อย่างที่ทราบกับดีว่า การอุดฟัน ช่วยเติมเต็มเนื้อฟันที่สูญเสียไป อาจจะเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฟันผุ ฟันสึก ฟันบิ่น ฟันแตก หรือเกิดจากอุบัติเหตุ สำหรับการอุดฟันต้องใช้วัสดุอุดฟันโดยเฉพาะ เพื่อที่จะทำให้ฟันกลับมามีรูปร่างปกติ และสามารถบดเคี้ยวอาหารได้เหมือนเดิม โดยวัสดุอุดฟันที่เราคุ้นหูกัน จะมีอยู่ 2 แบบ ก็คือ แบบโลหะ วัสดุอมัลกัม และ คอมโพสิตเรซิน (วัสดุสีเหมือนฟัน) แล้วเราจะเลือกอุดฟันแบบไหน ถึงจะดีล่ะ? วันนี้ BIDC มีคำตอบค่ะ [ อ่านต่อ.. ]
“อุดฟันแบบไหนดี” วัสดุอมัลกัม VS เรซินคอมโพสิต [คลิกอ่านตามหัวข้อ]
การอุดฟันคืออะไร ทำไมต้องอุดฟัน ?
การอุดฟัน (tooth filling) คือ การรักษาอาการหรือความผิดปกติของฟันที่อาจเกิดขึ้นได้ในทุกวัย อาการหรือความผิดปกติที่ว่าก็คือ อาการของฟันผุกร่อน หรือฟันผุ ฟันเป็นรูมีทั้งที่เราสามารถมองเห็นได้เอง และรูที่เกิดขึ้นระหว่างซอกฟัน รูแบบนั้นเราไม่สามารถมองเห็นเองได้ การผุกร่อนนั้นอาจเกิดจากแบคทีเรีย หรือสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งเป็นปัญหาของการใช้ฟันในการบดเคี้ยวอาหาร
นอกจากนั้นแล้วยังมีฟันแตก ฟันบิ่น เหล่านี้จะเป็นการทำลายก่อนถึงเนื้อฟัน ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ใช้ฟันขบเคี้ยวของแข็ง ปัญหาที่เกิดขึ้นในข้างต้นถ้าไม่รีบรักษาหรือไปพบทันตแพทย์ จะมีผลทำให้เกิดการลุกลามเสียหายของฟันมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุดสามารถทำได้โดยการอุดฟัน เพราะการอุดฟันจะทำให้ฟันกลับมามีความสมบูรณ์ และสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
“อุดฟันอย่างไงให้สวยงาม” BIDC มีคำตอบ!!
โดย ทพญ.กิตติมา ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมประดิษฐ์
ประจำศูนย์ทันตกรรม BIDC
ดูประวัติทันตแพทย์ BIDC ได้ที่ : ทีมทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาทันตกรรม BIDC (คลิก)
เปรียบเทียบความต่างของวัสดุที่ใช้ เลือกอุดฟันแบบไหนดี
หลักๆการอุดฟัน มีอยู่ 2 ประเภท คือ
สิทธิประกันสังคม ขูด – อุด – ถอน – ผ่า ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC ไม่ต้องสำรองจ่าย
อ่านเพิ่มเติม : เรื่องน่ารู้ ทำฟันด้วยการใช้ประกันสังคม (คลิก)
ความแตกต่างของวัสดุอุดฟันทั้ง 2 แบบ
วัสดุอุดฟันอมัลกัม เป็นวัสดุอุดฟันที่มีสีเทาเงิน นุ่ม ไหล ซึ่งมีสีแตกต่างจากสีจริงของฟัน ส่วนวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต เป็นการอุดฟันสีเหมือนฟัน มีความเป็นธรรมชาติ ซึ่งวัสดุแบบนี้สามารถอุดฟันได้ทุกตำแหน่งในช่องปาก ทำให้ไม่ว่าจะอุดฟันในตำแหน่งไหนก็ไม่ต้องกังวลเวลายิ้ม
ข้อดี
A title
Image Box text
ใช้งานง่าย รวดเร็ว
A title
Image Box text
แข็งแรงทนทาน ราคาถูก
ข้อเสีย
A title
Image Box text
สูญเสีย เนื้อฟันค่อนข้างมาก
A title
Image Box text
อาจไม่สวยงาม เพราะสีไม่เหมือนผิวฟัน
อ่านเพิ่มเติม : ทำไมต้องอุดฟัน เลือกอุดฟันแบบไหนดี? (คลิก)
อุดฟันใช้เวลานานไหม
การใช้วัสดุอุดฟันทั้ง 2 แบบนี้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละบุคคล ซึ่งไม่สามารถระบุเวลาที่แน่ชัดได้
อุดฟันแบบไหน กรอฟันน้อยสุด
การใช้วัสดุอุดฟันอมัลกัมต้องมีการกรอเนื้อฟันจริงออก มากกว่าวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต เพราะวัสดุสีเงินต้องการความหนาของวัสดุให้พอต่อความแข็งแรง ส่วนวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต ไม่ต้องกรอเนื้อฟันจริงออกมาก แต่สามารถทำได้ด้วยการกรอเนื้อฟันที่เสียออกเท่านั้น
หลังอุดฟัน กินอาหารได้เลยไหม?
การกินอาหารหลังจากอุดฟันเสร็จแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกใช้วัสดุชนิดใดในการอุดฟัน ถ้าใช้วัสดุอุดฟันอมัลกัม จะต้องงดเคี้ยวอาหารข้างที่อุด 24 ชั่วโมง เพื่อรอให้วัสดุอมัลกัมแข็งตัวเต็มที่ก่อน แต่หากใช้วัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต (สีขาว อุดเหมือนฟันธรรมชาติ) สามารถรับประทานอาหารได้ทันที หลังจากอุดฟันเสร็จไม่จำเป็นต้องรอนาน 24 ชั่วโมง
อุดฟันอยู่ได้กี่ปี
โดยเฉลี่ยแล้วการอุดฟันด้วยวัสดุที่เป็นอมัลกัม จะอยู่ได้ประมาณ 10 ปี ส่วนวัสดุอุดฟันเรซินคอมโพสิต (สีขาว อุดเหมือนฟันธรรมชาติ) จะอยู่ไดเประมาณ 6-7 ปี แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งาน และการดูแลทำความสะอาดของแต่ละท่าน ส่วนวัสดุอุดฟันสีเหมือนฟัน ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสี และการกัดฉีกของแข็งนั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม : 7 อาหารและเครื่องดื่มที่ทำร้ายฟัน และรอยยิ้มของคุณ (คลิก)
สรุป
เลือกอุดฟันแบบไหนดี หลังจากที่เราตัดสินใจอุดฟันไปแล้ว การดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก และฟัน ให้สะอาดเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนไม่ว่าจะอายุมากหรือน้อยควรให้ดูแลรักษา แปรงฟันเป็นประจำสม่ำเสมอ รวมไปถึงการตรวจสุขภาพช่องปาก และฟันทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้ช่องปาก และฟันของเรามีสุขภาพที่ดี เราจะได้มีรอยยิ้มที่มั่นใจ และสดใส
“ เพื่อให้ฟันแท้ จะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ ”
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่