ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ “ฟันคุด”

ฟันคุด

ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย หรือ ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 – 25 ปี อาจโผล่ขึ้นอยู่ในลักษณะตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวระนาบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันข้างเคียงเสมอ

นอกจากนี้ฟันซี่อื่นๆก็อาจจะคุดได้ เช่น ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อยแต่พบได้น้อยกว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้าย

FAQ | คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ “ฟันคุด” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

ฟันคุดเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ผ่าฟันคุดเจ็บไหม

เกิดจากพื้นที่ของขากรรไกรเราไม่เพียงพอที่จะให้ฟันซี่นั้นขึ้นได้ตามปกติ และฟันคุดก็มีข้อเสียหลายอย่าง เช่น ฟันคุดที่ขึ้นได้บางส่วน มักจะเป็นที่กักเศษอาหารได้ง่ายทำความสะอาดลำบาก แปรงฟันไม่ถึง ซึ่งจะมีผลให้ฟันข้างเคียงที่ถูกชน และฟันคุดนั้นผุทั้งคู่

หรือทำให้เหงือกอักเสบ บวม กลิ่นปากเหม็น แก้มบวม อ้าปากไม่ขึ้น การมีฟันคุดอยู่ทำให้มีการละลายตัวของขากรรไกรที่ถูกชน หรือเป็นถุงน้ำ กระดูกขากรรไกรจะเปราะไปกดเส้นประสาททำให้มีอาการปวดหัวโดยไม่รู้สาเหตุ เมื่อสงสัยว่ามีฟันคุดควรรีบไปพบทันตแพทย์

ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด?

ทำไมต้องผ่าฟันคุด

1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน
  • เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน เพราะจะมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก แล้วไม่สามารถทำความสะอาดได้ เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง ถ้าทิ้งไว้การอักเสบจะลุกลามไปใต้คาง หรือใต้ลิ้น ซึ่งจะทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ง่าย
  • เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ ซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
  • เพื่อป้องกันการละลายตัวของกระดูก แรงดันจากฟันคุดที่ พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
  • เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก ฟันคุดที่ทิ้งไว้นานไปเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด อาจจะขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ แล้วโตขึ้นโดยไม่แสดงอาการเลย จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบ ๆ บริเวณนั้น
  • เพื่อป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
  • เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การจัดฟัน ต้องถอนฟันกรามซี่ที่ สาม ออกเสียก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ

ก่อนผ่าฟันคุดต้องทำอะไรบ้าง?

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อน
  • งดสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะมีผลต่อการหยุดของเลือด แผลผ่าฟันคุดอาจหายช้าได้

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ขั้นตอนการผ่าฟันคุดมีอะไรบ้าง?

สาเหตุของอาการเสียวฟัน

การผ่าตัดฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา ล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด เท่านี้ก็เสร็จแล้ว สามารถกลับบ้านได้ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล

อ่านเพิ่มเติม : ผ่าฟันคุด เจ็บไหม? (คลิก)

อาการหลังผ่าตัดฟันคุดมีอะไรบ้าง?

อาการที่พบได้หลังการผ่าตัดฟันคุด คือ จะมีอาการปวด และบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำผ่าตัดสัก 2 – 3 วัน อ้าปากได้น้อยลง ทานยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะที่ได้รับไปอาการก็จะบรรเทาลงได้ ควรทานอาหารอ่อนๆ ไปก่อนสักระยะ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนต่อแผล ส่วนการพูดก็พูดได้ตามปกติ

หลังผ่าฟันคุดดูแลตัวเองยังไง?

  • ประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
  • ห้ามบ้วนน้ำลาย เลือด หรือน้ำ เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
  • ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆ เพื่อห้ามเลือด

ดาวน์โหลด PDF : คำแนะนำและข้อปฏิบัติ หลังการถอนฟันและผ่าฟันคุด (คลิก)

ผลแทรกซ้อนหรืออันตรายจากการผ่าตัดฟันคุดมีอะไรบ้าง?

ผลแทรกซ้อนของการผ่าตัดฟันคุดที่พบได้ เช่น หลังคายผ้าก๊อซแล้วยังมีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากผิดปกติ มีไข้หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าตัด หลังผ่าตัด 2 – 3 วัน แล้วอาการปวดบวมยังไม่ทุเลา แต่กลับมีอาการเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือมีอาการชาของริมฝีปากล่างนานผิดปกติทั้งที่หมดฤทธิ์ชองยาชาแล้ว ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์ทันที (ปรึกษาเราหรือทำนัดหมายที่นี่)

ศูนย์ทันตกรรม กรุงเทพ

หลังจากที่ได้ทราบสาเหตุและขั้นตอนการผ่าฟันคุดไปแล้ว หลายๆคนไม่จำเป็นต้องกลัวเรื่องการผ่าฟันคุดมากจนเกินไป เพราะการนำฟันคุดออกไม่ได้มีวิธีการผ่าอย่างเดียว แต่สามารถถอนออกได้ด้วยเช่นกัน ถ้าหากฟันคุดขึ้นมาในลักษณะเหมือนฟันปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ด้วยเช่นกัน

ใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองมีฟันคุด หรือฟันคุดกำลังจะขึ้นสามารถปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำการ x-ray ดูทิศทางการขึ้นของฟันคุดได้ที่เรา ศูนย์ทันตกรรม BIDC เราให้บริการทางทันตกรรมถอนฟัน ผ่าฟันคุดโดยศัลยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง มีเครื่องมือที่ทันสมัย สะอาด ปลอดภัย ทำให้ได้ผลลัพธ์การรักษามีประสิทธิภาพ

ถ้าเก็บฟันคุดไว้อาจจะมีอันตราย หรือผลข้างเคียงตามมาอีกเยอะเลยค่ะ


รีวิวจากคนไข้ผ่าฟันคุด ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC

ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC ขอขอบคุณคุณธนธร ที่วางใจเราให้ดูแลสุขภาพช่องปากและฟันมาอย่างยาวนานและแนะนำเพื่อนๆมาด้วยนะคะ

สรุป

การนำฟันคุดออกไม่ได้มีแต่วิธีการผ่าอย่างเดียว มีทั้งการถอนฟันหรือการผ่าฟันคุดออก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันคุด และทิศทางการขึ้นของฟันด้วย โดยทันตแพทย์จะเป็นคนประเมินว่าฟันที่ขึ้นมานั้น จะนำออกโดยวิธีการถอนหรือการผ่า แต่จะไม่แนะนำให้เก็บฟันคุดไว้

เพราะในอนาคตฟันคุดอาจจะส่งผลกระทบต่อฟันซี่อื่นๆได้ การผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ทุกคนคิด ดังนั้นจึงควรเลือกทันตแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางจะสามารถแนะนำ และสร้างความสบายใจให้กับเราได้

ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental