โรคเบาหวานกับฟัน.. เรื่องสำคัญที่ควรรู้

โรคเบาหวานกับฟัน

เบาหวานกับฟัน.. เรื่องสำคัญที่ควรรู้ ทุกคนคงสงสัยกันรึป่าว ว่าการที่เป็นโรคเบาหวานมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือมีความสำคัญยังไงกับสุขภาพของช่องปากและฟัน.. วันนี้ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC เราจะพาทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันในหัวข้อเรื่องโรคเบาหวานกันค่ะ

ข้อมูลที่ควรรู้เรื่อง โรคเบาหวานกับฟัน [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

โรคเบาหวาน คืออะไร ?

โรคเบาหวาน คือ โรคที่เกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อันเนื่องมาจากความผิดปกติในการหลั่งอินซูลินหรือความผิดปกติในการทำงานของอินซูลิน ทั้งนี้เพราะอินซูลินมีหน้าที่ในการนำน้ำตาลจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย เมื่อมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความผิดปกติต่อโครงสร้าง และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตา ไต เส้นประสาท หลอดเลือด และหัวใจ

โรคเบาหวาน คืออะไร

โรคเบาหวานกับฟัน ปัญหาของสุขภาพในช่องปาก

เบาหวาน สุขภาพช่องปาก

เบาหวาน ส่งผลต่อความผิดปกติกับเรตินาในช่องปาก เมื่อช่องปากของผู้เป็นเบาหวานติดเชื้อ จะมีอาการเจ็บปวด เนื่องจากสุขภาพช่องปากไม่แข็งแรง เพิ่มความต้านทานต่ออินซูลิน สูญเสียการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยิ่งถ้าควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้มากขึ้น

*โดยมีการศึกษาวิจัย พบว่าผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ และสูญเสียฟันมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน

*ข้อมูลอ้างอิงจาก : โรคเบาหวานกับโรคปริทันต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (คลิกอ่าน)

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับโรคเหงือกเพิ่มเติมที่นี่
@bidcdental

คนเป็นโรคเบาหวาน มีสิทธิเป็นโรคเหงือกอักเสบง่ายกว่าจริงหรือ?

โรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะรองรับฟัน (เหงือก กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ เคลือบรากฟัน) มีสาเหตุหลักจากเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ภายในช่องปาก และสะสมอยู่บริเวณขอบเหงือกและซอกฟัน โรคเบาหวานเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบด้วย

Prosthodontic Dentistry

ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก ซึ่งรวมถึงอาการปากแห้ง (..อ่านต่อ) เนื่องจากน้ำลายไหลน้อยลง อาการปวดแสบปวดร้อน ติดเชื้อในช่องปากง่าย แผลหายช้า ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานเมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้วยิ่งทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีเป็นผลให้การรักษาโรคเบาหวานมักไม่ค่อยได้ผล


เรื่องที่น่าสนใจของโรคเบาหวานกับฟันในผู้ป่วยเบาหวานที่ควรรู้อีก 1 อย่าง คือ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี มีการตอบสนองต่อการรักษาโรคปริทันต์อักเสบใกล้เคียงกับผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน

ในขณะเดียวกันผู้ที่ควบคุมเบาหวานไม่ดี พบว่าเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงกว่า และสูญเสียฟันมากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี และผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน

ข้อมูลเพิ่มเติม : การรักษาโรคเหงือก มีอะไรบ้าง (คลิกอ่าน)


ไม่อยากสูญเสียฟัน ต้องทำอย่างไร ?

อย่างที่ทราบกันว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานมีภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อแบคทีเรียต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน และเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ และเป็นผลให้สูญเสียฟันนั้น มักตกค้างอยู่บนผิวฟันบริเวณขอบเหงือก และซอกฟัน ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เราแปรงฟันไม่ถึง

ศัลยกรรมช่องปาก

ดังนั้นวิธีง่าย ๆ แต่ต้องฝึกฝนอย่างจริงจังในการป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบนอกเหนือจากการได้รับการขูดหินน้ำลายทั้งปากจากทันตแพทย์แล้ว คือ การแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี (..อ่านต่อ) ในการกำจัดคราบอาหารนอกเหนือจากเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน

อย่างไรก็ตามการดูแลทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกต้อง และได้ผลที่ดีควรปรึกษาหมอฟัน เพื่อรับคำแนะนำ และการติดตามผลอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกเหนือจากการออกกำลังกาย รับประทานอาหาร และยาที่แพทย์แนะนำเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีแล้ว ควรตระหนักถึงการแปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันให้ถูกต้อง และสม่ำเสมอ เพื่อจะได้มีฟันที่แข็งแรงไว้ใช้เคี้ยวอาหารได้นาน ๆ

ทีมหมอฟัน มหิดล

ปรึกษาปัญหาสุขภาพฟันที่นี่

แนวทางการทำทันตกรรมในผู้เป็นเบาหวาน


แนวทางการทำทันตกรรมในผู้เป็นเบาหวาน

*ข้อมูลแผนภาพอ้างอิงจาก : แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบ พ.ศ. 2563 – คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คลิกอ่าน)


วิธีป้องกันการเกิดโรคเหงือกได้ด้วยตนเอง

วิธีป้องกันการเกิดโรคเหงือก

  • แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เน้นแปรงบริเวณฟันและรอยต่อระหว่างฟัน และเหงือก โดยควรใช้แปรงสีฟันหัวเล็กที่มีขนแปรงนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ นอกจากนี้ ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-4 เดือน เพราะแปรงสีฟันเก่าจะมีประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟันลดลงและอาจทำให้เหงือกเกิดการบาดเจ็บได้
  • ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด หากต้องใช้เครื่องมือทำความสะอาดฟันอย่างไหมขัดฟัน แปรงสำหรับซอกฟัน หรือเครื่องมืออื่น ๆ
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการรับประทานอาหาร เพราะจะช่วยขจัดเศษอาหารตามซอกฟัน และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดคราบพลัคที่ฟันได้
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
  • เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน
  • งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่อาจทำให้ช่องปากเกิดการระคายเคือง และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ในช่องปากได้

สุขภาพช่องปาก และฟันเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องดูแลรักษา แต่สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวหรือโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปาก และฟันมากกว่าปกติก็ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้สุขภาพช่องปาก และฟันดีอยู่เสมอ

รวมไปถึงการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับฟัน และเหงือก ถ้าหากผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเบาหวาน พบความผิดปกติภายในช่องปาก เกิดการอักเสบของเหงือกรอบฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์ที่ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อแนะนำการรักษาให้เหมาะสม และตรงจุด

ส่วนในผู้ป่วยที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัว หากควบคุมเบาหวานได้ดีก็จะลดปัญหาการอักเสบของเหงือกได้เช่นกัน

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง : รายชื่อคุณหมอเฉพาะทางโรคเหงือก ที่ ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิก)


สรุป โรคเบาหวานกับฟัน

ไม่ว่าจะเป็นคนที่มีโรคประจำตัวหรือไม่มีก็ตาม การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนจะต้องให้ความสนใจ ไม่ว่าจะดูแลสุขภาพร่างกายหรือแม้แต่สุขภาพของช่องปากเองก็ต้องดูแลเช่นกัน อย่างน้อย ๆ ควรพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟันทุก ๆ 6 เดือน

เพราะสุขภาพช่องปากและฟันเป็นสิ่งที่เราใช้งานเป็นประจำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการพูด การเคี้ยวอาหาร สิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่ดูแลรักษาความสะอาดก็อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ในภายหลัง การมีสุขภาพร่างกาย และสุขภาพช่องปากที่ดีจะทำให้เรามีความสุข สดใส สิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวก็จะดีตามไปด้วยค่ะ

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental