ใครบ้าง? ที่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอม

ฟันปลอม

หลายๆคน น่าจะทราบกันดีว่า การใส่ฟันปลอม เพื่อทดแทนฟันที่หายไปนั้น จะช่วยให้การพูด อ่าน ออกเสียงชัดเจน รับประทานอาหารได้ตามปกติ เสริมสร้างบุคลิก ความมั่นใจให้มากขึ้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าการทำฟันปลอมจะต้องอาศัยทันตแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทันตกรรมประดิษฐ์ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย ฟันสวยงามเป็นธรรมชาติ และใช้งานได้ดี โดยทันตแพทย์จะแนะนำสิ่งที่มีความเหมาะสมกับช่องปาก และฟัน ให้ตรงกับปัญหา และการใช้ชีวิตของเราได้มากที่สุด

รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับ “ฟันปลอม” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]


เลือกทำฟันปลอมแบบไหนดี
เลือกทำฟันปลอมแบบไหนดี

ฟันปลอม มีกี่แบบ ?


ฟันปลอมมีกี่แบบ

Dentures – ฟันปลอม เป็นการสร้างชิ้นงานให้มีรูปร่าง ลักษณะคล้ายฟัน ในทางทันตกรรม จะเรียกการสร้างชิ้นงานนี้ว่า “ทันตกรรมประดิษฐ์” ออกแบบมาเพื่อทดแทนฟันที่ต้องสูญเสียไป ทั้งนี้ฟันปลอมมีหลากหลายแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล โดยฟันปลอม จะมี 2 แบบ คือ ฟันปลอมชนิดถอดได้ และ ฟันปลอมชนิดติดแน่น

[คลิกอ่านตามหัวข้อ]


ฟันปลอมชนิดถอดได้

ฟันปลอมแบบถอดได้ คือ ฟันปลอมที่มีตะขอ เพื่อใช้เกี่ยวยึดกับฐานฟันธรรมชาติ สามารถถอดฟันปลอมออกมา เพื่อทำความสะอาดได้ ซึ่งฟันปลอมแบบถอดได้นี้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ ฟันปลอมทั้งปาก และ ฟันปลอมบางส่วน

ฟันปลอมแบบทั้งปาก


ฟันปลอมแบบทั้งปาก

ฟันปลอมแบบทั้งปาก เป็นการทดแทนฟันทั้งหมดที่สูญเสียไป ซึ่งฐานฟันปลอมสามารถทำด้วยวัสดุต่างๆ เช่น พลาสติก โลหะ หรือแบบผสม และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ด้วยการยึดติดกับรากฟันเทียมอีกด้วย

ฟันปลอมแบบบางส่วน


ฟันปลอมเฉพาะส่วน

ฟันปลอมแบบบางส่วน แทนฟันที่สูญเสียไปบางซี่ หรือ หลายซี่ โดยผู้เข้ารับบริการยังคงมีฟันตามธรรมชาติเหลืออยู่ โดยฐานฟันปลอมสามารถทำจากพลาสติก หรือ โลหะ และจะมีก้ามปูซึ่งมีทั้งสีเหมือนฟันและโลหะใช้ในการยึดฟันตามธรรมชาติ


อ่านเพิ่มเติม : ฟันปลอมมีกี่แบบ หลังทำฟันต้องดูแลยังไง? (คลิก)

[คลิกอ่านตามหัวข้อ]


ฟันปลอมชนิดติดแน่น

ฟันปลอมแบบติดแน่น คือ การใส่ฟันปลอมโดยยึดกับฟันธรรมชาติ เช่น การทำวีเนียร์ฟันสวย การปลูกรากฟันเทียม การทำครอบฟัน – สะพานฟัน และการอุดฟันแบบ Onlay และ Inlay เป็นต้น

วีเนียร์ (Veneer)


วีเนียร์ (Veneer) คืออะไร

A title

Image Box text

วีเนียร์ (Veneer) หรือ ทันตกรรมความงามที่ทุกคนรู้จักกันดี เป็นการปิดแผ่นเคลือบฟันลงไปที่บริเวณผิวหน้าฟัน ช่วยแก้ปัญหา ช่องว่างระหว่างฟัน ฟันห่าง ฟันซ้อนเกเล็กน้อย สีฟันไม่สม่ำเสมอ และ ฟันบิ่นแตก เป็นต้น

รากฟันเทียม (Dental Implants)


รากฟันเทียมแบบมีฟันทันที

A title

Image Box text

รากฟันเทียม (Dental Implants) เป็นการฝังรากเทียมที่ทำจากวัสดุไททาเนียมลงบนกระดูก เพื่อทดแทนรากฟันจริงที่สูญเสียไป เมื่อรากฟันเทียมที่ฝังลงไปแล้วยึดติดกับกระดูก ทันตแพทย์จะทำครอบฟันบนรากฟันเทียม วิธีนี้จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก เพราะเป็นการทดแทนฟัน และสามารถใช้งานได้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

ครอบฟัน (Crown)


ครอบฟัน คืออะไร

A title

Image Box text

ครอบฟัน (Crown) คือ ฟันปลอมติดเเน่นที่ทำจากวัสดุประเภทโลหะ หรือเซรามิก ให้ครอบบริเวณฟันที่เสียหาย และฟันที่มีเนื้อฟันน้อยไม่สามารถบูรณะได้

สะพานฟัน (Bridge)


การติดสะพานฟัน

A title

Image Box text

สะพานฟัน (Bridge) เป็นการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น เพื่อชดเชยช่องว่างจากการสูญเสียฟัน ทันตแพทย์จะยึดสะพานฟันติดกับตัวหลักสะพาน ที่ได้จากการกรอฟันซี่ข้างเคียง วัสดุที่นำมาใช้ในการสร้างสะพาน ขึ้นอยู่กับขนาดของช่องว่างและการใช้งานของแต่ละบุคคล

การอุดฟัน Onlay และ Inlay


inlays onlays

A title

Image Box text

การอุดฟัน Onlay และ Inlay มีทั้งวัสดุที่ทำจากโลหะ และวัสดุสีเหมือนฟัน เป็นการใส่ฟันปลอมแบบติดแน่น ยึดติดกับฟันจริงด้วยกาวทางทันตกรรม ทดแทนการสูญเสียเนื้อฟันจากฟันผุ ฟันแตก ฟันหัก ฟันบิ่น ที่เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถอุดฟันตามปกติได้ แต่มีเนื้อฟันเหลือมากพอโดยที่ไม่จำเป็นต้องทำครอบฟัน


อ่านเพิ่มเติม : ทันตกรรมประดิษฐ์คืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท? (คลิก)

>>กลับไปที่สารบัญ<<

เลือกทำฟันปลอม แบบไหนดี ?


การเลือกใช้ฟันปลอมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของช่องปากและฟัน รวมไปถึงความสะดวกในการใช้งานของแต่ละคน ถ้าหากพูดถึงเรื่องการใช้งาน การใส่ฟันปลอมแบบติดแน่นจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ เคี้ยวอาหารได้ปกติ ไม่เคลื่อนตัวขณะเคี้ยว และใช้งานได้สะดวกไม่ต้องถอดเข้าถอดออกเวลารับประทานอาหาร

เราเหมาะกับฟันปลอมประเภทใด ขึ้นอยู่กับว่าเราสูญเสียฟันไปแล้วกี่ซี่

 สำหรับท่านใดที่สนใจการทำฟันปลอม 

เลือกคลินิกทำฟัน ใกล้คุณ ที่นี่

จองคิวเลย จองคิวเลย

ขั้นตอนการทำฟันปลอม


พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อฟัน

  1. เริ่มจากการวัดขนาดขากรรไกร และเตรียมแม่พิมพ์ฟัน สร้างเป็นโมเดลช่องปากขึ้น หรือ สแกนแบบดิจิทัล เพื่อวัดช่องว่างของฟัน เเละลักษณะการกัด
  2. ข้อมูลที่ได้จะถูกส่งไปห้องปฏิบัติการทันตกรรม (dental lab) เพื่อสร้างโมเดลฟันแบบจำลองช่องปากของคนไข้ เเละทำฟันปลอมแบบชั่วคราวที่มีขนาด เเละรูปร่างพอดีกับช่องว่างในปากของคนไข้
  3. ลองใส่ฟันปลอมชั่วคราว และทำการปรับแต่ง รูปร่าง ขนาด สีฟันให้เหมาะสมกับตำแหน่งฟันที่สูญเสียไปให้มากที่สุด เพื่อความสะดวกสบายในการสวมใส่
  4. หลังจากนั้นฟันปลอมจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการทันตกรรมเพื่อทำการผลิตฟันปลอมจริงให้กับคนไข้
  5. นัดใส่ฟันปลอม อาจจะมีการปรับแต่งฟันปลอมอีกครั้งตามความเหมาะสม
  6. ทันตแพทย์จะนัดมาติดตามผลการใช้งานอีกครั้ง

เทคโนโลยีการทำฟันด้วยระบบ Digital ศูนย์ทันตกรรม BIDC


  • ช่วยให้คนไข้รู้สึกสบายมากขึ้น
  • สะดวก รวดเร็ว ใช้เวลาการรักษาน้อยลง
  • ครอบฟันภายใน 1 วัน (One day crown)
  • ออกแบบ และผลิตชิ้นงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความละเอียด เที่ยงตรง มีความแม่นยำสูง

อ่านเพิ่มเติม : ทำฟันด้วยระบบทันตกรรมดิจิทัล ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิก)

>>กลับไปที่สารบัญ<<

วิธีการดูแลรักษาฟันปลอม


  • ควรนำฟันปลอมแช่น้ำเปล่า หรือน้ำยาแช่ฟันทุกครั้ง เมื่อไม่ได้ใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันปลอมแห้ง
  • ควรทำความสะอาดฟันปลอมทุกครั้งหลังการใช้งาน เพื่อช่วยกำจัดเศษอาหาร คราบแบคทีเรีย และช่วยป้องกันการเกิดคราบ
  • ระมัดระวังไม่ให้ฟันปลอมตกหล่น เพราะฟันปลอมมีความบอบบางอาจเกิดความเสียหายได้
  • ไม่ควรปรับฟันปลอมด้วยตนเอง ควรพบทันตแพทย์ทุกครั้ง หากฟันปลอมบิ่น แตก หลวม หรือหัก

ข้อดีของฟันปลอม


  • เพิ่มประสิทธิภาพในการเคี้ยว และรับประทานอาหาร
  • ช่วยในเรื่องของการพูด และการออกเสียง
  • สร้างรอยยิ้มที่สวยงาม เสริมสร้างความมั่นใจ
  • ช่วยป้องกันการเคลื่อนตัวของฟัน เช่น ฟันล้ม ฟันซ้อนเก
  • ค่าใช้จ่ายไม่แพง

ข้อเสียของฟันปลอม


  • ต้องคอยระมัดระวัง เพราะ ฟันปลอม สามารถแตกหักได้
  • อาจจะเป็นแผลในช่องปากเวลาใช้งานหนัก
  • อาจจะหลวม และหลุดได้ ในเวลาใช้งาน
  • มีเศษอาหารติดใต้ฐานฟันปลอมทุกครั้งที่ใช้งาน

ใครบ้าง?  ที่ต้องใส่ฟันปลอม 


ฟันหัก เกิดขึ้นได้อย่างไร

คนที่พบปัญหา ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันหัก คนที่สูญเสียฟัน หรือเนื้อฟันจากอุบัติเหตุ รวมไปถึงคนที่ต้องถอนฟันแท้ออก เนื่องจากปัญหาต่างๆ ของสุขภาพฟัน เช่น โรคฟันผุ โรคเหงือก ปริทันต์อักเสบ เป็นต้น



ปรึกษากับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก่อนการทำฟันปลอมจะดีที่สุด เพิ่มเพื่อน

>>กลับไปที่สารบัญ<<

รู้หรือไม่? ประกันสังคมเบิกค่ารักษาฟันปลอมได้นะ

สิทธิขูดหินปูน ประกันสังคม
ฟันปลอม ประกันสังคม

นอกเหนือจากสิทธิทำฟัน ประกันสังคม ในการขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว ประกันสังคมยังให้สิทธิผู้ประกันตนในการเบิกค่ารักษา ฟันปลอม ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม โดยรายละเอียดของฟันปลอม จะแยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  • ฟันปลอมจำนวน 1-5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
  • ฟันปลอมจำนวน 5 ซี่ เบิกได้เท่ากับที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท
  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม
  • ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก บนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ในระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอม

อ่านเพิ่มเติม : เรื่องน่ารู้ ทำฟันด้วยการใช้ประกันสังคม (คลิก)

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับฟันปลอม ประกันสังคม
@bidcdental

>>กลับไปที่สารบัญ<<

สรุป


รอยยิ้มที่สวยงามเป็นการสร้างเสริมบุคลิกภาพ และเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเองอย่างหนึ่งในการทำสิ่งต่างๆ การทำฟันปลอมไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว ไม่ว่าคุณจะมีฟันผุ ฟันหัก ฟันแตก ฟันบิ่น หรือเกิดเหตุไม่คาดคิดทำให้เกิดการสูญเสียฟันอย่างถาวร อย่าได้กังวลใจไป เราแนะนำให้มาพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเรามากที่สุด

สำหรับท่านใดที่สนใจทำฟันปลอม สามารถติดต่อสอบถามที่ Line official ( เพิ่มเพื่อน ) ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC เป็นคลินิกทันตกรรมที่ทันสมัยพร้อมทั้งได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 และมาตรฐาน Joint Commission International (JCI) จากประเทศสหรัฐอเมริกา อีกทั้งเรามีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และทีมงานที่เป็นมืออาชีพพร้อมดูแลสุขภาพช่องปาก และฟันของท่านให้มีฟันที่แข็งแรง พร้อมกับรอยยิ้มที่สวยงามได้ยิ้มอย่างมั่นใจ


BIDC เราเปิดให้บริการทุกวัน ดูแลทุกท่านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“ปรึกษาเรื่องฟันปลอม แอดไลน์คลินิกไว้ได้เลยค่ะ”

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental