เลือดออกตามไรฟัน เหงือกมีเลือดออก.. ทำยังไงดี?

เลือดออกตามไรฟัน

อาการเลือดออกตามไรฟัน เป็นอาการที่มีเลือดไหลออกมาจากเหงือกและไรฟัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น เหงือกอักเสบ โรคเหงือก ลักปิดลักเปิด แปรงฟันแรงเกินไป ใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี เครื่องมือจัดฟันรัดแน่นเกินไป หรืออาจเป็นอาการแสดงของปัญหาสุขภาพอื่นๆ โดยอาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการเหงือกบวม หรือปวดตามเหงือก และไรฟัน เราควรมั่นสังเกตอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเหงือกและฟัน เพื่อที่จะสามารถป้องกัน และรักษาปัญหาสุขภาพฟัน ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

สารบัญความรู้เกี่ยวกับเลือดออกตามไรฟัน [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

สาเหตุของเลือดออกตามไรฟัน

เลือดออกตามไรฟัน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • การก่อตัวของคราบพลัคตามแนวเหงือก ซึ่งอาจทำให้เหงือกอักเสบ จนเหงือกบวมและมีเลือดออกตามไรฟันได้
  • การติดเชื้อภายในเหงือกหรือฟัน เช่น โรคปริทันต์* ซึ่งเกิดจากเหงือกอักเสบอย่างเรื้อรังและพัฒนาความรุนแรงมากขึ้นจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • การขาดสารอาหารจำพวกวิตามินซี และวิตามินเค โดยเฉพาะการขาดวิตามินซี อาจทำให้เป็นโรคลักปิดลักเปิดที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และมีเลือดออกตามไรฟันได้ง่าย
  • แปรงฟันแรงเกินไป หรือใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี

อ่านเพิ่มเติม :

  • ใส่ฟันปลอมหรือเครื่องมือจัดฟันที่หลวม ไม่พอดีกับฟัน
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในระหว่างที่ตั้งครรภ์
  • มีปัญหาสุขภาพเป็นภาวะเลือดออกผิดปกติ ขาดเกล็ดเลือดหรือขาดโปรตีนที่ช่วยทำให้เลือดแข็งตัว เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
  • ป่วยด้วยโรคลูคีเมีย ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง
  • ใช้ยารักษากลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน เฮพาริน
  • เกล็ดเลือดต่ำ โดยโรคที่มักมีความเสี่ยงทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ได้แก่ ไข้เลือดออก ไขกระดูกฝ่อ เป็นต้น

การมีเลือดออกตามไรฟัน เป็นสัญญาณของ…??

  • ปัญหาโรคเหงือกอักเสบ
  • เนื้อเยื่อเสียหายอย่างถาวรและสูญเสียฟันในตำแหน่งนั้นได้

ดังนั้นควรรีบพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจรักษาอาการก่อนที่จะสายเกินไป

ฟันด่าง ฟันเหลือง

ปรึกษาปัญหาเรื่องฟันฟรี!

ศัลยกรรมช่องปาก

วิธีสังเกตอาการเลือดออกตามไรฟัน

  • แปรงฟันแล้วมีเลือดติดอยู่บริเวณขอบแปรง
  • บ้วนปากแล้วมีเลือดออกมา
  • เหงือกบวมแดง

การรักษาเลือดออกตามไรฟัน

เหงือกเลือดออก

การจัดการกับอาการเลือดออกที่เหงือกควรไปพบทันตแพทย์ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อทำความสะอาดช่องปาก ซึ่งทันตแพทย์จะแจ้งให้ทราบหากมีโรคเหงือกอักเสบ และสอนวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธี การแปรงฟันที่เหมาะสม และการใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำจะสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์จากแนวเหงือกได้ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคปริทันต์

ทันตแพทย์อาจแสดงวิธีการใช้น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อลดคราบจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นในปากของคุณ และล้างด้วยน้ำอุ่นผสมเกลือสามารถช่วยบรรเทาเหงือกบวมที่มีเลือดออกได้ การใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม จะอ่อนโยนต่อเหงือกที่กำลังอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีเลือดออกหลังจากแปรงฟัน ขนแปรงขนาดกลาง และแข็งอาจไม่เหมาะกับเหงือกที่มีความบอบบาง คุณอาจลองใช้แปรงสีฟันไฟฟ้าหัวแปรงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษบนแปรงสีฟันเหล่านี้สามารถช่วยคุณทำความสะอาดเหงือกได้ง่ายกว่าแปรงสีฟันธรรมดา (เลือกแปรงสีฟันยังไงดี อ่านต่อ)

การป้องกันอาการเลือดออกตามไรฟัน

ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่จะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะเลือดออกตามไรฟัน เช่น การใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม หรืออาจใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ใช้น้ำยาบ้วนปาก ให้ความสำคัญกับการดูแลช่องปากให้มากขึ้น  ทานวิตามินเสริมหากร่างกายขาดวิตามิน ซี บี เค 

การกำหนดเวลาในการนัดหมายกับผู้ให้บริการทางทันตกรรมของคุณเพื่อตรวจสอบว่าสุขภาพฟันเป็นปัญหาพื้นฐานที่ทำให้เหงือกมีเลือดออกหรือไม่ การตรวจร่างกายและตรวจเลือดสามารถช่วยระบุสาเหตุของการมีเลือดออกตามไรฟันได้ การรักษาจะแตกต่างกันไปตามสภาพรางกายและผลจากการตรวจสุขภาพของคุณ

ทำไมต้องใช้ “ไหมขัดฟัน”

A title

Image Box text

  • กินผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
  • แปรงฟันให้ทั่วทั้งช่องปากและซอกฟัน
  • ใช้ไหมขัดฟันในบริเวณที่ขนแปรงทำความสะอาดไม่ถึงและบริเวณซอกฟันทุกชี่
  • ใช้แปรงสีฟันที่มีขนนุ่มและเปลี่ยนทุก 2 – 4 เดือน

สรุป

ในการรักษาเลือดออกตามไรฟันเบื้องต้นควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของโรคก่อน แล้วจึงจะทำการรักษาได้ตรงจุด โดยทันตแพทย์จะแนะนำขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสมให้กับเรา ได้แก่ สอนวิธีการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี ..(คลิกอ่าน) การเลือกใช้แปรงสีฟันที่มีเนื้อแปรงขนนุ่ม ..(คลิกอ่าน) การใช้น้ำยาบ้วนปากสูตรฆ่าเชื้อ และการขูดหินน้ำลาย ..(คลิกอ่าน) เพื่อกำจัดต้นตอของเชื้อโรคที่ไม่สามารถเอาออกได้ด้วยการแปรงฟันโดยปกติ

ใกล้หมอฟันกว่าเดิม ปรึกษาทันตแพทย์ออนไลน์ ที่นี่

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา BIDC คลินิกจัดฟัน รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental