“ฟันเหยิน” อาจเกิดปัญหาที่มากกว่าความสวยงาม

ฟันเหยิน

Overbites หรือ ฟันเหยิน คือ ภาวะที่ฟันหน้าด้านบนยื่นออกจากปากหรือครอบปิดฟันหน้าด้านล่าง ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากไม่มีอาการมากจนเกินไป โดยอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือสาเหตุอื่นๆ เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะหรือฟันผิดปกติ ผู้ที่มีอาการฟันเหยินอย่างรุนแรงหรือต้องการให้ฟันเรียงตัวสวยงามควรไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการจัดฟัน แต่ฟันเหยินเพียงเล็กน้อยอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใดๆ อ่านวิธีการรักษาและป้องกันฟันเหยินที่นี่ (คลิก)

อาการฟันเหยินเป็นแบบไหน

ฟันคุด

อาการฟันเหยินขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ซึ่งอาจสังเกตได้จากรูปหน้าที่ผิดปกติ เช่น หน้าสั้น หน้ากว้าง หน้าอูม มีร่องใต้คาง เป็นต้น รวมทั้งอาจเห็นเหงือกขณะยิ้มหรือพูด พูดไม่ชัดเจน กัดหรือเคี้ยวอาหารลำบาก ส่วนลักษณะที่ปรากฏในช่องปาก ได้แก่ ฟันบนสบคร่อมฟันล่าง ส่วนโค้งบริเวณเพดานปากตื้น มีร่องซึ่งเกิดจากฟันหน้าล่างสบกับเพดานปาก หรือฟันหน้าล่างซ้อนเก

สาเหตุของฟันเหยิน เกิดจากอะไร?

ฟันเหยินเป็นภาวะสบฟันผิดปกติที่ซับซ้อน ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุร่วมกัน ดังนี้

  • พันธุกรรม ฟันเหยินเป็นลักษณะหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นได้
  • ความผิดปกติของกระดูกใบหน้าและกะโหลกศีรษะ ได้แก่ ความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกเบ้าฟัน กระดูกขากรรไกร ฐานกะโหลกส่วนหลัง
  • ความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันหน้าขึ้นเบียดกัน การสูญเสียฟันหน้า รูปร่างฟันผิดปกติ เหงือกอักเสบจึงทำให้ฟันส่วนหลังเกิดการเคลื่อนตัวเบียดฟันส่วนหน้าจนยื่นออกมา เป็นต้น
  • ความผิดปกติของกล้ามเนื้อใบหน้า ความผิดปกติเกี่ยวกับกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวอาหารส่งผลให้กระดูกขากรรไกรล่างถูกดึงรั้งเข้าด้านใน กระดูกขากรรไกรบนจึงคร่อมกระดูกขากรรไกรล่าง
  • พฤติกรรมที่ทำจนเป็นนิสัย โดยเฉพาะพฤติกรรมในวัยเด็ก เช่น การดูดนิ้ว การดูดริมฝีปาก การใช้ลิ้นดุนฟัน เป็นต้น

การวินิจฉัยฟันเหยินจากทันตแพทย์

ทันตแพทย์มักวินิจฉัยฟันเหยินจากการตรวจดูการสบฟันของผู้ป่วย และอาจวินิจฉัยต่อด้วยการเอกซเรย์ช่องปาก การพิมพ์ฟัน และการเอกซเรย์กะโหลกศีรษะด้านข้าง ซึ่งช่วยให้ระบุได้ว่าภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของฟันหรือเป็นความผิดปกติของกะโหลกศีรษะ เพื่อวางแผนการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ตรวจสุขภาพฟันฟรี

การรักษาปัญหาฟันเหยิน มีอะไรบ้าง

ภาวะฟันเหยินเพียงเล็กน้อยอาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงควรไปปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการจัดฟัน โดยฟันเหยินในผู้ป่วยเด็กที่ฟันยังมีการเจริญเติบโตมักรักษาด้วยการใช้เครื่องมือจัดฟัน เพื่อดึงฟันส่วนหน้าให้ต่ำลงร่วมกับถอนฟันส่วนหลังออก แต่หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ ควรรอให้เด็กโตขึ้นก่อนจึงทำการรักษา

ส่วนผู้ใหญ่หรือวัยรุ่นที่ยังมีการเจริญเติบโตได้อีกเพียงเล็กน้อย ทันตแพทย์มักรักษาด้วยการจัดฟันหน้า ซึ่งอาจต้องมีการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมด้วย โดยมีรายละเอียดวิธีการรักษาฟันเหยิน ดังนี้

การจัดฟัน (Orthodontic Dentistry)

การใช้เครื่องมือจัดฟัน ได้แก่ เครื่องมือจัดฟันแบบติดแน่นและเครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้ ซึ่งมีหลายชนิด เช่น เครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ เครื่องมือจัดฟันด้านใน เครื่องมือจัดฟันแบบใส เป็นต้น โดยทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือเหล่านี้เพื่อดึงหรือดันให้ฟันเข้าที่โดยการจัดฟันด้วยการดึงให้ฟันหน้าเข้าที่ต้องคำนึงถึงพื้นที่ว่างในช่องปากด้วย เพื่อให้ฟันเกิดการเคลื่อนตัวได้ และการจัดฟันด้วยวิธีนี้มักใช้รักษาฟันเหยินที่มีระยะห่างระหว่างริมฝีปากบนกับล่างมากเกินปกติ มีระยะห่างระหว่างขอบล่างของฟันตัดกลางบนกับขอบล่างของริมฝีปากบนมากเกินปกติ มีอาการยิ้มเห็นเหงือก หรือมีใบหน้ายาว เป็นต้น

จัดฟันโลหะ
จัดฟันโลหะ
จัดฟันดามอน
จัดฟันดามอน
จัดฟันใส อินวิสไลน์
จัดฟันใส (invisalign)
จัดฟันด้านใน
จัดฟันด้านใน

ส่วนการจัดฟันด้วยการดันฟันกรามต้องคำนึงให้ช่องปากมีระยะห่างระหว่างฟันกรามบนกับล่างขณะหุบปากเพียงพอ ซึ่งการจัดฟันด้วยวิธีนี้มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระยะห่างระหว่างริมฝีปากบนกับล่างเป็นปกติ หรือมีระยะห่างระหว่างขอบล่างของฟันตัดกลางบนกับขอบล่างของริมฝีปากบนเป็นปกติ และหากรักษาฟันเหยินด้วยการกดให้ฟันหน้าเข้าที่จะช่วยให้ผู้ป่วยยิ้มโดยไม่เห็นฟันได้ รวมทั้งอาจใช้รักษาฟันเหยินในกรณีที่มีความผิดปกติของกะโหลกศีรษะบางชนิดด้วย

อ่านเพิ่มเติม : จัดฟัน แบบไหนเห็นผลดีที่สุด ดัดฟันครั้งแรกต้องจ่ายเท่าไร (คลิกอ่าน)

การผ่าตัด (Surgery)

การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

การผ่าตัด ผู้ป่วยบางรายโดยเฉพาะวัยผู้ใหญ่อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดดึงกระดูกขากรรไกรบนเข้าหรือดึงกระดูกขากรรไกรล่างออก ซึ่งมักใช้รักษาฟันเหยินที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของใบหน้า และกะโหลกศีรษะ โดยเฉพาะผู้ที่กระดูกขากรรไกรบนยื่นออกมามากเกินไป หรือผู้ที่มีกระดูกขากรรไกรล่างส่วนท้ายยาว เป็นเหลี่ยม หรือมีระยะห่างระหว่างจมูกกับคางน้อยกว่าปกติ

อ่านเพิ่มเติม : การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร ? (คลิกอ่าน)

อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องมือจัดฟันและการผ่าตัดมักมีราคาสูง ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาทันตแพทย์ถึงค่าใช้จ่ายและแนวทางในการรักษาให้ดีก่อนตัดสินใจรักษาฟันเหยินด้วยวิธีต่างๆ

ภาวะแทรกซ้อนของฟันเหยิน คืออะไร

ฟันเหยินอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อ้าปากลำบาก เหงือกอักเสบ ข้อต่อขากรรไกรผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดและมีเสียงดังขณะอ้าปากหรือหุบปาก ฟันหน้าล่างสบเข้าเพดานปาก ซึ่งทำให้มีอาการระคายเคืองและเจ็บปวด ฟันสึกจากการบดหรือการขบเน้นฟัน และปวดศีรษะ เป็นต้น

ฟันเป็นโรคเหงือกอักเสบ

มีวิธีป้องกันฟันเหยินไหม?

ฟันเหยินเป็นภาวะการสบฟันผิดปกติซึ่งอาจเกิดจากพันธุกรรม จึงไม่มีวิธีการป้องกันที่แน่ชัด แต่อาจหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงทำให้โครงสร้างเหงือกและฟันผิดปกติได้ เช่น ไม่ดูดนิ้ว ไม่ดูดริมฝีปาก และไม่ใช้ลิ้นดุนฟัน รวมทั้งเข้ารับการรักษาฟันเหยินตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการ และทำให้การรักษาได้ผลเป็นที่น่าพอใจด้วย

ปัญหาเรื่องฟันเหยินที่ทุกคนกังวลจะหมดไป เพราะในปัจจุบันมีวิธีการรักษา อุปกรณ์เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการจัดการกับความกังวลเรื่องฟันของทุกคน วิธีที่ได้รับความนิยมคือ การจัดฟัน การจัดฟันมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล

ทั้งนี้อาจจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาการรักษาของทันตแพทย์ด้วยเช่นกันว่าเลือกวิธีการจัดฟันแบบไหนที่จะเหมาะสมกับสภาพฟัน และสุขภาพช่องปากของคนไข้มากที่สุด ถึงอย่างไรก็ตามเครื่องมือ อุปกรณ์ในการจัดฟันก็สำคัญไม่แพ้กัน

ดังนั้น เราจึงเลือกเครื่องมือ อุปกรณ์การจัดฟันที่ได้รับการยอมรับ และได้มาตรฐาน อย่างการจัดฟันแบบ Invisalign ที่เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ ซึ่งเป็นนวัตกรรม เพื่อการจัดฟันแบบมีประสิทธิภาพ จึงทำให้คนไข้มีความรู้สึกมั่นใจได้ว่าเมื่อรับการรักษาการจัดฟันไปแล้ว จะได้รอยยิ้มที่สวยงามกลับไปแน่นอน

รีวิวจัดฟันแบบใสกับคุณแพต ชญานิษฐ์
@chayanitpat (นักแสดง)

>>ดูรีวิวจัดฟัน จัดฟันแบบใส วีเนียร์ รากเทียม ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC เพิ่มเติม (คลิกเลย)

สรุป

นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว “ปัญหาฟันเหยิน”ยังอาจกระทบถึงสุขภาพที่ตามมาในด้านต่างๆ ดังนั้นการพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน หรือการตรวจสุขภาพช่องปาก และฟันก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาในช่องปาก หรือฟัน ปัญหาของคุณจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลอีกแล้ว

ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC ของเรามีทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ที่จะสามารถให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพช่องปากของคุณได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องความสะอาด และความปลอดภัย เพราะทางศูนย์ทันตกรรม BIDC มีการรักษาที่มีมาตรฐานการปลอดเชื้อ เครื่องมือที่ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกหลัก …อ่านเพิ่มเติม (คลิก)

นอกจากนั้นเรายังได้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลที่มีมาตรฐาน และความปลอดภัยจากสหรัฐอเมริกา (Joint Commission International : JCI)

มาดูแลรอยยิ้มของคุณให้สวยงามและมีสุขภาพที่ดี ยิ้มได้อย่างมั่นใจกันนะคะ

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา คลินิกจัดฟัน รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental