หากเรามีการสูญเสียฟันแท้ไปถาวร ทางออกที่ดีที่สุดจะเป็นการทำรากฟันเทียม เพื่อทดแทนฟันแท้ และในแต่ละบุคคลก็จะมีวิธีการ รายละเอียดในการรักษาที่แตกต่างกันไป แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ กระดูกฟัน ความแข็งแรง การสลายของกระดูก ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยหลักของการฝังรากฟันเทียม
เพราะกระดูกฟันของแต่ละคนอาจจะมีความสูง ความหนา หรือ มีพื้นที่ไม่เพียงพอในการรักษาแทนฟันด้วยรากเทียม ทำให้ต้องมีการปลูกกระดูกฟันก่อนนั้นเอง แล้ววิธีการเสริมกระดูกฟันจะมีขั้นตอนการรักษา และดูแลฟันหลังปลูกอย่างไรบ้างนั้น ศูนย์ทันตกรรม BIDC เรามีข้อมูลมาแชร์ให้ทุกท่านทราบค่ะ
สารบัญเกี่ยวกับการปลูกกระดูกฟัน [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
ปลูกกระดูกฟัน คืออะไร
การปลูกกระดูกฟัน (Bone Graft) คือ การเสริม การเติมกระดูกบริเวณขากรรไกรให้แข็งแรง เพื่อเตรียมการฝังรากฟันเทียม โดยปกติแล้วการสลายของกระดูกเกิดขึ้นกับวัย ทำให้เมื่ออายุมากขึ้นปริมาณกระดูกก็จะลดลงจนกระดูกบาง หรือหากเกิดการถอนหรือสูญเสียฟัน เมื่อปล่อยไว้นานกระดูกรอบตัวฟันเกิดการสลายได้ แล้วจำเป็นไหมที่ต้องปลูกกระดูกฟันก่อนฝังรากเทียม?
ทำไมต้องปลูกกระดูกฟัน ก่อนฝังรากเทียม?
การปลูกกระดูกฟัน เป็นการเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกบริเวณขากรรไกรให้มีปริมาณกระดูกที่เพียงพอที่จะรองรับการฝังรากฟันเทียม เพราะการแทนฟันแท้ด้วยรากฟันเทียมนั้น รากเทียมจะต้องยึดแน่นกับกระดูกขากรรไกร เข้ากับเหงือกและฟัน หากกระดูกขากรรไกรไม่แข็งแรง หรือบางเกินไป จะทำให้รากฟันเทียมไม่สามารถยึดเข้ากับขากรรไกรได้ อาจทำให้รากฟันเทียมเลื่อนหลุด หรือ โยกออกได้
*หากผู้ที่มีปริมาณกระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอ ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษารากฟันเทียมจะแนะนำให้ทำการปลูกกระดูกฟันก่อนทำการรักษา
อ่านเพิ่มเติม : การเสริมกระดูก ปลูกถ่ายกระดูกฟัน (คลิก)
ประเภทของกระดูกฟัน ที่นำมาปลูกถ่าย มีอะไรบ้าง?
กระดูกฟันที่นำมาปลูกทดแทนจะมีทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่
- กระดูกสังเคราะห์ ( Alloplast ) : ซึ่งทำจากวัสดุสังเคราะห์ เช่น แคลเซียม ฟอสเฟต เซรามิก เป็นต้น
- กระดูกจากสิ่งมีชีวิต ( XenoGrafts ) : หรือกระดูกสัตว์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่สะอาดปลอดเชื้อ จึงทำให้ราคาของกระดูกชนิดนี้สูง
- กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง ( Autografts ) : ซึ่งกระดูกของเราเป็นกระดูกที่นำมาใช้แล้วดีที่สุด
- กระดูกจากผู้บริจาคอวัยวะ ( Allografts ) : เป็นเซลล์กระดูกที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะต่อต้านจนทำให้กระดูกไม่ติดค่อนข้างต่ำ
ภาพการรักษาปลูกกระดูกฟันจากคนไข้ ก่อนฝังรากฟันเทียมที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC [ ดูคลิปการรักษาที่นี่ ]
วิธีการปลูกกระดูกฟัน ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
วิธีการปลูกกระดูกฟันก่อนการฝังรากเทียม ในปัจจุบันมีหลายวิธีที่ได้รับความนิยม ได้แก่
การปลูกถ่ายกระดูกเบ้าฟัน ทำในกรณีที่กระดูกฟันแคบหรือความกว้างของกระดูกเบ้าฟันไม่เพียงพอที่จะฝังรากเทียม และเป็นการป้องกันไม่ให้กระดูกขากรรไกรด้านบน และล่างเสื่อม วิธีนี้ทำได้กับการฝังรากเทียมภายหลังการถอนฟัน เพื่อลดความเจ็บปวด
การปลูกถ่ายกระดูกสันขากรรไกร เป็นการเพิ่มพื้นที่ความยาวของกระดูกขากรรไกร เพื่อรองรับการฝังรากเทียม นิยมใช้กับกระดูกที่ได้จากผู้บริจาคอวัยวะ
การปลูกถ่ายกระดูกแบบชิ้น เป็นการเพิ่มขนาดความหนาหรือปริมาณกระดูก โดยใช้กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง ส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 – 6 เดือน ก่อนการฝังรากเทียม
การปลูกถ่ายกระดูกในไซนัส เป็นการปลูกกระดูกบริเวณฟันหลังบนเชื่อมโยงกับโพรงไซนัส หรือโพรงอากาศข้างจมูก เหมาะกับกรณีที่ไซนัสย้อยลงจนทำให้กระดูกในฟันหลังบนสูงไม่พอที่จะฝังรากฟันเทียม การปลูกกระดูกแบบนี้ทำเพื่อให้กระดูกสูงขึ้น และป้องกันไม่ให้รากเทียมหลุดเข้าไปในไซนัส
การปลูกกระดูก ปลูกเหงือก
สิ่งสำคัญที่ถูกมองข้าม?!
โดย ผศ.นพ.ทพ.ดร.บวร คลองน้อย
ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านรากฟันเทียม ประจำศูนย์ทันตกรรม BIDC
ดูข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ : ทีมทันตแพทย์ ผู้ให้การรักษาทันตกรรม BIDC (คลิก)
ขั้นตอนการปลูกระดูกฟัน ก่อนฝังรากเทียม
- ตรวจเช็กช่องปาก เพื่อวางแผนในการรักษา กระดูกที่นำมาปลูกถ่ายนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
- กรณีที่ใช้กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง ทันตแพทย์จะตัดกระดูกของผู้เข้ารับการรักษาจากส่วนอื่นมาปลูกถ่ายบริเวณกระดูกขากรรไกรที่มีปัญหา
- กรณีใช้กระดูกสังเคราะห์ ทันตแพทย์นำกระดูกมาปลูกถ่ายทันที
- หลังจากปลูกกระดูกฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องรอให้กระดูกใหม่สมานกับกระดูกเดิมจนสามารถฝังรากเทียมได้ ระยะเวลา 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกกระดูกฟันด้วย
- เมื่อกระดูกฟันแข็งแรงแล้ว ทันตแพทย์จะฝังรากเทียมลงบนกระดูกขากรรไกร และรอการสมานเชื่อมระหว่างรากฟันเทียมกับกระดูกของผู้ป่วย จากนั้นจะใส่ตัวยึดรากฟันเทียมกับครอบฟันใส่ฟันปลอม
นอกจากการปลูกกระดูกฟันแล้ว ยี่ห้อรากเทียมก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
โดยรากฟันเทียมที่ทาง Bangkok International Dental Center (BIDC) เลือกใช้ ได้แก่
- PI รากฟันเทียม จากประเทศสวีเดน
- SIC รากฟันเทียม จากสวิตเซอร์แลนด์ที่มีนวัตกรรมโดดเด่น ได้รับมาตรฐานสากล
- รากเทียม Straumann จากสวิตเซอร์แลนด์ รากฟันเทียมยอดนิยมที่มีโครงสร้างคล้ายกระดูกจริง มีความแข็งแรง ทนทาน และมีอัตราสำเร็จในการรักษาสูง
อ่านเพิ่มเติม : สูญเสียฟันธรรมชาติ แก้ไขด้วยรากฟันเทียม (คลิก)
วิธีการดูแลรักษาหลังปลูกกระดูกฟัน
- ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้เลือดไหลไม่หยุด และทำให้แผลหายช้า
- ห้ามสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้การรักษาเห็นผลช้า
- งดการออกกำลังกาย ใน 1 – 3 วัน หลังการปลูกกระดูกฟัน
- ระมัดระวังการกระทบกระเทือนในช่องปาก
- ควรรับประทานอาหารเหลว อ่อน งดการดูดน้ำหรืออาหารจากหลอด
อ่านเพิ่มเติม : 7 อาหารและเครื่องดื่มที่ทำร้ายฟัน และรอยยิ้มของคุณ (คลิก)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ โทร. 02 692 4433
สรุป
การปลูกกระดูกฟัน เป็นการช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับช่องปาก เพื่อให้มีพื้นที่ ความสูงของกระดูกที่เพียงพอต่อการปลูกฝังรากฟันเทียม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่ต้องปลูกกระดูกก่อนฝังรากฟันเทียม ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการประเมิน และดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้น ก่อนทำการรักษาแนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทันตกรรมรากฟันเทียมที่จะช่วยวางแผนการรักษา และช่วยแทนฟันใหม่ของเราให้ได้ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลมากที่สุด
ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC มีทันตแพทย์ผู้ให้การรักษารากฟันเทียม & ศัลยแพทย์ช่องปาก ที่พร้อมดูแลตลอดการรักษา รวมถึงเรามีเครื่องมือทันตกรรมที่ทันสมัย บุคลากร ที่ได้การรับรองมาตรฐานคุณภาพการบริการ ISO 9001:2015 และ มาตรฐาน JCI อย่างต่อเนื่อง (ศูนย์ทันตกรรม BIDC ได้รับรองมาตรฐานโลก JCI : 100 คะแนนเต็ม ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ..อ่านต่อ)
BIDC เราเปิดให้บริการทุกวัน ดูแลทุกท่านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“หากมีข้อสงสัยในการปลูกกระดูกฟัน สอบถาม BIDC ได้ที่นี่ค่ะ (คลิก) ”
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่