เด็กทุกคนต้องมีฟันน้ำนมซึ่งเป็นฟันชุดแรกของชีวิต การดูแลฟันไม่ว่าจะเป็น ฟันแท้ หรือ ฟันน้ำนม คุณพ่อ-คุณแม่ ผู้ปกครอง ควรให้ความสำคัญกับฟันของเด็ก ๆ ไม่ควรละเลย เพราะถ้าไม่ได้ดูแลฟันน้ำนมให้ดีก็อาจจะส่งผลกระทบหรือปัญหาตามมาในระยะยาวได้ เพราะฟันน้ำนมก็ต้องการการดูแลรักษา เหมือนกับฟันแท้ของผู้ใหญ่เช่นกัน
สารบัญความรู้เกี่ยวกับ “ฟันน้ำนม” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
มาทำความรู้จักกับ ฟันน้ำนม กันเถอะ
A title
Image Box text
ฟันน้ำนม คือ ฟันที่ซ่อนอยู่ใต้เหงือก และจะเริ่มขึ้นเมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน โดยจะเริ่มปรากฏขึ้นทีละซี่ และฟันน้ำนมนี้จะอยู่กับเด็กจนอายุประมาณ 6 – 7 ปี จากนั้นฟันน้ำนมก็จะค่อย ๆ หลุดไป และมีฟันชุดใหม่ขึ้นมาแทนที่นั้นก็ คือ ฟันแท้ ซึ่งฟันแท้เป็นฟันที่อยู่ใต้กระดูกขากรรไกรดันตัวขึ้นมานั่นเอง
ความสำคัญ ของฟันน้ำนม
ฟันน้ำนมนั้นมีความสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้เด็กๆ พูดออกเสียงได้อย่างชัดเจน แต่ถ้าหากมีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด ฟันแท้ที่อยู่ข้างล่างจะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ทำให้ฟันแท้ที่ขึ้นมานั้นเกิดการซ้อนหรือเกได้ หรืออาจทำให้ฟันแท้ไม่สามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ควรเช็คสุขภาพช่องปากและฟัน เมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้น เพราะฟันน้ำนมมีโอกาสที่จะผุได้มากกว่าฟันแท้
ทันตแพทย์จะมีวิธีการดูแลรักษา และการปฏิบัติตัวที่มีความเหมาะสมให้ทั้งพ่อ แม่ ผู้ปกครอง และเด็กๆ เอง เพื่อที่จะได้มีสุขภาพช่องปาก และฟันที่ดีเมื่อมีอายุมากขึ้น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ไม่ควรละเลยความสะอาดของช่องปาก และฟันของเด็ก ๆ ควรปลูกฝังให้ลูกใส่ใจ ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟัน ตั้งแต่เด็กอาจจะเริ่มจากการเลือกแปรงสีฟันที่มีขนาดพอเหมาะกับช่องปาก ยาสีฟันที่มีรสชาติที่ถูกใจ เพื่อที่เด็กๆ จะได้มีความสุข และชื่นชอบการแปรงฟัน
เคล็ดลับ! การดูแลฟันของลูกน้อย
คุณหมอแนะนำการดูแลฟันในเด็กเล็กอย่างไร?
โดย ทพญ.กิตติมา ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมประดิษฐ์
ประจำศูนย์ทันตกรรม BIDC
ดูรายชื่อหมอฟัน BIDC ที่นี่ : ทีมทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทันตกรรม BIDC (คลิก)
ฟันน้ำนมซี่แรก ขึ้นเมื่อไหร่?
สำหรับฟันน้ำนมซี่แรก จะเป็นฟันซี่หน้าด้านล่าง (lower teeth) โดยเฉลี่ยแล้วจะขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 6 เดือน และจะเริ่มโยกหรือหลุดในช่วงอายุประมาณ 6 – 7 ปี ในเด็กที่ฟันขึ้นเร็วจะเริ่มขึ้น เมื่อเด็กอายุประมาณ 3 – 4 เดือน เด็กที่ฟันขึ้นช้าจะเริ่มขึ้น เมื่อเด็กอายุประมาณ 14 – 16 เดือน และฟันซี่สุดท้ายของเด็กที่จะขึ้น คือ ฟันกรามซี่ในสุด ซึ่งจะขึ้นเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ฟันน้ำนมจะทยอยหลุดไปเรื่อย ๆ จนถึงอายุประมาณ 12 ปี [ ดูตารางการขึ้นและหลุดของฟันน้ำนม ]
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : Deciduous Teeth (Healthline.com)
ลำดับของฟันน้ำนม ควรขึ้นและหลุดตอนไหน ?
ฟันของเราจะแบ่งออกเป็นฟันแถวบน และ ฟันแถวล่าง มาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าฟันแท้ ฟันน้ำนมแต่ละซี่จะงอกและหลุดที่ช่วงอายุประมาณเท่าไหร่
ฟันแถวบน (upper teeth) ประกอบด้วย :
- ฟันหน้าซี่กลาง 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 8 – 12 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 6 – 7 ปี
- ฟันหน้าซี่ข้าง 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 9 – 13 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 7 – 8 ปี
- ฟันเขี้ยว 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 16 – 22 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 10 – 12 ปี
- ฟันกรามซี่แรก 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 13 – 19 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 9 – 11 ปี
- ฟันกรามซี่ที่สอง 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 25 – 33 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 10 – 12 ปี
ฟันแถวล่าง (lower teeth) ประกอบด้วย :
- ฟันหน้าซี่กลาง 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 6 – 10 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 6 – 7 ปี
- ฟันหน้าซี่ข้าง 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 10 – 16 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 7 – 8 ปี
- ฟันเขี้ยว 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 17 – 32 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 9 – 12 ปี
- ฟันกรามซี่แรก 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 14 – 18 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 9 – 11 ปี
- ฟันกรามซี่ที่สอง 2 ซี่ : ฟันขึ้นช่วงอายุ 23 – 31 เดือน | ฟันหลุดช่วงอายุ 10 – 12 ปี
เพราะฉะนั้นฟันน้ำนมทั้ง 20 ซี่ จะใช้เวลาเปลี่ยนเป็นฟันแท้ในช่วงอายุ 6 – 12 ปี ถ้าเกิดกรณีที่ฟันน้ำนมถูกถอนก่อนเวลาที่ฟันแท้จะขึ้นนั้น มีโอกาสที่จะทำให้ “ฟันล้ม” หรือ ขยับมาอยู่ในช่องว่างของฟันที่ถูกถอนไป ทำให้ฟันที่จะขึ้นมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดเป็น “ฟันคุด” หรือ “ฟันซ้อนเก” ได้
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : อาการฟันคุด เป็นอย่างไร (คลิก)
ถ้าลูกสูญเสียฟันก่อนเวลา จะเป็นอย่างไร?
การสูญเสียฟันก่อนเวลาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันหัก หรือ ฟันน้ำนมที่ผุลึกลงไปถึงประสาทฟัน ทำให้ต้องถอนออกไป เมื่อถอนฟันน้ำนมออกไปแล้วนั้นจะมีปัญหาต่าง ๆ ตามมามากมาย เช่น
- การเจริญเติบโตของเด็ก เพราะเด็กจะต้องสูญเสียฟันที่ใช้ในการบดเคี้ยวอาหาร
- อาจนำไปสู่การเกิดความผิดปกติในการพูด และการออกเสียงได้
- เมื่อฟันน้ำนมที่ถูกถอนออกไปจะทำให้ฟันด้านข้างล้มปิดช่องว่าง ทำให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมาทดแทนซ้อนเกหรือเป็นฟันคุดได้
- เด็กๆ จะสูญเสียความมั่นใจ ถ้าบริเวณฟันที่ถูกถอนเป็นฟันหน้า
“เพราะฟันน้ำนม สำคัญกว่าที่คิด“
พาลูกน้อยตรวจสุขภาพฟันที่คลินิกทันตกรรมใกล้คุณ
วิธีป้องกัน ไม่ให้ฟันน้ำนมผุ
เลิกขวดนมเวลานอนตอนกลางคืน
ฝึกใช้แก้วน้ำ และฝึกการดูดจากหลอด แทนการใช้ขวดนม
ไม่ให้เด็กๆ ทานอาหารหรือขนมที่มีรสหวานมากเกินไป เช่น ลูกอม อมยิ้ม เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : 7 อาหารและเครื่องดื่มที่ทำร้ายฟัน และรอยยิ้มของคุณ (คลิก)
เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น นมจืด ผลไม้ เป็นต้น
ให้เด็ก ๆ แปรงฟันหรือบ้วนปากทุกครั้ง หลังรับประทานอาหารหรือขนมเสร็จ
ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า และก่อนนอน
ตรวจสุขภาพช่องปาก และฟัน อย่างเป็นประจำหรือปีละ 2 ครั้ง
สรุป
ฟันของเราในแต่ละช่วงวัยมีความสำคัญแตกต่างกัน คุณพ่อ-คุณแม่ / ผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านให้ความสำคัญกับฟันแท้มากกว่าฟันน้ำนม แต่ที่จริงแล้วฟันน้ำนมก็มีความสำคัญไม่แพ้ฟันแท้เลย เพราะฟันน้ำนมช่วยให้เด็กๆ มีการพูด การออกเสียงที่ถูกต้องชัดเจน แถมยังช่วยในการบดเคี้ยวอาหารอีกด้วย อีกทั้งฟันน้ำนมยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ฟันแท้ขึ้นเรียงสวยงาม ไม่ซ้อนเก ไม่เป็นฟันคุดอีกด้วย
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่