การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร? นั่นก็คือการผ่าตัด หรือ ศัลยกรรมกระดูกขากรรไกรบนใบหน้า โดยมีการร่วมกับการจัดฟัน ซึ่งการผ่าตัดขากรรไกรนั้น อาจจะผ่าตัดขากรรไกรเดียว (1-jaw) หรือ สองขากรรไกร(2-jaw) ก็ได้ ขึ้นกลับลักษณะความผิดปกติของขากรรไกร โดย ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการจะทำการขยับเคลื่อนกระดูกขากรรไกร ตามแผนการรักษา เพื่อให้มีใบหน้าที่สวยงาม และการสบฟันที่ดีขึ้น
การจัดฟันผ่าตัดขากรรไกร เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเรื่องของการสบฟัน ปัญหา คางยื่น หน้าเบี้ยว คางเบี้ยว ฟันล่างยื่นคร่อมฟันบน หรือ ฟันบนคร่อมฟันล่าง ส่งผลไปถึงเรื่องการบดเคี้ยว การสบฟัน การออกเสียง และแน่นอน เรื่องบุคลิกภาพและ เรื่องความสวยงาม กลายเป็นปมด้อยที่มักถูกล้อเลียน สร้างความทุกข์ใจ ซึ่งจริงๆแล้วสามารถดูแลแก้ไขได้ จากทีมทันตแพทย์สาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ที่เชี่ยวชาญด้าน ผ่าตัดขากรรไกร ร่วมกับคุณหมอจัดฟันที่มีประสบการณ์ทำเคสแบบนี้โดยเฉพาะ
สิ่งควรรู้ก่อนจัดฟัน ร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร มีกี่แบบ
- ข้อดีของการรักษาแบบผ่าตัดก่อนจัดฟัน
- ข้อจำกัดของการรักษาแบบผ่าตัดก่อนจัดฟัน
- ราคาจัดฟันผ่าตัดขากรรไกร
- ภาพก่อนและหลังผ่าตัดขากรรไกร
- รีวิวก่อนและหลังผ่าตัดขากรรไกรช่วง 3เดือน
- รายชื่อทีมแพทย์และทันตแพทย์
- คำแนะนำหลังการจัดฟันผ่าตัดขากรรไกร
จัดฟันผ่าตัดขากรรไกร ราคา
สอบถามรายละเอียดโปรแกรมผ่อนชำระ พร้อมส่วนลดและสิทธิพิเศษมากมายได้ที่
รายละเอียดเพิ่มเติมการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร มีกี่แบบ
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร มี 2 แบบ คือ
1. แบบดั้งเดิม (Conventional approach) คือการจัดฟันก่อน โดยช่วงนี้ มักใช้ระยะเวลาประมาณ18 เดือน จากนั้นจึงผ่าตัดขากรรไกร และจัดฟันต่อหลังจากผ่าตัดขากรรไกร ต่ออีกประมาณ6 เดือน ( จัดฟัน->ผ่าตัด->จัดฟัน )
2. แบบผ่าตัดก่อนจัดฟัน (Surgery-first approach) วิธีนี้เป็นรูปแบบการรักษาที่เริ่มนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากวิธีดั้งเดิม มีข้อจำกัดในเรื่องระยะเวลาการรักษาที่ค่อนข้างนาน และ ในบางระยะของการรักษาผู้ป่วย(ก่อนผ่าตัดขากรรไกร) คนไข้จะมีการสบฟัน และใบหน้าที่ดูผิดปกติรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ของคนไข้
จัดฟันแบบโลหะ
ปัจจุบันผู้เข้ารับการ จัดฟัน สามารถสนุกกับการเลือกสีของยางที่ใช้ในการจัดฟันได้ ซึ่งหมอจัดฟันจะมีให้เลือกหลากหลายสี
จัดฟันแบบสีเหมือนฟัน
การจัดฟัน ประเภทนี้จะใช้วัสดุที่มีสีเหมือนฟันแทนการใช้โลหะ ซึ่งช่วยลดความสะดุดตาในการจัดฟัน หรือสังเกตุเห็นได้ยาก
จัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เจ็บไหม
ก็ต้องบอกตามตรงว่าเจ็บ แต่อาการเจ็บมากน้อยก็จะแตกต่างกันออก ไป เนื่องจากความอดทนต่อความเจ็บปวดของแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน ดังนั้นบางท่านจะบอกว่าเจ็บมาก บางท่านจะบอกว่าเจ็บนิดเดียว แต่เนื่องจากการรักษาเป็นการผ่าตัดแบบการดมยาสลบ ระหว่างการผ่าตัดคนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บปวด และศัลแพทย์จะมีการให้ยาระงับปวดระหว่างทำการผ่าตัด และให้ยาแก้ปวดผ่านทางสายน้ำเกลือหรือแบบฉีด เพื่อระงับการปวดหลังผ่าตัดด้วย เมื่อกลับบ้านก็จะมีการจ่ายยาแก้ปวดให้หลังการรักษา หากรู้สึกปวดจึงสามารถรับประทานยาแก้อาการปวดได้
อาการหลังจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- หลังการผ่าตัดจะทำให้เกิดการปวดและบวมได้ ซึ่งเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะจะบวมมากในช่วง 3 วันแรก และจะดีขึ้นหลังผ่านไป 1 – 2 สัปดาห์ สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์จ่ายให้เมื่อได้รับอนุญาตให้กลับบ้าน
- อาการชาหลังผ่าตัดเป็นสิ่งปกติ การผ่าตัดขากรรไกรบนสามารถทำให้ริมฝีปากบน แก้ม และปีกจมูกชาได้ การผ่าตัดขากรรไกรล่างสามารถทำให้ริมฝีปากล่าง คาง หรือลิ้นชาได้ อาการชาจะค่อยๆ ดีขึ้น
- หลังผ่าตัดอาจต้องห้ามเคี้ยวอาหาร 2-3 เดือน เพราะต้องรอให้กระดูกที่ทำการผ่าตัดหายได้ดีในระดับนึง ก่อน รวมถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรม หรือกีฬาที่มีการปะทะแรงๆ
- คนไข้สามารถออกกำลังกายเบาๆ ได้เช่น การเดิน ยืด หลังจากผ่าตัดไปแล้ว 2-3 สัปดาห์
ข้อดีของการรักษาแบบผ่าตัดก่อนจัดฟัน
- ลดระยะเวลาการรักษาได้ประมาณ12-18เดือน เนื่องจากไม่มีระยะเวลาจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร
- แก้ไขความผิดปกติของใบหน้าและขากรรไกรได้ตั้งแต่เริ่มแรกของการรักษา รวมถึงไม่มีระยะที่ทำให้ใบหน้าหรือการสบฟันที่ผิดปกติรุนแรงกว่าเดิม
- การจัดฟันสามารถเคลื่อนฟันได้ไวขึ้น ภายหลังจากการผ่าตัด (Regional accerlatory phenomenon)
- หากมีการคืนตัวกลับของกระดูกขากรรไกรจากการผ่าตัด สามารถแก้ไขในระหว่างการรักษาจัดฟัน
ข้อจำกัด และข้อควรทราบเกี่ยวกับการรักษาโดยการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- ต้องมีข้อมูลผู้ป่วย ครบถ้วน เพื่อการรักษาที่แม่นยำ และวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง
- อาศัยความชำนาญของหมอผ่าตัดขากรรไกรและหมอจัดฟันอย่างสูง
- ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วย มาพบแพทย์ตามนัดต่อเนื่องและรักษาดูแลความสะอาดในช่องปากอย่างดี
- หากมีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร (TMDs) เช่นมีเสียง “คลิ๊ก” ที่หน้าหู เวลาอ้าปาก-หุบปาก อาจจำเป็นต้องรับการรักษาข้อต่อขากรรไกรก่อน
- ผู้ป่วยควรมีอายุ มากกว่า18 ปี และหมดการเจริญเติบโตของกระดูกขากรรไกรแล้ว
- การรักษานี้ เป็นการรักษาเฉพาะบุคคล ซึ่งอาจได้รับผลการรักษาที่แตกต่างกัน
- ความเสี่ยง ผลข้างเคียงภายหลังจากการผ่าตัด คือมีอาการบวม หรือฟกช้ำในช่วง 3 วันแรกหลังจากการผ่าตัด หรืออ้าปากได้จำกัด และมีอาการชาบริเวณแก้มหรือคาง ซึ่งอาจต้องปรึกษากับหมอผู้ทำการผ่าตัดก่อน
คำแนะนำการปฏิบัติตน หลังการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
- การรับประทานยา ควรรับประทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด/ครบถ้วน ห้ามหยุดยา/เพิ่มหรือลด ขนาดยาเองโดยเด็ดขาด
- การรับประทานน้ำและอาหาร ควรรับประทานอาหารเหลวใสในช่วงสัปดาห์แรกของการผ่าตัดหรืออาหารปั่น เพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของบาดแผลในช่องปาก ไม่ควรเคี้ยวอาหารเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน หรือตามทันตแพทย์แนะนำ เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 2 สามารถเริ่มรับประทานอาหารอ่อนนิ่มได้ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ตุ๋น และสามารถรับประทานอาหารปกติได้เมื่อผ่าตัดไปแล้ว 3 เดือน
- การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน สามารถทำได้ตามปกติ 1 – 2 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้แรงหนัก เช่น ยกของ วิ่ง เนื่องจากร่างกายมีการสูญเสียเลือด หลังจากสัปดาห์ที่ 2 สามารถออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน ยืดเหยียดกล้ามเนื้อได้ หลังสัปดาห์ที่ 12 สามารถออกกำลังกายแบบ แอโรบิค วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ได้ ควรหลีกลี่ยง กีฬาที่มีการปะทะ เช่น บาสเกตบอล ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล หรือ กีฬาโลดโผน
- การนอนหลับ ควรนอนศีรษะสูง 30 องศา ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้ยุบบวมเร็วขึ้น
- อาจรู้สึกว่ายังมีไหมเย็บอยู่ในช่องปาก ซึ่งไหมดังกล่าวทันตแพทย์จะนัดมาตัดไหม 2 สัปดาห์ หลังผ่าตัด
- การประคบเย็น ควรประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมประมาณ 3 – 4 วันแรก หลังผ่าตัด หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นประคบร้อน/อุ่น ต่อเนื่องอีก 2 – 3 วัน หรือตามคำแนะนำของทันตแพทย์
- การรักษาความสะอาด ควรรักษาความสะอาดในช่องปากอยู่เสมอโดยการบ้วนปากและเริ่มแปรงฟันได้หลังผ่าตัดวันที่ 2 โดยใช้แปรงสีฟันขนาดเล็กขนนิ่มของเด็กและควรแปรงอย่างนุ่มนวล ระมัดระวัง อาจใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ควรหลีกเลี่ยงการขากเสมหะแรงๆ การล้วงเข้าไปในช่องปาก ห้ามเขี่ยแผลเล่น เพราะอาจทำให้แผลเปิดและฉีกขาด มีเลือดออกจากแผลในช่องปากได้ หากมีเลือดออกในช่องปากให้นอนยกศรีษะสูง ประคบเย็นด้วยน้ำแข็งหรือ Cold Pack บริเวณขากรรไกรและคอ
- การสังเกตภาวะแทรกซ้อน หากมีอาการรุนแรงควรมาพบทันตแพทย์ก่อนวันนัดหมายได้
- Eric J.W.Liou (2011). Surgery-First Accelerated Orthognathic Surgery: Orthodontic Guidelines and Setup for Model Surgery
- Eric J.W.Liou (2011). Surgery-First Accelerated Orthognathic Surgery: Postoperative Rapid Orthodontic Tooth Movement
- Jeong Hwan Kim, NiloufarNouriMahdavie and Carla A. Evans (2012). Guidelines for “Surgery First”Orthodontic Treatment, Orthodontics – Basic Aspects and Clinical Considerations, Prof. FaridBourzgui (Ed.):265-300
- Johan P.Reyneke. Orthognathic surgery . 2nd ed. Canada: Quintessence Publishing ; 2010
- คณะทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โดย ทพ.ณัฐพงษ์ อุดมลาภธรรม
ติดต่อเรา BIDC คลินิกจัดฟัน รัชดาภิเษก
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental