หลายคนคิดว่า ต้องแปรงฟันแรง ๆ จึงจะสะอาด … หรือ หลายคนคิดว่า การแปรงฟันแบบถูไป ๆ มา ๆ จะสะอาดได้ดี … แต่แท้จริงแล้ววิธีการเหล่านี้ก่อให้เกิดผลเสีย เพราะว่าการแปรงฟันแรง ๆ การแปรงฟันแบบถูไป ๆ มา ๆ การใช้แปรงสีฟันแข็ง จะทำให้เกิดการทำลายเนื้อฟัน โดยเฉพาะบริเวณคอฟันได้ เรียกว่า “ฟันสึก” มีการพบบ่อยที่ฟันกรามน้อย และฟันเขี้ยว เพราะเป็นตำแหน่งที่สัมผัสกับแปรงสีฟันได้ง่าย
การรักษาความสะอาดช่องปาก และฟันจึงควรทำแบบพอดีไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไปนะคะ วันนี้ศูนย์ทันตกรรม BIDC จะพาทุกคนมาหาคำตอบกันค่ะ ว่า “คอฟันสึก” คืออะไร สาเหตุมาจากอะไร สามารถรักษาได้หรือไม่ และต้องป้องกันอย่างไร
สารบัญความรู้เกี่ยวกับ “คอฟันสึก” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
คอฟันสึก คืออะไร
Abfraction หรือ คอฟันสึก คือ ภาวะผิดปกติทางฟันชนิดหนึ่งที่ส่งผลให้คอฟันหรือฟันส่วนที่อยู่ติดกับเหงือกเกิดการกร่อนหรือสูญเสียเนื้อฟันไปบางส่วน โดยเฉพาะผิวฟันด้านที่อยู่ติดกับกระพุ้งแก้มส่วนใหญ่แล้วภาวะคอฟันสึกมักไม่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงใด ๆ ยกเว้นบางกรณีที่อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟัน
ขณะรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ร้อนหรือเย็นจัด คอฟันสึกเป็นภาวะที่มักพบได้ในคนที่มีอายุระหว่าง 20 – 70 ปี แต่จะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยช่วงแรกที่มีภาวะคอฟันสึกเล็กน้อยมักจะไม่พบอาการผิดปกติ แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
ภาวะคอฟันสึกอาจส่งผลให้เกิดปัญหาอื่นเกี่ยวกับฟันตามมา ทั้งการสูญเสียผิวฟันและชั้นเคลือบฟัน ความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ ไปจนถึงการเกิดภาวะฟันโยก และการสูญเสียฟันได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : Abfraction: Symptoms, Causes, and How to Treat (คลิกอ่าน)
สาเหตุการเกิดคอฟันสึกมีอะไรบ้าง
คอฟันสึกเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- การแปรงฟันที่ผิดวิธี โดยทั่วไปมักแปรงด้านหน้าฟันแบบถูไปมาแรง ๆ ตามแนวนอน จึงเป็นการทำลายคอฟันและเหงือกโดยไม่รู้ตัว วิธีที่ถูกต้องคือ ฟันล่างให้ปัดแปรงขึ้น ฟันบนให้ปัดแปรงลง สวนทางกัน
- การใช้แปรงฟันที่มีขนแปรงแข็ง เพราะเชื่อว่าแปรงสีฟันที่ดีต้องมีขนแปรงแข็ง จึงจะทำให้แปรงฟันได้สะอาด และยังใช้ได้นาน ๆ ไม่ต้องเปลี่ยนแปรงบ่อย ๆ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะการทำความสะอาดฟันนั้นไม่จำเป็นต้องขัดหรือออกแรงเหมือนขัดภาชนะหรือพื้น
- รับประทานอาหารที่มีความเป็นกรดสูง เช่น อาหารที่มีรสเปรี้ยว น้ำผลไม้ หรือน้ำอัดลม
- การขบเคี้ยวของแข็ง ๆ เช่น กระดูกไก่ ขบผลไม้และถั่วที่มีเปลือกแข็ง หรือชอบขบเคี้ยวประเภทมะขาม มะม่วง ของดองต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ด้านบดเคี้ยวของกรามสึกได้
- การนอนกัดฟัน คนที่นอนกัดฟันจนเป็นนิสัย มักจะมีฟันกรามสึก
นอกจากสาเหตุข้างต้น ในบางกรณีภาวะคอฟันสึกอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุได้เช่นกัน
ภาวะคอฟันสึกรักษาได้หรือไม่
โดยทั่วไป ผู้ป่วยภาวะคอฟันสึกที่ไม่รุนแรงหรือคอฟันเกิดการสึกเพียงเล็กน้อย ทันตแพทย์มักนัดผู้ป่วยมาตรวจฟันเป็นระยะ ๆ เพื่อติดตามอาการเท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องทำการรักษาใด ๆ
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือทันตแพทย์เห็นว่าควรได้รับการรักษา ทันตแพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ สาเหตุ และความเหมาะสมต่อผู้ป่วย โดยวิธีที่ทันตแพทย์อาจพิจารณาใช้ในการรักษา เช่น
- การรักษาด้วยการอุดฟัน โดยเฉพาะกรณีที่ทันตแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยมีอาการเสียวฟัน หรือทำความสะอาดลำบาก
- การใส่เฝือกสบฟันสำหรับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมนอนกัดฟัน
- การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารโพแทสเซียมไนเตรท (Potassium Nitrate) หรือสารซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ (Silver Diamine Fluoride) เพื่อช่วยบรรเทาอาการเสียวฟัน
- การจัดฟันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติ
- การรักษารากฟันร่วมกับการอุดฟัน หรือครอบฟัน เพื่อบรรเทาอาการปวดฟันในกรณีที่คอฟันสึกถึงโพรงประสาทฟัน
นอกจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ทันตแพทย์ยังอาจแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างร่วมด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการแปรงฟันที่รุนแรงเกินไป เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ใช้เจลลดอาการเสียวฟัน รวมถึงแนะนำให้ผู้ป่วยมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเป็นระยะ
ทั้งนี้ แม้วิธีการรักษาบางอย่างอาจจะช่วยบรรเทาภาวะคอฟันสึก และอาการเสียวฟันที่เกิดขึ้นได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักไม่สามารถช่วยรักษาสภาพฟันที่เกิดการกร่อนหรือการสูญเสียเนื้อฟันบางส่วนให้กลับไปเป็นอย่างเดิมได้
ข้อมูลเพิ่มเติม : บริการทางทันตกรรมแบบครบวงจร ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิกอ่าน)
ลักษณะคอฟันสึกแบบไหน ที่ควรเข้ารับการรักษา
- มีอาการเสียวฟัน ขณะรับประทานอาหารเย็น หวาน หรือขณะแปรงฟัน
- ขาดความสวยงาม เนื่องจากสีและรูปร่างฟันผิดไปจากปกติ
- รอยสึกของฟันค่อนข้างลึก
- มักมีเศษอาหารติดบริเวณรอยสึกเป็นประจำ
วิธีการป้องกันฟันสึกมีอะไรบ้าง
- แปรงฟันด้วยแปรงขนอ่อน แทนขนแปรงแข็งปานกลาง แปรงให้ถูกวิธี แปรงเบาๆ และใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ นาน 2 – 3 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดการสึกของฟัน (อาหารที่มีความเป็นกรดสูง) ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารดังกล่าว เพื่อลดความเป็นกรดในช่องปาก และไม่ควรแปรงฟันทันที เนื่องจากผิวฟันจะมีสภาพอ่อนนุ่มเป็นผลให้ฟันมีการสึกมากขึ้น
- ใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีโพแทสเซียมหรือสตรอนเทียม เพื่อลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันที่ช่วยลดเสียวฟันมักจะมี คำว่า ‘sensitive’ = เซนซิทีฟ หรือไวต่อความรู้สึกพิมพ์อยู่ในฉลาก
- ใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงซอกฟัน ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันเป็นประจำ ..อ่านต่อ
- ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ทุกๆ 6 – 12 เดือน
การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอจึงเป็นวิธีการป้องกันคอฟันสึก และปัญหาทางช่องปากที่ดีที่สุด เช่น การแปรงฟันให้ถูกวิธี การเลือกแปรงให้เหมาะสม การใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนผสมเพื่อป้องกันการเกิดฟันผุ ควรหมั่นดูแลสุขภาพปาก และฟันเป็นประจำ
เมื่อเกิดอาการผิดปกติอย่ารีรอที่จะพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องและรักษาต่อไป เพื่อการเป็นเจ้าของรอยยิ้มที่สดใส และฟันที่แข็งแรงสำหรับบดเคี้ยวอาหารจานโปรดอย่างมีความสุขไปนาน ๆ
ปรึกษาปัญหาสุขภาพฟันที่นี่
สรุป
หากคุณคิดว่าคุณกำลังประสบกับปัญหาคอฟันสึก ให้ไปปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อตรวจดูฟันของคุณทั้งหมด และควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำตามกำหนด หรือทุก ๆ 6 เดือน
อย่าลืมแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และขัดฟันทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก และฟัน เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ที่ช่วยลดปัญหาฟันสึก เพราะการแปรงฟันและบ้วนปากเป็นประจำจะช่วยกำจัดเศษอาหารที่เกาะบริเวณฟันออกไป
การดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่เพียงทำให้เหงือกและฟันของคุณแข็งแรงเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความมั่นใจให้คุณได้ด้วยรอยยิ้มที่สวยงาม และลมหายใจที่สะอาดอีกด้วย
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่