เคยสงสัยกัยไหมว่าทำไมเราถึงมีกลิ่นปาก และฟันผุง่าย ทั้งๆที่ทำความสะอาดช่องปากเป็นอย่างดี นั่นเพราะเราอาจเป็น “ภาวะปากแห้ง” บอกเลยว่าภาวะนี้นอกจากจะทำให้เราปากเหม็น ฟันผุ ยังทำให้เราเป็นร้อนในบ่อยอีกด้วยค่ะ วันนี้ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC จะพาทุกคนไปทำความรู้จักภาวะ Xerostomia (Dry Mouth) นี้ ว่าคืออะไร อาการเป็นแบบไหน?
ภาวะปากแห้ง น้ำลายน้อย คืออะไร
ภาวะปากแห้งเหตุน้ำลายน้อย หรือ Xerostomia เกิดได้จากหลายสาเหตุที่ทำให้การไหลของน้ำลายลดลง โดยอาจเกิดจากพยาธิสภาพของต่อมน้ำลาย การสูญเสียน้ำ และแร่ธาตุในร่างกาย ภาวะขาดน้ำ ผู้ป่วยสูงอายุ การสูบบุหรี่ การได้รับรังสีรักษามะเร็งบริเวณศีรษะ และใบหน้า ทำให้ต่อมน้ำลายสูญเสียการทำหน้าที่ เนื่องจากต่อมน้ำลายมักอยู่ในบริเวณที่ได้รับรังสี และเซลล์ของต่อมน้ำลายเป็นเซลล์ที่ไวต่อรังสีมาก การทำเคมีบำบัดในการรักษามะเร็ง โรคทางระบบต่างๆ
นอกจากนี้อาการปากแห้งอาจจะเกิดจากผลข้างเคียงของยาที่ผู้ป่วยได้รับในการรักษาโรคทางระบบอื่นๆ ได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นในช่องปากน้ำลายจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ น้ำลายเป็นสารคัดหลั่งที่สร้างจากต่อมน้ำลาย แล้วขับเข้าไปในปากทางท่อน้ำลาย มีส่วนประกอบของสารต่างๆ หลายชนิดที่ช่วยรักษาสภาพของช่องปากและฟัน ให้อยู่ในสภาวะปกติ มีบทบาทสำคัญที่ช่วยในการย่อยอาหาร ช่วยหล่อลื่นอวัยวะในช่องปาก ป้องกันไม่ให้ปากแห้ง ช่วยในการเคลื่อนไหวของลิ้น ช่วยให้พูดชัดถ้อยชัดคำ เป็นไปตามธรรมชาติ รักษาสมดุลในช่องปาก และผิวฟัน นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการต้านจุลชีพในช่องปาก และระบบทางเดินอาหาร
สาเหตุของอาการปากแห้งมีอะไรบ้าง?
อาการปากแห้งจะเกิดขึ้นเวลาที่ต่อมน้ำลายในปากผลิตน้ำลายออกมาไม่เพียงพอต่อการทำให้ภายในช่องปากเปียกแฉะอยู่เสมอ ซึ่งการที่ต่อมน้ำลายทำงานผิดปกติอาจเป็นผลมาจากสิ่งเหล่านี้
ปัญหาทางด้านสุขภาพ : อาการปากแห้งอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพ อย่างเช่น โรคเบาหวาน (..อ่านต่อ) เส้นเลือดในสมองแตก การติดเชื้อราในช่องปาก โรคอัลไซเมอร์ หรือโรคที่เป็นผลมาจากการแพ้ภูมิตัวเอง อย่างเช่น โรคในกลุ่มอาการโจเกร็น (Sjogren’s syndrome) หรือโรคเอดส์ นอกจากนี้การนอนกรน และการหายใจทางปาก ก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ด้วย
การใช้ยา : มียาอยู่มากมายหลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการปากแห้งขึ้นมาได้ ซึ่งยาที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิด ปัญหา ได้แก่ ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคความดันโลหิตสูง และโรควิตกกังวล รวมทั้งยาแก้แพ้ ยาแก้คัดจมูก ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และยาแก้ปวด
เส้นประสาทได้รับความเสียหาย : อุบัติเหตุหรือศัลยกรรมที่ทำให้เส้นประสาทบริเวณศีรษะ และคอเกิดความเสียหาย อาจส่งผลให้เกิดอาการปากแห้งได้
สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ หรือการเคี้ยวยาเส้น อาจทำให้มีอาการปากแห้งเพิ่มขึ้นได้
ใช้ยาคลายเครียด : ยาบ้าหรือยาเมทแอมฟีตะมีน (Methamphetamine) อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งขั้นรุนแรงได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความเสียหายกับฟัน และมีกลิ่นปากแบบ ‘คนเสพย์ยา’ นอกจากนี้การสูยกัญชาก็ทำให้เกิดอาการปากแห้งได้เหมือนกัน
อายุมากขึ้น : ผู้สูงวัยมักจะมีอาการปากแห้งเมื่อมีอายุมากขึ้น ร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ อย่างเช่น การใช้ยาบางชนิด ความสามารถในการดูดซึมยาลดลง ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และมีปัญหาด้านสุขภาพเป็นเวลานาน
ยาเคมีบำบัดโรคมะเร็ง : ยาเคมีบำบัดอาจทำให้ธรรมชาติของน้ำลายเปลี่ยนไป รวมทั้งทำให้การผลิตน้ำลายลดลงด้วย อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราว ซึ่งเมื่อใช้ยาเคมีบำบัดเสร็จสิ้นแล้ว น้ำลายก็จะกลับมาทำหน้าที่ตามปกติ นอกจากนี้การฉายรังสีบริเวณศีรษะ และคอ ก็อาจทำให้ต่อมน้ำลายเกิดความเสียหาย ซึ่งนั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายผลิตน้ำลายได้น้อยลง อาการเช่นนี้อาจเป็นอาการเพียงชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ขึ้นอยู่กับปริมาณรังสี และบริเวณที่มีการฉายรังสี
ลักษณะอาการปากแห้งเป็นแบบไหน
อาการปากแห้งที่พบทั่วไปในชีวิตประจำวัน มักเกิดจากภาวะขาดน้ำหรือความวิตกกังวล แต่อาการปากแห้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นสัญญาณของโรค และการเจ็บป่วยบางชนิด โดยอาจมีอาการอื่นๆ ที่เกิดขึ้นร่วมด้วยและพบได้บ่อยโดยมีลักษณะดังนี้
- มีความรู้สึกปากเหนียว และแห้ง
- หิวน้ำบ่อยๆ
- มีความรู้สึกเจ็บภายในปาก มีความรู้สึกเจ็บบริเวณมุมปาก หรือมุมปากมีอาการผิวแตก รวมทั้งริมฝีปากมีอาการแห้งแตก
- มีความรู้สึกคอแห้ง
- มีความรู้สึกแสบร้อนภายในปาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณลิ้น
- ลิ้นมีอาการแห้ง และแดง
- มีปัญหาในการพูด รวมทั้งในการรับรส การเคี้ยว และการกลืนอาหารด้วย
- มีอาการแสบคอ เจ็บคอ และจมูกแห้ง
- มีกลิ่นปาก
วิธีป้องกันปากแห้ง & Tips! การดูแลตัวเอง
- ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 8-10 แก้ว
- หมั่นจิบน้ำเย็น หรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ปราศจากน้ำตาล เพื่อให้ปากชุ่มชื้นอยู่เสมอ
- หลีกเลี่ยงอาหารประเภทที่มีรสชาติเผ็ดและเค็มจัด เนื่องจากอาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในปาก
- เคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมที่ปราศจากน้ำตาล สามารถช่วยป้องกันปากแห้งได้ เนื่องจากวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายออกมาได้มากขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และงดการสูบบุหรี่
- ในกรณีที่ปากแห้งมากสามารถซื้อน้ำลายเทียมมาใช้ได้ แต่ควรทำตามคำแนะนำของเภสัชกรอย่างเคร่งครัด
- ไม่ควรซื้อยาแก้แพ้ หรือยาลดน้ำมูกมารับประทานเอง เพราะอาจทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชก่อนใช้ยาทุกครั้ง
- ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟัน และน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ร่วมด้วย
- ผู้ที่มักหายใจทางปากควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และฝึกหายใจทางจมูกบ่อย ๆ แทน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการปากแห้งได้ง่าย
- ใช้เครื่องทำความชื้นเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศขณะที่นอนหลับ
- หมั่นไปพบทันตแพทย์ เพื่อรับการตรวจสุขภาพในช่องปากและฟันทุก 6 เดือน หรือปีละ 2 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมการเลียปากบ่อย ๆ เพราะน้ำลายจะดูดเอาความชุ่มชื้นออกจากปาก ทำให้ปากแห้ง แตก และดำคล้ำง่าย
- ควรเลือกใช้ลิปสติกที่มีมอยส์เจอไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น หรือบำรุงผิวริมฝีปากไปพร้อม ๆ กัน และควรเลือกใช้ลิปสติกที่มีส่วนผสมของสารกันแดด เพราะแสงแดดจะทำลายผิวริมฝีปากให้หมองคล้ำและทำให้ปากแห้งได้
- หลีกเลี่ยงการสครับผิวริมฝีปากบ่อย ๆ เพราะการสครับจะยิ่งทำให้อาการปากแห้งรุนแรงขึ้น
- ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ อย่างน้อยควรดื่มให้มากกว่า 8-10 แก้ว จิบน้ำเย็น หรือเครื่องดื่มที่ปราศจากน้ำตาลบ่อย ๆ
- อมลูกอม หรือเคี้ยวหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาล เพื่อช่วยกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายสามารถผลิตน้ำลายออกมาได้มากขึ้น
- หากมีอาการริมฝีปากแห้ง และแตก ควรบำรุงริมฝีปากด้วยผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับริมฝีปาก
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ รวมทั้งควรงดสูบบุหรี่ เพราะพฤติกรรมเหล่านี้จะยิ่งทำให้อาการปากแห้งแย่ลงกว่าเดิม
วิธีการรักษาอาการน้ำลายน้อย ปากแห้ง
ถ้าคิดว่าอาการปากแห้งนั้นเกิดจากการใช้ยาบางชนิด ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาอาจจะต้องมีการปรับการรับประทานยา หรือเปลี่ยนไปใช้ยาที่ไม่ก่อให้เกิดอาการปากแห้งแทน นอกจากนี้แพทย์อาจจะเขียนใบสั่งน้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยฟื้นฟูความชุ่มชื้นในช่องปาก ซึ่งถ้าน้ำยาบ้วนปากชนิดนั้นไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น แพทย์ก็อาจให้คุณกินยาซาลาเจน (Salagen) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำลายออกมา และคุณสามารถกระตุ้นให้มีน้ำลายไหลออกมามากขึ้นได้ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- ดูดอมลูกกวาดที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล หรือเคี้ยวหมากฝรั่งที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล
- ดื่มน้ำเยอะ ๆ เพื่อช่วยให้ปากคงความชุ่มชื้นอยู่เสมอ
- แปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันที่ผสมฟลูออไรด์ ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสมฟลูออไรด์ และไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
- หายใจทางจมูก และหลีกเลี่ยงการหายใจทางปากให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
- ติดตั้งเครื่องทำไอน้ำไว้ในห้อง เพื่อช่วยเติมความชุ่มชื้นให้กับอากาศภายในห้องนอน
- ใช้น้ำลายเทียมที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
โรคแทรกซ้อน จากอาการ “ปากแห้ง”
ถ้าใครมีปริมาณน้ำลายไม่พอเพียง และมีอาการปากแห้ง ก็นำไปสู่โรคแทรกซ้อนต่อไปนี้ได้
- มีปัญหาคราบฟัน ฟันผุ และโรคเหงือกเพิ่มขึ้น
- มีอาการเจ็บในช่องปาก
- ติดเชื้อราในช่องปาก
- เจ็บบริเวณมุมปากรวมทั้งมีอาการแห้งแตก หรือมีอาการริมฝีปากแห้ง
- ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากมีปัญหาในการเคี้ยว และกลืนอาหาร
- อาการปากแห้งอาจทำให้การใส่ฟันปลอมเป็นไปอย่างยากลำบาก
A title
Image Box text
ภาวะปากแห้งนำมาซึ่งปัญหาทางช่องปาก เช่น ฟันผุ มีกลิ่นปาก นอกจากนั้นแล้วยังมีปัญหาอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น ปากแตก ลอก เป็นขุย ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติร้ายแรง แต่การดูแลให้สุขภาพช่องปากให้ดีอยู่เสมอนั้นเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ควรละเลย เพื่อที่ทุกคนจะมีรอยยิ้มกว้าง และยิ้มได้อย่างมั่นใจ
สรุป
หลายๆคนคงคิดไม่ถึงว่า “น้ำลาย” ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับช่องปากและฟัน ถ้าน้ำลายน้อย หรือแห้ง ต้องมีผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากและฟันอย่างแน่นอน ปัญหาปากแห้งและน้ำลายน้อย นอกจากจะทำลายสุขภาพช่องปากแล้ว ยังทำลายความมั่นใจของเราอีกด้วย
ดังนั้นเราจึงต้องดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเราให้ดี ถ้าพบความผิดปกติในช่องปากควรมาพบทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญจะสามารถแนะนำได้ดีที่สุด เพื่อให้รอยยิ้ม และความมั่นใจของทุกคนกลับมาเหมือนเดิม
ใกล้หมอฟันกว่าเดิม ปรึกษาทันตแพทย์ออนไลน์ ที่นี่
ติดต่อเรา BIDC คลินิกจัดฟัน รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่