เหงือก เป็นอวัยวะที่ใครหลายคนอาจมองข้ามความสำคัญไป โดยความจริงแล้ว “เหงือกถือว่าเป็นอวัยวะที่สำคัญไม่แพ้อวัยวะอื่นเลย” เพราะเหงือกของเรามีหน้าที่สำคัญคือคอยยึดฟันไว้ให้ติดกับกระดูกขากรรไกรของเรา และเป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงในการบด และเคี้ยวอีกด้วย ลักษณะของเหงือกที่สุขภาพดีจะมีสีชมพูขอบเรียบเต็มไปด้วยเส้นเลือด ส่วนลักษณะของเหงือกร่น อาการเบื้องต้น และวิธีการป้องกันจะเป็นยังไง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ
สารบัญความรู้เกี่ยวกับ “เหงือกร่น” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
เหงือกร่น (Gum Recession) คืออะไร
อาการเหงือกร่น (Gum Recession) คือ การที่เนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณเหงือกรอบฟันค่อย ๆ ร่นลงไปจนถึงด้านล่างของฟัน ซึ่งอาจร่นไปจนเห็นรากฟัน เราจะสังเกตได้จากฟันที่ดูยาวขึ้น หรือมีร่องที่เกิดขึ้นบริเวณเหงือกและฟัน วิธีการรักษาปัญหาเกี่ยวกับเหงือกมีหลากหลาย และวิธีที่ได้ผลดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหาเหงือกร่นก็คือการทำศัลยกรรมปลูกเหงือก (อ่านต่อ)
ปัญหาเหงือกร่น เกิดจากอะไร ?
ปัญหาเหงือกร่น สาเหตุหลักเกิดจาก การสะสมของแบคทีเรียและคราบหินปูนที่สร้างความเสียหายบริเวณเหงือก รวมถึงอายุของเราที่เพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การนอนกัดฟัน หรือการเกิดอุบัติเหตุกระแทกอย่างแรง เป็นต้น บางอย่างเป็นไปตามระยะเวลาที่เหงือกของเราจะเริ่มเสื่อมสภาพไปพร้อมกับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีสังเกตตนเอง ว่ามีอาการนอนกัดฟันหรือไม่? (คลิกอ่าน)
“อาการเหงือกร่น” มีอะไรบ้าง?
รู้สึกเสียวฟันอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะขณะที่กำลังรับประทานอาหาร
มีเลือดออกตามไรฟัน
หรือขณะกำลังขัดฟัน
เวลาแปรงฟันอาจรู้สึกเจ็บ
หรือมีเลือดออก
ฟันโยก
มีกลิ่นปาก
รู้สึกว่าฟันดูยาวขึ้น
และเหงือกดูสั้นลง
ปวดฟัน เหงือกบวม
เจ็บเหงือก
หากมีอาการเหงือกบวม เลือดออกตามไรฟัน หรือ เหงือกอักเสบอยู่บ่อยครั้ง
แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็นโรคเกี่ยวกับ “เหงือก” แน่นอน!!
วิธีป้องกันปัญหาเหงือกร่นเบื้องต้น
เบื้องต้นสามารถทำได้โดยการแปรงฟันให้ถูกวิธี เลือกใช้แปรงสีฟันที่ได้มาตรฐาน พร้อมใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันร่วมด้วย และควรเข้าตรวจสภาพช่องปาก และฟันกับทันตแพทย์อยู่เสมอ
สำหรับคนไข้จัดฟัน มักมีเศษอาหารติดตามเหล็กดัดฟัน และพบปัญหาคราบหินปูนสะสมมากกว่าคนทั่วไป กรณีนี้แนะนำให้ใช้แปรงสีฟันแบบพิเศษที่ทำความสะอาดลึกได้ถึงซอกฟันอย่าง แปรงซอกฟัน
“สุดท้ายแล้วหากไม่สามารถป้องกันได้
ก็จะต้องทำการรักษา โดยการปลูกเหงือกนั่นเอง”
>> คลิกดูภาพตัวอย่างการรักษาปลูกเหงือก แก้เหงือกร่น ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC ที่นี่ <<
รักษาเหงือกร่นด้วยศัลยกรรมปลูกเหงือก
ศัลยกรรมปลูกเหงือก (Gingival Grafts) เป็นวิธีการปลูกถ่ายเหงือกเพื่อแก้ปัญหาเหงือกร่น โดยวิธีการนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณ และความหนาของเหงือกในบริเวณที่เกิดการความเสียหาย โดยทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาจะตัดเอาเนื้อเยื่อจากในช่องปากใส่เข้าไปทดแทนเนื้อเยื่อในบริเวณที่เสียหาย เช่น เนื้อเยื่อในบริเวณเพดาน
ภาพตัวอย่างการรักษาปลูกเหงือก
Photo Credit : ทันตแพทย์หญิงจาริกา ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านโรคเหงือก ประจำศูนย์ทันตกรรม BIDC
ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านโรคเหงือก (Periodontist) จะมุ่งเน้นด้านการรักษาโรคปริทันต์ หรือ โรคเหงือก ซึ่งโดยทั่วไปมักจะหมายถึงโรคเหงือกอักเสบ โรคเยื่อหุ้มฟันอักเสบ รวมถึงการทำศัลยกรรมตกแต่งเหงือก เพิ่มความยาวของฟัน และการปลูกถ่ายเหงือก เป็นต้น
ดูรายชื่อเพิ่มเติมสำหรับ : ทีมทันตแพทย์ ผู้ให้การรักษาทันตกรรม ที่ ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิก)
ข้อดีของการปลูกเหงือก
การปลูกเหงือก มีข้อดีคือ ช่วยรักษาอาการเสียวฟัน เนื่องจากเป็นการรักษาเพื่อปิดร่อง ช่องวางที่เกิดขึ้น ด้วยการเพิ่มความหนาของเหงือกในบริเวณที่เหงือกร่น ทำให้เรารู้สึกเสียวฟันน้อยลง กลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ และยิ้มได้อย่างมั่นใจ อย่างไรก็ตามความสำเร็จของการรักษาอาจขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคล
การปลูกเหงือก กับ การตกแต่งเหงือก ต่างกันอย่างไร?
การปลูกเหงือก หรือ การตกแต่งเหงือก เป็นการรักษาเหงือกที่มีปัญหาแต่การรักษาจะมีความแตกต่างกันไป
- การปลูกเหงือก เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเหงือกร่นจนเห็นรากฟัน รวมไปถึงอาการเสียวฟัน และเหงือกอักเสบ
- การตกแต่งเหงือก เหมาะกับผู้ที่มีเนื้อเหงือกมาก มีความต้องการตัดตกแต่งเหงือกให้สวยงาม
ยิ้มเห็นเหงือก แก้ไขอย่างไร?
โดย ทพญ.ชลฤทัย ขาวโต DDS., | ศูนย์ทันตกรรม BIDC
สำหรับการปลูกเหงือก – การตกแต่งเหงือก เมื่อพูดถึงการศัลยกรรมช่องปาก ที่มีการผ่าตัดเข้ามาเกี่ยวข้องก็จะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการรักษาว่า ปลูกเหงือกเจ็บไหม – ตกแต่งเหงือก เจ็บไหม รวมไปถึงหลังการรักษาด้วยว่าต้องดูแลตัวเองยังไง มาดูคำตอบกันด้านล่างนี้เลยค่ะ
ปลูกเหงือกเจ็บไหม – ตกแต่งเหงือก เจ็บไหม
สำหรับการรักษาด้วยการตกแต่งเหงือก และปลูกเหงือก รวมไปถึงการศัลยกรรมช่องปาก จะต้องทำการรักษาด้วยทันตแพทย์โรคเหงือก ทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางเท่านั้น เมื่อต้องทำการรักษาทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะจุด เพื่อบรรเทาความเจ็บ/ปวดที่จะเกิดขึ้นระหว่างทำการรักษา
ดังนั้นผู้ป่วยจึงไม่ต้องกังวลว่าขณะทำการรักษาจะเกิดอาการเจ็บ/ปวด แต่อาการเจ็บ – ปวด สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อฤทธิ์ยาชาหมด และในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดการอักเสบ บวม และเจ็บบริเวณแผลไปอีก 2-3 วัน ซึ่งทางคลินิก/ศูนย์ทันตกรรมจะจ่ายยาแก้ปวดกับยาปฏิชีวนะที่ช่วยรักษาแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อของแผล
ปลูกเหงือกเสร็จแล้ว ดูแลตัวเองยังไง
การดูแลแผลหลังจากการปลูกเหงือก ต้องหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการกระทบกระเทือนบาดแผล และควรดูแลรักษาความสะอาดแผล ตามที่ทันตแพทย์แนะนำ รวมถึงเรื่องการรับประทานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรืออาหาร ไม่ควรดื่มน้ำหรืออาหารที่มีอุณหภูมิร้อนจัด หรือ เย็นจัด
ต้องรับประทานอาหารอ่อนๆ ไปก่อน พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นแผลจากการรักษา ไม่เคี้ยวอาหารใกล้แผล ไม่ดึงริมฝีปาก เพื่อเปิดดูแผล และไม่เอาลิ้นไปสัมผัสบริเวณแผลอยู่บ่อย ๆ เพราะอาจเกิดการเจ็บ/ปวด และแผลก็อาจจะหายช้าได้
สรุป
เหงือกถือเป็นส่วนหนึ่งในช่องปาก ที่ต้องใส่ใจไม่ต่างจากฟัน เพราะผิวของรากฟันนั้นมีความอ่อนนุ่มมากกว่าบริเวณอื่น จึงจำเป็นต้องมีเนื้อเยื่อเหงือกคอยปกป้อง ไม่อย่างนั้นฟันก็เสี่ยงที่จะถูกทำลาย จนสูญเสียฟันแท้ในที่สุด การปลูกเหงือกเพื่อรักษาไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และยังเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ช่วยรักษาอาการเหงือกร่นให้หายขาดได้อีกด้วย ที่สำคัญยังทำให้สุขภาพช่องปากและฟันกลับมาแข็งแรง สวยงามได้อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพทางช่องปากและฟันที่ไม่ดีเกิดขึ้นอีกในอนาคต เราควรดูแลฟันด้วยการแปรงฟันให้สะอาด ใช้แปรงสีฟันที่ได้มาตรฐาน หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรค และตรวจสุขภาพฟันกับทันตแพทย์อย่างเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหินปูน และเหงือกอักเสบได้
BIDC เราเปิดให้บริการทุกวัน ดูแลทุกท่านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“ใครอยากปรึกษาปัญหาเรื่องฟัน แอดไลน์คลินิกไว้ได้เลยค่ะ”
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่