5 ข้อดี ของการรักษารากฟัน

รักษารากฟัน

การรักษารากฟัน พอได้ยินคำนี้แล้วต้องคิดว่าน่ากลัวแน่นอนเลยใช่ไหมละคะ? แต่การรักษารากฟันเป็นกระบวนการรักษาฟันที่มีการผุเข้าไปจนถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยการอุดฟันธรรมดา โดยสาเหตุหลัก ๆ คือ การปล่อยปละละเลย ฟันที่ผุในระยะเริ่มต้น โดยไม่ทำการรักษา จนเกิดการผุลุกลามไปจนถึงการติดเชื้อที่ โพรงประสาทฟัน หรือ เกิดหนองที่ปลายรากฟันนั่นเอง วันนี้ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC เราจะพามาทำความเข้าใจกันค่ะ ว่าการ “รักษารากฟัน” จริง ๆ แล้วมีวิธีขั้นตอนการรักษายังไงบ้าง ?

สารบัญความรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟัน [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คืออะไร

โพรงประสาทฟัน


การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment) คือ การกำจัดเนื้อเยื่อ และเส้นประสาทที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบ ภายในโพรงประสาทฟัน และคลองรากฟันออก หลังจากนั้นจึงทำความสะอาดภายในคลองรากฟันให้สะอาดปราศจากเชื้อ แล้วจึงทำการซ่อมแซมด้วยการอุดปิดคลองรากฟัน และบูรณะตัวฟัน เพื่อให้ฟันซี่ได้รับการรักษารากฟันนี้มีความแข็งแรงเหมือนฟันธรรมชาติ โดยการรักษารากฟันนี้จะช่วยให้เรายังสามารถเก็บฟันไว้ได้ไดยไม่จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออกไป


โดยรากฟันเป็นส่วนของฟัน ที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน รากฟันจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร และถูกคลุมทับด้วยเหงือก ประกอบด้วยเคลือบรากฟัน (Cementum) เป็นส่วนชั้นนอกสุดของรากฟัน หุ้มรากฟันไว้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ยึดให้รากฟันติดกับกระดูก โดยเคลือบรากฟันนี้ จะมีความแข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน

เราจะรู้ยังไง ว่าต้องรักษารากฟัน?

>>กลับไปที่สารบัญ<<

โครงสร้างของฟัน และรากฟัน มีอะไรบ้าง


โครงสร้างของฟัน และรากฟัน (Structure of Teeth) ประกอบด้วย :


1. เคลือบฟัน (Enamel)


ชั้นเคลือบฟันเป็นผิวฟันชั้นที่อยู่นอกสุด และเป็นชั้นที่แข็งที่สุด มีหน้าที่ในการรับแรงบดเคี้ยว มีโครงสร้างเป็นผลึก ไม่มีทั้งเส้นประสาท และเส้นเลือด เวลาเริ่มมีฟันผุที่ชั้นเคลือบฟันจึงยังไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด

2. เนื้อฟัน (Dentine)


ชั้นเนื้อฟันจะเป็นชั้นที่อยู่ถัด ในเนื้อฟันนี้จะประกอบด้วยรูของท่อเนื้อฟันขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นที่รวมของเส้นประสาทรับความรู้สึก เวลามีฟันผุถึงชั้นนี้ เราจะเริ่มมีอาการเสียวฟัน

3. โพรงประสาทฟัน (Pulp Chamber)


โพรงประสาทฟัน เป็นช่องว่างที่เป็นเนื้อเยื่ออ่อน ซึ่งประกอบด้วย เส้นเลือด เส้นประสาท และระบบน้ำเหลือง

4. เหงือก (Gum)


เหงือกเป็นส่วนเนื้อเยื่อที่ช่วยห่อหุ้มตัวฟัน และกระดูกขากรรไกรเอาไว้ รวมถึงเนื้อเยื่ออ่อนที่ปกคลุมกระดูกเบ้ารากฟัน

5. กระดูกเบ้าฟัน (Alveolar Bone)


กระดูกเบ้าฟันเป็นกระดูกขากรรไกรที่รากฟันฝังอยู่ มีลักษณะเป็นกระดูกพรุนที่มีความโค้งเว้า ทำหน้าที่ในการรองรับรากฟันแต่ละซี่

ทั้งนี้ส่วนของเคลือบฟัน และเนื้อฟันที่โผล่ออกมาด้านบนของเหงือกจะรวม เรียกว่า ตัวฟัน (Crown) ส่วนถัดลงมา จะเรียกว่า คอฟัน (Neck) ซึ่งก็คือ บริเวณรอยต่อระหว่างตัวฟันกับรากฟัน หรือบริเวณขอบเหงือกนั่นเอง และส่วนสุดท้าย รากฟัน (Root) เป็นส่วนของฟันที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน

โครงสร้างของรากฟัน

>>กลับไปที่สารบัญ<<

ทำไมเราต้องรักษารากฟัน?


สาเหตุที่จำเป็นต้องทำการรักษารากฟัน มาจากปัญหาของฟันที่มีการผุจนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟัน และต้องจำต้องทำการรักษารากฟันนั้นเอง หากยังไม่ได้รับการรักษารากฟัน มักทำให้เกิดอาการปวดฟันอย่างรุนแรงได้ บางคนอาจพบอาการปวดซ้ำๆ หรือปวดรุนแรงจนส่งผลต่อปัญหาสุขภาพอื่น ๆ นอกจากนี้อาจมีอาการอักเสบ ตุ่มหนอง เหงือกบวม ฝีหรือถุงน้ำที่ปลายรากฟัน และยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เมื่อมีอาการเหล่านี้และไม่ได้รับการรักษารากฟัน อาจนำไปสู่การถอนฟันและสูญเสียฟันแท้ได้ในที่สุด


ข้อมูลเพิ่มเติม : รักษารากฟัน คืออะไร? ทำไมเราต้องรักษารากฟัน (คลิกอ่าน)

ปรึกษาปัญหารากฟัน กับทันตแพทย์ของเราที่นี่

ฟรีปรึกษาออนไลน์

รากฟัน รักษาได้กี่ประเภท

การรักษารากฟันโดยทั่วไปแล้วจะสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ


  • 1. การรักษารากฟัน โดยวิธีปกติ : สำหรับการรักษารากฟัน โดยส่วนใหญ่ของการรักษารากฟัน จะใช้วิธีตามปกติก็เพียงพอที่จะกำจัดการติดเชื้อ รวมถึงรักษารอยโรคที่ปลาย รากฟัน และถุงหนองต่าง ๆ ได้
  • 2. รักษารากฟัน ด้วยการผ่าตัดปลายราก : ใช้วิธีนี้ในกรณีที่การรักษาโรค ด้วยวิธีปกติแล้วไม่ได้ผลสำเร็จ โดยวิธีดังกล่าวนี้ จะต้องมีการใช้กล้องจุลโทรทัศน์ กล้อง Microscope เพื่อเพิ่มกำลังขยายในการมองเห็น ทันตแพทย์อาจต้องมีการผ่าตัดเอาปลายราก ส่วนที่มีการติดเชื้อมาก ๆ ออกบางส่วน จากนั้นจะใช้วัสดุที่มีความปลอดภัยต่อ เนื้อเยื่อรอบรากฟัน อุดย้อนเข้าไป เพื่อผนึกไม่ให้เชื้อจุลชีพย้อนเข้าสู่รากฟันได้ วิธีนี้จำเป็นต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะของ ทันตแพทย์เฉพาะทางรักษารากฟันเพื่อเพื่มอัตราความสำเร็จในการผ่าตัดรักษาปลายรากฟัน
endodontic surgery

ศูนย์ทันตกรรม BIDC มีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันตกรรม รวมถึงเทคโนโลยี เทคนิค วัสดุและอุปกรณ์ทางทันตกรรมที่สมัยทันตแพทย์รักษารากฟันที่มีประสบการณ์ ที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการเจ็บปวด ให้คนไข้ไม่ต้องสูญเสียฟันธรรมชาติซี่นั้นไป

“รักษารากฟัน” ด้วยเทคโนโลยีโดยทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์


ข้อมูลเพิ่มเติม : การรักษารากฟัน ด้วยกล้องไมโครสโคป Endodontic Microscope OPMI (คลิกอ่าน)

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการรักษารากฟัน เพิ่มเติมที่นี่
@bidcdental

>>กลับไปที่สารบัญ<<

ขั้นตอนของการรักษารากฟัน

thailand dental services


  • การถ่าย Xray เพื่อตรวจดูสภาพและรูปร่างของฟัน รวมถึงบริเวณที่มีการติดเชื้ออักเสบ คุณหมอจะทำการฉีดยาชาบริเวณนั้น
  • การเจาะเปิดโพรงฟันเพื่อตัดเนื้อฟันส่วนที่ติดเชื้อออกไป
  • การทำความสะอาดโพรงรากฟันอาจทำมากกว่า 1 ครั้ง สำหรับคนไข้บางท่าน ที่โพรงประสาทฟันมีการอักเสบมาก เพื่อความมั่นใจว่าโพรงรากฟันได้รับการทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์
  • สำหรับบางท่าน ทันตแพทย์อาจทำการใส่ยาลงในโพรงรากฟัน เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อาจหลงเหลือ และป้องกันการกลับมาติดเชื้อ
  • หลังจากโพรงรากฟันได้รับการฆ่าเชื้อแล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงรากฟัน

คลินิกทันตกรรม BIDC มีทันตแพทย์ที่มีความชำนาญในการรักษารากฟัน รวมถึงเครื่องมือที่ทันสมัย เครื่องมือทุกชิ้นต้องผ่านการทำให้ปลอดเชื้อด้วยความร้อนสูง (Sterilization) และการควบคุมการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกท่านค่ะ


ดูข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ : ทีมทันตแพทย์ ผู้ให้การรักษาทันตกรรม BIDC (คลิกอ่าน)

5 ข้อดี ของการรักษารากฟัน

โปรจัดฟัน ทำฟัน 2024
โปรทำฟัน รัชดา

>>กลับไปที่สารบัญ<<

ผลข้างเคียงภายหลังการรักษารากฟัน


ภายหลังจากการรักษารากฟัน อาจมีอาการปวดฟันได้บ้าง ใน 2-3 วันแรก และในบางกรณีอาจมีเหงือกบวมหรือ อักเสบได้บ้างเล็กน้อย ซึ่งอาการปวดหรือบวมดังกล่าวนี้ จะสามารถหายไปได้เองในเวลาไม่นาน ในกรณีที่มีอาการปวดและบวมมาก สามารถใช้ยาแก้ปวดช่วยให้อาการทุเลาลงได้

คำแนะนำข้อปฏิบัติ หลังการรักษารากฟัน

คำแนะนำข้อปฏิบัติ หลังการรักษารากฟัน
  • หลังการรักษา 2-3 วันแรก อาจรู้สึกปวดฟันหรือเสียวฟันเล็กน้อย ทันตแพทย์จะให้ทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ และอาการปวดหรือเสียวฟันจะค่อยๆ หายไปได้เอง
  • ดูแลทำความสะอาดฟันโดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติ
  • งดใช้งานฟันซี่ที่ยังอยู่ในขั้นตอนการรักษา โดยเฉพาะการเคี้ยวอาหารเหนียวหรือแข็ง เพราะอาจทำให้ฟันแตกได้
  • เนื่องจากการอุดฟันในระหว่างการรักษาเป็นการอุดฟันเพียงชั่วคราว ซึ่งวัสดุอุดอาจหลุดออกจากฟันได้ หากพบปัญหาดังกล่าวควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงวันนัด
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดเกิน 2 วัน บวมมากผิดปกติ ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที

ดาวน์โหลดเอกสาร คำแนะนำข้อปฏิบัติ หลังการรักษารากฟัน (คลิกที่นี่)

ดาวน์โหลดเอกสาร คำแนะนำข้อปฏิบัติ หลังการรักษารากฟัน (คลิกที่นี่)

>>กลับไปที่สารบัญ<<

สรุป

หากเราดูแลรักษาสุขภาพฟันอย่างถูกต้องเหมาะสม ฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน และใส่ครอบฟันแล้ว ก็จะสามารถใช้งานได้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตาม โรคฟันทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นฟันผุหรือโรคปริทันต์ก็สามารถเกิดขึ้นได้อีกในบริเวณฟันที่ได้รับการรักษาแล้ว ดังนั้นการรักษาสุขอนามัยภายในช่องปากเป็นอย่างดีจะช่วยให้คุณมีสุขภาพช่องปาก และฟันที่ดี ป้องกันปัญหาที่จะเกิดตามมาอีกได้


BIDC เราเปิดให้บริการทุกวัน ดูแลทุกท่านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“ใครอยากปรึกษาปัญหาเรื่องฟัน แอดไลน์คลินิกไว้ได้เลยค่ะ”

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา

ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental