ฟันห่าง ทำยังไงดี??

ฟันห่าง

ปัญหาการมีช่องว่างระหว่างฟันนั้นเกิดขึ้นได้กับฟันทุกบริเวณ แต่จุดที่สังเกตุเห็นได้อย่างชัดเจน และสร้างความไม่มั่นใจให้ใครหลายคน คือ บริเวณฟันหน้า ซึ่งสาเหตุของฟันที่ห่างมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้

ซึ่งในปัจจุบันนี้ มีการพัฒนาและมีการรักษาหลากหลายรูปแบบที่ช่วยในการปิดช่องฟันหรือลดช่องว่างระหว่างฟันได้ โดยที่จะไม่มีปัญหากวนใจอีกต่อไป ก่อนที่เราจะรู้ว่าการรักษามีในรูปแบบใดบ้างนั้น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า  “ฟันห่างคืออะไร เกิดขึ้นได้จากอะไรบ้าง”  ตามหัวข้อด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ ( คลิกอ่าน )

สาเหตุของ “ฟันห่าง” เกิดจากอะไร & วิธีรักษา [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

ฟันห่าง คืออะไร ?

ฟันห่าง หรือ Diastema คือ ลักษณะของฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟันที่เห็นได้ชัด ซึ่งฟันห่างสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเป็นเรื่องของความผิดปกติในช่องปาก หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตต่าง ๆ เช่น

ช่องว่างระหว่างฟัน

พฤติกรรมการกลืนที่ผิดปกติ

เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ โดยเวลาทานอาหาร จะกลืนอาหารโดยการเอาลิ้นไปดันฟันหน้า แทนที่จะเอาลิ้นดันเพดานปากไว้ จึงทำให้เกิดแรงกดต่อฟันหน้ามากเกินไป และเมื่อทำซ้ำบ่อยครั้งก็จะเกิดเป็นฟันห่างได้ในที่สุด

พฤติกรรมการใช้ไม้จิ้มฟัน

เป็นธรรมชาติของคนเมื่อทานอาหารเสร็จแล้วมีเศษอาหารติดฟัน ก็จำเป็นจะต้องใช้ไม้จิ้มฟันแคะเศษอาหารที่ติดอยู่ระหว่างฟันออก แต่ถ้าหากใช้ผิดวิธีและบ่อยเกิดไป จะทำให้ฟันห่างได้

ขากรรไกรและฟันมีขนาดไม่สมดุลกัน

การที่ฟันมีขนาดเล็กกว่าขากรรไกร หรือมีขากรรไกรที่ใหญ่เกินไป จะส่งผลให้ฟันเรียงตัวห่างจากกัน เพื่อเติมเต็มพื้นที่ขากรรไกร จึงทำให้ฟันห่างได้ โดยสาเหตุนี้สามารถส่งผลจากพันธุกรรมได้เช่นกัน

เคยผ่านการถอนฟันหรือมีอุบัติเหตุที่ทำให้สูญเสียฟันมาก่อน

การถอนฟันหรือการสูญเสียฟันจากอุบัติเหตุก็สามารถทำให้ฟันห่างได้เช่นกัน เพราะการที่มีฟันไม่ครบทุกซี่ และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนช่องว่างนั้นจะทำให้ฟันล้มหรือเกิดช่องว่างระหว่างฟันมากขึ้น และอาจเกิดขึ้นได้หลายจุด

โรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบเป็นโรคที่เป็นสาเหตุให้กับหลายเรื่องในช่องปาก และเรื่องฟันห่างเองก็เช่นกัน เพราะเมื่อเหงือกที่เป็นที่รองรับฟันเกิดอาการอักเสบ จะทำให้ฟันโยกและเกิดเป็นฟันห่างได้

ปัญหาจาก ฟัน ห่าง

ปัญหาของผู้ที่มีฟันห่างส่วนมาก คือ ทำให้เกิดความไม่มั่นใจเมื่อต้องยิ้มหรือพูดคุย ส่วนปัญหาสุขภาพช่องปากนั้น หากมีฟันหน้าห่างมากในวัยเด็กอาจทำให้ฟันซี่ถัดไปไม่สามารถงอกขึ้นมาได้ตามปกติ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการกัด และเคี้ยวอาหารตามมา

วีเนียร์ ฟันสวยแบบดารา

สาเหตุของช่องว่างระหว่างฟันเกิดจากอะไร

ช่องว่างระหว่างฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติเกี่ยวกับช่องปากและฟัน โรคเหงือก รวมถึงนิสัยบางอย่างที่ทำจนเคยชิน ดังนี้

1. ความผิดปกติของเนื้อเยื่อในช่องปาก

ความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่ยึดเกาะใต้ลิ้นกับพื้นด้านล่างของช่องปาก หรือเนื้อเยื่อใต้ริมฝีปากบน กับเหงือก 

เนื้อเยื่อเหล่านี้มีลักษณะเป็นเส้นและมีบทบาทในการพัฒนาโครงสร้างช่องปากตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนทารกในครรภ์มารดา บางคนมีเนื้อเยื่อนี้ยึดติดมากกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้มีฟันหน้าห่างออกจากกันได้

ขนาดฟันเล็กกว่าขากรรไกร

หากมีฟันขนาดเล็กกว่าขากรรไกร หรือ มีขากรรไกรที่ใหญ่เกินไป อาจส่งผลให้ฟันเรียงตัวห่างจากกันเพื่อเติมเต็มพื้นที่ขากรรไกร ซึ่งขนาดของฟันและขากรรไกรมีปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนด หากพ่อแม่ฟันห่างก็มีโอกาสที่บุตรหลานจะมีฟันห่างไปด้วย

เนื้อเยื่อขอบเหงือกเจริญเติบโตมากเกินไป

หากมีเนื้อเยื่อขอบเหงือกบริเวณฟันหน้าส่วนบนมากเกินไป อาจไปดันหรือขวางฟันให้แยกออกจากกันจนเกิดช่องห่างมากขึ้นเรื่อยๆ

ภาวะลิ้นดันฟัน

เกิดขึ้นในเด็กโตและผู้ใหญ่ที่มีการกลืนต่างจากคนทั่วไป โดยแทนที่ลิ้นจะแตะบริเวณเพดานปากขณะกลืน แต่ลิ้นกลับไปดันฟันหน้า ซึ่งการเกิดแรงกดต่อฟันหน้าอย่างมากเกินไปก็อาจทำให้ฟันห่างได้

โรคเหงือก (Gum Disease)

การติดเชื้อจนเกิดโรคเหงือกเป็นสาเหตุของฟันห่างได้ เพราะส่งผลให้เกิดการอักเสบ สร้างความเสียหายต่อเหงือก และเนื้อเยื่อที่รองรับฟัน ทำให้ฟันโยกและเกิดช่องว่างระหว่างฟันตามมา ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้อาจสังเกตได้จากอาการเหงือกบวมแดง กระดูกฟันเสียหาย ฟันโยก และมีเลือดออกตามไรฟัน

อ่านเพิ่มเติม : อาการของโรคเหงือก และการรักษาโรคเหงือกอักเสบ (คลิก)

ฟันหลุด หรือ ถอนฟัน

การมีฟันไม่ครบหรือมีเหตุให้ต้องถอนฟันแม้แต่ 1 ซี่ ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาฟันห่างได้

“ฟันเกิน” งอกขึ้นมา

บางคนอาจมีฟันเกินอยู่บริเวณกระดูกขากรรไกรและกันไม่ให้ฟันซี่อื่นๆ งอกขึ้นมาได้ จนส่งผลให้มีช่องว่างระหว่างฟัน ในขณะที่การถอนฟันที่เกินมาออกไปก็อาจทำให้เกิดช่องว่างได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม : ฟันเกิน – คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (คลิก)

ติดนิสัยดูดนิ้ว

เด็กที่ชอบดูดนิ้วอาจมีฟันหน้าห่างเนื่องจากแรงดันจากการดูดนิ้ว อย่างไรก็ตามในวัยเด็กหลายคนอาจมีฟันหน้าห่าง และมีเนื้อเยื่อยึดระหว่างลิ้นกับพื้นช่องปากมากเกินไปในระยะที่ฟันเริ่มงอกขึ้นมา แต่ช่องว่างดังกล่าวจะหายไป เพราะเนื้อเยื่อนี้จะค่อย ๆ สั้นลงเมื่อเวลาผ่านไป

ส่วนฟันหน้าที่ห่างในวัยผู้ใหญ่นั้น ก็อาจหายไปโดยธรรมชาติได้เช่นกันหากมีฟันกรามขึ้นมาดันให้ฟันเข้ามาติดชิดกันในภายหลัง

คุณอยากมีรอยยิ้มที่สวยงามมั้ย?
เราออกแบบรอยยิ้ม 🙂 ให้คุณได้

@bidcdental
คุณเจเจ พัชธารา (นักแสดงและนางงาม)

A title

Image Box text

การรักษามีอะไรบ้าง ฟันห่างรักษาได้อย่างไร ?

การมีฟันห่างอาจไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคเหงือก และความผิดปกติที่ร้ายแรง หรือไม่ส่งผลต่อสุขภาพช่องปาก และการเคี้ยวอาหารมากนัก

แต่ในกรณีที่เกิดความกังวลเกี่ยวกับความสวยงามของฟันจนทำให้ขาดความมั่นใจ สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่ออุดหรือปิดช่องว่างดังกล่าวได้เช่นกัน โดยทันตแพทย์อาจแนะนำวิธี ดังนี้

ทันตกรรมจัดฟัน

จัดฟัน

การจัดฟัน มักใช้การจัดฟันแบบติดแบร็คเก็ตและลวด เพื่อดึงฟันให้ค่อยๆ เรียงตัวชิดกันอย่างมีระเบียบ นอกจากนี้การจัดฟันแบบใสหรือจัดฟันแบบถอดได้ก็อาจได้ผลเช่นเดียวกันในบางกรณี

ทำวีเนียร์หรืออุดฟัน

ราคาฟอกสีฟันที่บ้าน

นอกจากการจัดฟันแล้ว การอุดช่องว่างด้วยกระบวนการทางทันตกรรมก็อาจช่วยได้ เช่น การเคลือบผิวฟัน หรือ วีเนียร์ และการอุดฟันเพื่อเชื่อมช่องว่างระหว่างฟัน เป็นต้น ซึ่งวิธีเหล่านี้เป็นการใช้วัสดุที่มีสีเหมือนกับฟันของคนไข้มาปิดช่องว่างหรือครอบฟันไว้ แต่หากช่องว่างนั้นเกิดจากการสูญเสียฟัน ทันตแพทย์อาจแนะนำให้แก้ไขด้วยการทำสะพานฟันแทน

ผ่าตัด

ศัลยกรรมช่องปาก

กรณีที่มีเนื้อเยื่อขอบเหงือกลงมาแทรกระหว่างฟันมากเกินไปจนทำให้ฟันห่างจากกัน แพทย์อาจต้องผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อที่เกินมาออกไป เพื่อให้ฟันเรียงตัวชิดติดกันตามปกติ แต่หากมีฟันห่างมาก อาจต้องใช้วิธีการจัดฟันร่วมด้วย

รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ

Prosthodontic Dentistry

หากตรวจพบว่าปัญหาฟันห่างเกิดจากโรคเหงือก ผู้ป่วยต้องรักษาการติดเชื้อ และอักเสบจากโรคเหงือกก่อน จึงจะทำการอุดหรือปิดช่องว่างระหว่างฟันต่อไป โดยเน้นที่การกำจัดคราบจุลินทรีย์ หินปูนบริเวณบนและใต้เหงือกด้วย

ส่วนโรคเหงือกที่รุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อขจัดคราบหินปูนที่สะสมอยู่ลึกภายในเหงือก

ฟันห่าง ป้องกันได้หรือไม่

แม้ปัญหาฟันห่างจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้อย่างพันธุกรรมหรือความผิดปกติเกี่ยวกับช่องปากแต่กำเนิดนั้นเป็นเรื่องยากที่จะป้องกัน แต่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงบางอย่างก็อาจช่วยลดโอกาสในการเกิดฟันห่างได้ เช่น คอยดูแลไม่ให้เด็กติดนิสัยดูดนิ้ว พยายามปรับการกลืนให้ลิ้นแตะเพดานปากแทนที่จะไปดันฟัน หมั่นดูแลรักษาความสะอาดปากและฟันเพื่อป้องกันโรคเหงือกโดยใช้แปรงสีฟันหรือไหมขัดฟันเป็นประจำ รวมทั้งเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปาก และขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน

thailand dental services

ที่จริงแล้วการปิดช่องฟันห่าง ไม่ได้แค่ช่วยในเรื่องความสวยงามเท่านั้น แต่หากช่องฟันห่างได้รับการแก้ไขจะมีส่วนให้การออกเสียงชัดเจนขึ้นด้วย จึงช่วยเสริมสร้างความมั่นใจ และบุคลิกภาพให้ดีขึ้นด้วย เมื่อฟันหน้าไม่ห่างกันแล้วก็สามารถเผยรอยยิ้มได้อย่างมั่นใจ

แต่หากต้องการความมั่นใจยิ่งขึ้น ควรดูแลสภาพฟันให้มีสุขภาพดีด้วยการขูดหินปูน หรือถ้าฟันไม่ขาวสะอาดจากคราบชา กาแฟ หากเกิดความกังวลก็สามารถปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อทำการฟอกสีฟันให้ฟันขาว ดูดี เพียงเท่านี้ก็สามารถยิ้มได้เต็มที่ โดยไม่มีความกังวลใดๆ

สรุป

ช่องฟันห่างเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย สามารถแก้ไขให้ฟันกลับมาสวย และมีรอยยิ้มที่สดใสได้ ด้วยการเข้าพบทันตแพทย์มีความชำนาญ เพื่อที่จะให้คำปรึกษา และแก้ไขได้ตรงจุด รวมไปถึงการพิจารณาหาสาเหตุว่า ฟันของเราที่ห่างเกิดจากอะไร รวมถึงจุดประสงค์ในการรักษา การแก้ไขระยะห่างของฟัน ตำแหน่งของฟัน และสุขภาพของฟันด้วย แล้วจึงวางแผนการรักษาให้เหมาะสม

โดยทั่วไปถ้าไม่ใช่สาเหตุที่ยาก และซับซ้อน ก็สามารถใช้วิธีการรักษาที่ทำได้ง่าย และสะดวก เช่น การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน (คลิกอ่านต่อ) ซึ่งใช้เวลาไม่นาน และสีเหมือนฟันธรรมชาติ แต่ถ้าสาเหตุที่เกิดช่องฟันมีความซับซ้อนก็อาจจะต้องเลือกวิธีอื่นที่มีความเหมาะสมกว่า เช่น การจัดฟัน, การใส่ฟันปลอม เป็นต้น เพื่อบุคลิกภาพที่ดี เสริมสร้างความมั่นใจมากขึ้น

ฟันของเราเหมาะกับการรักษาแบบไหน?
ปรึกษาปัญหาเรื่องฟันแบบออนไลน์ ฟรี!!

ปรึกษา | จองคิวตอนนี้

ติดต่อเรา คลินิกจัดฟัน รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental