช้ยารักษาโรค การนอนกัดฟันสามารถเกิดขึ้นจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท ซึ่งรวมไปถึงยาทางจิตเวชที่มีผลกระทบต่ออารมณ์หรือจิตใจ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า และยารักษาอาการทางจิต
ยารักษาโรค
การสูบบุหรี่

วิธีการแก้ไขปัญหา อาการนอนกัดฟัน มีกี่แบบ

การรักษาผู้ที่นอนกัดฟันจะมีความจำเป็นในกรณีที่มีความรุนแรง ซึ่งวิธีการรักษา ได้แก่ การรักษาทางทันตกรรม การบำบัดและการใช้ยารักษาโรค ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ว่าการรักษาแบบใดจะเหมาะสมที่สุด

วิธีการรักษาทางทันตกรรม

  • เฝือกสบฟันหรือฟันยาง ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันถูกทำลายจากการบดเคี้ยวและการขบเน้นฟัน ทำจากอะคริลิกแข็งหรือวัสดุที่มีความอ่อนนุ่ม โดยทันตแพทย์จะให้ใส่ระหว่างนอนหลับ
เฝือกสบฟัน ฟันยาง
  • การจัดฟันหรือแก้ไขทางทันตกรรม การแก้ไขฟันที่มีปัญหาให้เรียงตัวกันอย่างเหมาะสม จะช่วยแก้ปัญหาการนอนกัดฟันที่มีสาเหตุทางทันตกรรมได้ ในรายที่มีอาการรุนแรง มีฟันที่เสื่อมสภาพและทำให้เกิดอาการเสียวฟันหรือทำให้การบดเคี้ยวมีปัญหา ทันตแพทย์อาจทำการปรับแต่งพื้นผิวฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวหรือที่มีการครอบฟัน ในบางรายทันตแพทย์อาจแนะนำให้มีการจัดฟันหรือการผ่าตัด
การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ : การผ่าตัดขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน | Orthognatic Surgery (คลิก)

การบำบัดรักษา ที่อาจช่วยบรรเทาการนอนกัดฟัน ได้แก่

  • การจัดการกับความเครียด หากมีภาวะกัดฟันเป็นประจำหรือนอนกัดฟันที่มีสาเหตุมาจากความเครียด สามารถป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้ด้วยการพบผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพหรือมองหาวิธีที่ช่วยให้มีการผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกายหรือการนั่งสมาธิ
  • การบำบัดหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อพบว่ามีการนอนกัดฟัน สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยการฝึกฝนการวางตำแหน่งของปากหรือขากรรไกรให้เหมาะสม ซึ่งทันตแพทย์จะแสดงตำแหน่งของฟันและขากรรไกรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน
  • ไบโอฟีดแบ็ค (Biofeedback) หากเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ยากลำบาก อาจใชัวิธีฝึกไบโอฟีดแบ็ค ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์บันทึกการทำงาน การหดตัว การคลายตัวของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้สามารถรู้จุดบกพร่องและทำให้ควบคุมกล้ามเนื้อที่ขากรรไกรได้อย่างถูกต้อง
ออกกำลังกายลดความเครียด
นั่งสมาธิลดความเครียด

ใช้ยารักษา

โดยปกติแล้วการใช้ยารักษาการนอดกัดฟันจะไม่มีประสิทธิภาพนัก และยังต้องการการค้นคว้าวิจัยอีกมาก ตัวอย่างการใช้ยาที่ใช้ในการรักษาการนอนกัดฟัน เช่น

  • ยาคลายกล้ามเนื้อ แพทย์อาจให้ใช้ในบางรายด้วยการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อก่อนนอน โดยใช้เป็นระยะเวลาสั้นๆ
  • การฉีดโบทอกซ์ (OnabotulinumtoxinA: Botox) การฉีดโบทอกซ์อาจช่วยผู้ที่มีการนอนกัดฟันอย่างรุนแรง และไม่ตอบสนองต่อการบรรเทารักษาอื่น ๆ
  • หากผู้ที่ใช้ยาในการรักษาการนอนกัดฟันแล้วได้รับผลข้างเคียง แพทย์อาจเปลี่ยนไปใช้ยาอื่นๆ แทน
ยาลดความเครียด

A title

Image Box text

การฉีดโบทอกซ์

A title

Image Box text

9 วิธีป้องกัน “การนอนกัดฟัน”

ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

ตระหนักถึงความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น และหาวิธีการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเอง

สังเกตดูว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การนอนกัดฟันแย่ลงหรือไม่

เลิกสูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด

หลีกเลี่ยงการกัดสิ่งของต่าง ๆ เช่น ปากกา ดินสอ หรือสิ่งของที่มีความแข็ง

สังเกตและระวังพฤติกรรมการกัดฟันและหลีกเลี่ยง โดยการผ่อนคลายขากรรไกร หากเป็นเวลาที่ตื่นนอน

ฝึกนิสัยการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ การนอนหลับที่ดีจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการนอนหลับและลดโอกาสการนอนกัดฟันได้อีกด้วย

ถามคนที่นอนข้าง ๆ ว่ามีเสียงที่เกิดจากการกัดฟันเกิดขึ้นในระหว่างที่นอนหลับหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการนำไปปรึกษาแพทย์ได้

ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

ตระหนักถึงความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น และหาวิธีการคลายเครียดที่เหมาะสมกับตัวเอง

สังเกตดูว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้การนอนกัดฟันแย่ลงหรือไม่

เลิกสูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงการใช้ยาเสพติด

หลีกเลี่ยงการกัดสิ่งของต่าง ๆ เช่น ปากกา ดินสอ หรือสิ่งของที่มีความแข็ง

สังเกตและระวังพฤติกรรมการกัดฟันและหลีกเลี่ยง โดยการผ่อนคลายขากรรไกร หากเป็นเวลาที่ตื่นนอน

ฝึกนิสัยการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ การนอนหลับที่ดีจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการนอนหลับและลดโอกาสการนอนกัดฟันได้อีกด้วย

ถามคนที่นอนข้าง ๆ ว่ามีเสียงที่เกิดจากการกัดฟันเกิดขึ้นในระหว่างที่นอนหลับหรือไม่ ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการนำไปปรึกษาแพทย์ได้

สรุป

การนอนกัดฟันเป็นเรื่องเล็กที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อมีอาการนอนกัดฟันแล้วเราสามารถรักษาให้หายได้ด้วยตนเอง โดย ลดความเครียด ความเครียดเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการนอนกัดฟัน เพราะฉะนั้นควรลดความเครียด ด้วยการหาแพทย์แนะนำ/ปรึกษาเรื่องความเครียด ออกกำลังกาย หรือทำสมาธิ

นอกจากนั้นอาจจะหาสิ่งที่ช่วยเยียวยา เช่น ใช้ชาคาโมไมล์หรือลาเวนเดอร์ ที่สามารถทำให้สงบผ่อนคลายได้ก่อนนอน หยุดคาเฟอีน เลิกดื่มกาแฟ และเครื่องดื่มให้พลังงาน พยายามอย่าทานช็อกโกแล็ตมากเกินไป คาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นที่ทำให้ผ่อนคลายจิตใจกับกล้ามเนื้อขากรรไกรได้ยากขึ้น

หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นตัวทำให้ซึมเศร้าซึ่งจะทำให้นอนยากกว่าเดิม การกัดฟันมักแย่ลงหลังดื่มแอลกอฮอล์ ถึงแม้มันจะทำให้คุณบางคนหลับง่ายขึ้น แต่ทำให้หลับแบบไม่พักผ่อนเต็มที่ หยุดเคี้ยวสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร หยุดพฤติกรรมคลายเครียดที่เกี่ยวข้องกับปาก การเคี้ยวอะไรที่ไม่ใช่อาหารเป็นสัญญาณของระดับความเครียดที่เพิ่มขึ้น

เติมแคลเซียมกับแมกนีเซียมเข้าไปในอาหาร แคลเซียมกับแมกนีเซียมนั้นจำเป็นต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ถ้ามีไม่เพียงพอ อาจมีปัญหาเวลาเกร็ง ตึง หรือปัญหากล้ามเนื้ออื่นๆ ได้ แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรง ควรต้องปรึกษาทัตนแพทย์ เพื่อหาวิธีในการรักษาอาการนอนกัดฟัน ที่เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา คลินิกจัดฟัน รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental