หลายๆ คนคงมีคำถามว่า “การใช้น้ำยาบ้วนปากจำเป็นจริงหรือไม่?” ต้องบอกก่อนว่าการแปรงฟันอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะต่อให้จะแปรงฟันสะอาดแค่ไหนก็ยังมีกลิ่นปากอยู่ดี และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก คือ ก๊าซที่เป็นสารประกอบของซัลเฟอร์ ก่อตัวมาจากแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับโรคในช่องปาก เศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ Mouthwash จึงอาจมีส่วนช่วยในการควบคุมหรือระงับกลิ่นปากได้นั่นเอง
สุขภาพช่องปาก และฟัน มักเป็นเรื่องที่หลายคนมองข้าม และให้ความสำคัญน้อยกว่าส่วนอื่นๆในร่างกาย คิดแค่ว่าแปรงฟันทุกวันก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริงนั้นการดูแลความสะอาดช่องปากไม่ได้มีแค่การแปรงฟันเท่านั้น การใช้ตัวช่วยอย่างน้ำยาบ้วนปากเข้ามาเสริม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้ช่องปากสะอาดมากขึ้น ซึ่งการใช้น้ำยาบ้วนปากก็ต้องเลือกใช้ให้ถูกประเภท และถูกวิธีด้วย เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับช่องปาก และสุขภาพฟันในภายหลัง
น้ำยาบ้วนปาก มีกี่ประเภท
ในปัจจุบันนี้ท้องตลาดมีน้ำยาบ้วนปากมากมายให้ผู้บริโภคเลือกใช้ โดยมีสรรพคุณลดกลิ่นปาก ลดอาการปากแห้ง ทำให้ฟันขาว ยับยั้งฟันผุ ยับยั้งคราบจุลินทรีย์ (Plaque) หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพช่องปากทั้งมวล ประสิทธิภาพของน้ำยาบ้วนปากจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับชนิดและส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิดดังนี้
อ่านเพิ่มเติม : โรคเหงือกหรือโรคปริทันต์ เกิดจากอะไร? (คลิกอ่าน)
ส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปาก
ส่วนผสมเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้น้ำยาบ้วนปากมีประสิทธิภาพ บางชนิดอาจทำให้ฟันขาว ดับกลิ่นปากหรือยับยั้งแบคทีเรีย โดยส่วนผสมในน้ำยาบ้วนปากแต่ละอย่างมีดังนี้ :
คลอร์เฮกซิดีน (Chlorhexidine)
เป็นส่วนประกอบอย่างดีในการรักษาโรคปริทันต์ และต้านคราบจุลินทรีย์ แต่อาจทำให้เกิดคราบสีบนผิวฟันได้หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (Cetylpyridinium Chloride)
เป็นสารประกอบแอมโมเนียมที่สามารกำจัดแบคทีเรียและยับยั้งการก่อตัวของคราบจุลินทรีย์ได้ รวมไปถึงเป็นตัวช่วยในการกำจัดกลิ่นปากได้อย่างดี
สารประเภทดีเทอร์เจนส์ (Detergents)
โซเดียมลอริลซัลเฟต และโซเดียมเบนโซเอตเป็นตัวอย่างของดีเทอร์เจนส์ในน้ำยาบ้วนปาก ที่ช่วยขจัดคราบจุลินทรีย์ และมักใช้ก่อนแปรงฟัน
ฟลูออไรด์
น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างเข้มข้น เช่น สแตนนัสฟลูออไรด์หรือโซเดียมฟลูออไรด์นั้นช่วยป้องกันฟันผุได้ แต่ถ้าใช้ทั้งยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์และน้ำที่เติมฟลูออไรด์อยู่แล้ว ก็ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์อีกหากไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดฟันผุจริงๆ
น้ำมันหอมระเหย
น้ำยาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมหลัก มักใช้น้ำมันหอมระเหย เช่น เมนทอล และยูคาลิปตอล ที่ทำหน้าเหมือนตัวดับกลิ่นปากและช่วยในการต้านแบคทีเรีย
เอนไซม์ต้านแบคทีเรีย
แบคทีเรียอาจถูกกำจัดได้โดยเอนไซม์ในร่างกายของมนุษย์หรือยาต้านแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ เอนไซม์ที่พบในน้ำยาบ้วนปาก เช่น ไลโซไซม์ และแลคโตเพอออกซิเดส ซึ่งอาจช่วยลดอาการปากแห้งได้ด้วย
แอลกอฮอล์
มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและยังมีส่วนช่วยในการลด และป้องกันโรคเหงือกอักเสบ และคราบจุลินทรีย์เหนือแนวเหงือก แต่อาจทำให้มีอาการแสบร้อนในช่องปากหรือปากแห้งได้
สมุนไพรหรือส่วนผสมจากธรรมชาติอื่นๆ
เช่น สมุนไพรเอ็กไคนาเชีย ต้นโกลเด้นซีล วิตามินซี และว่านหางจระเข้ เป็นต้น
ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)
มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและอาจช่วยลดคราบจุลินทรีย์ และโรคเหงือกอักเสบ และอาจช่วยให้ฟันขาวขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าหากใช้มากเกินไปจะเกิดการระคายเคืองได้
References : Mouthwash (From Wikipedia, the free encyclopedia)
การใช้น้ำยาบ้วนปาก
น้ำยาบ้วนปากใช้เพื่อเป็นตัวช่วยในการขจัดสิ่งสกปรกบริเวณที่การแปรงฟันหรือไหมขัดฟันเข้าไม่ถึง ไม่สามารถนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากเป็นหลักเพียงอย่างเดียวได้ การใช้น้ำยาบ้วนปากสามารถใช้ได้ทั้งก่อนและหลังแปรงฟัน และเวลาใช้ควรกลั้วให้ทั่วปากแล้วอมทิ้งไว้ประมาณ 30-60 วินาที ไม่ควรนานเกิน 1 นาที แต่ถ้าทิ้งไว้น้อยกว่า 30 นาทีอาจจะไม่ค่อยเกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร และไม่จำเป็นต้องบ้วนน้ำเปล่าตามหลังการใช้น้ำยาบ้วนปาก
ขั้นตอนการบ้วนปาก
การแปรงฟันสามารถทำความสะอาดได้เพียง 25% ของช่องปาก เพื่อช่องปากที่สะอาดมั่นใจควรใช้น้ำยาบ้วนปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยทำตามคำแนะนำและขั้นตอนดังต่อไปนี้
- รินน้ำยาบ้วนปาก 20 มิลลิลิตร (4 ช้อนชา) ลงในฝาขวด
- เทน้ำยาบ้วนปากในถ้วยเข้าปาก โดยไม่ต้องเจือน้ำลงไปในน้ำยาบ้วนปาก
- หลังจากนั้นกลั้วปากไป – มา เป็นเวลา 30 วินาที (ลองนับ 1-30 ในใจหรือใช้นาฬิกาจับเวลา) และไม่ต้องกังวลหากคุณกลั้วปากด้วยน้ำยาบ้วนปากไม่ถึง 30 วินาที ในครั้งแรก ครั้งต่อไปจะง่ายมากขึ้น
- ระหว่างบ้วนปาก ควรกลั้วน้ำยาบ้วนปากไปด้วย
- หลังจากทำทุกขั้นตอนแล้ว ให้บ้วนน้ำยาบ้วนปากลงท่อได้เลย
Tips : เพื่อเพิ่มความมั่นใจขึ้นอีกขั้นด้วยการใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดช่องปาก ควบคู่ไปกับการแปรงฟันถูกวิธี และใช้น้ำยาบ้วนปากหลังจากการแปรงฟันทุกครั้ง เพียงเท่านี้ช่องปากของคุณก็จะสะอาดมากขึ้น
เคล็ดลับการใช้“น้ำยาบ้วนปาก”ให้มีประสิทธิภาพ
อมน้ำยาบ้วนปากแล้วเงยหน้าขึ้น ให้น้ำยาได้สัมผัสช่องปากลึกถึงลำคอ
อมน้ำยาทิ้งไว้ 1-2 นาที เพื่อให้น้ำยาสัมผัสเนื้อเยื่อช่องปาก
ไม่ควรบ้วนน้ำตาม เพราะจะชะล้างตัวยาออกมาด้วย
หลังใช้น้ำยาบ้านปาก ควรงดดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ตัวยาออกฤทธิ์นานขึ้น
ประโยชน์ของน้ำยาบ้วนปาก
นอกจากจะสามารถระงับกลิ่นปากได้แล้ว น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมพิเศษบางอย่าง ยังอาจช่วยดูแลปัญหาสุขภาพในช่องปากอื่นๆ ได้อีกเช่น
- ลดกลิ่นปาก
- ทำให้ฟันขาวขึ้น
- ลดการเกิดฟันผุ
- ลดการเกิดคราบจุลินทรีย์และโรคเหงือกอักเสบ
- บรรเทาอาการปวดเฉพาะจุดในช่องปาก
- บรรเทาอาการต่างๆ จากภาวะปากแห้งเนื่องจากน้ำลายน้อย
สรุป
น้ำยาบ้วนปากทางเลือกหนึ่งที่ผู้บริโภคนิยมใช้ เพื่อรักษาสุขภาพในช่องปาก โดยเชื่อว่าจะสามารถดับกลิ่นปาก รักษาสุขภาพฟัน และเหงือกได้ จึงถูกนำมาใช้เป็นตัวช่วย เพื่อขจัดสิ่งสกปรกในส่วนที่การแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันนั้นทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง แท้จริงแล้วน้ำยาบ้วนปากเป็นแค่ตัวช่วยนึงเท่านั้น
อย่างไรก็ตามทุกคนยังต้องรักษาความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี หรือควรตรวจเช็คสุขภาพช่องปาก และฟันอย่างเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้สุขภาพช่องปาก และฟันของเราแข็งแรง และสะอาด จะได้มีรอยยิ้มที่สดใส และยิ้มอย่างมั่นใจ
“ควรหมั่นไปพบทันตแพทย์เป็นประจำทุก 6 เดือน เพื่อสุขภาพช่องปาก และฟันที่ดีของเรา”
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่