ครอบฟันแตก หลุด หัก ร้าว ทำยังไงดี ?

ครอบฟันแตก

การครอบฟัน (Dental Crowns) เป็นการบูรณะ และปกป้องฟันที่ได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเกิดจากการ แตก หัก บิ่น ฟันผุ ฟันสึก รวมถึงฟันที่ได้รับการรักษารากฟันมาก่อน ซึ่งจะเป็นการเสริมความแข็งแรง และปกป้องฟันซี่ที่เสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

นอกจากนี้ในบางกรณีก็ทำการครอบฟันปกป้องฟันแท้ และจัดช่องฟันให้สวยงามอีกด้วย แล้วถ้าหากเราทำการรักษาครอบฟันไป แล้วครอบฟันแตก ร้าว หลุด ล่ะ จะทำยังไงดี? วันนี้ทางศูนย์ทันตกรรม BIDC เราจะพามาดูกันค่ะ ว่าการที่ “ครอบฟันหลุด ร้าว แตก” จริง ๆ แล้วมีวิธีขั้นตอนการรักษายังไงบ้าง

สารบัญความรู้เกี่ยวกับ “ครอบฟัน” [คลิกอ่านตามหัวข้อ]


ครอบฟัน (Dental Crowns) คืออะไร

ครอบฟัน [Dental Crowns]

การทำครอบฟันเป็นการบูรณะและปกป้องฟัน [อ่านข้อมูลเพิ่มเติม]

ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันหัก ครอบฟันหลุด วิธีการรักษามีอะไรบ้าง?


แก้ฟันเหลือง

แนวทางการรักษาหากคุณมีฟันบิ่น ฟันแตก ฟันหัก ครอบหลุด ครอบฟันแตก :

ครอบฟันหลุด


หากครอบฟันหลุด ควรรีบไฟพบหมอฟันทันที พร้อมนำครอบฟันที่หลุดไปด้วย โดยคุณหมอจะทำการตรวจเบื้องต้น เอกซเรย์ และประเมินว่าสามารถครอบฟันใหม่ได้ทันทีหรือไม่

หากพบว่ามีความเสียหายเล็กน้อย อาจสามารถซ่อมแซมได้ทันที โดยใช้วัสดุสีเหมือนฟัน (คอมโพสิตเรซิน) แต่หากเสียหายมากก็อาจจะต้องทำครอบฟันใหม่ สำหรับบางกรณีก็ไม่สามารถครอบฟันกลับทันทีได้ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์

ครอบฟันแตก


กรณีที่ครอบแตกเพียงเล็กน้อย ยังอาจสามารถใช้คอมโพสิตเรซิน (วัสดุสีเหมือนฟัน) ในการซ่อมแซมครอบฟันนั้นได้

แต่ในกรณีที่ครอบฟันแตกแบบมีรอยร้าวมาก  จำเป็นต้องทำใหม่ครอบฟันใหม่  เพื่อแทนครอบเดิมที่แตกไป

ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC เราเลือกใช้วัสดุ IPS Empress Esthetics ในการทำครอบฟันแบบเซรามิกล้วน เพื่อประสิทธิภาพการรักษาที่ดีที่สุด – อ่านเพิ่มเติม 

ฟันบิ่นบางส่วน


ฟันบิ่นบางส่วน สามารถรักษาด้วยการอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน โดยการอุดฟันสามารถทำและเสร็จภายในวันเดียว สำหรับคนไข้มีอายุมากโดยฟันได้ใช้งานมานานมากแล้วอาจรักษาด้วยการทำครอบฟัน ในกรณีนี้อาจพิจารณาทำครอบฟันทันทีและสร้างครอบฟันชั่วคราวให้แก่คนไข้เพื่อให้ใช้งานได้ทันที

ฟันแตกขนาดใหญ่


ฟันแตกขนาดใหญ่ ทำการรักษาด้วยการครอบฟัน ทำครอบฟันทันที (One Day Crown) และสร้างครอบชั่วคราวให้แก่คนไข้

ฟันหัก


หากมีฟันหัก กรณีที่เนื้อฟันเหลือน้อยเกินไปจนไม่สามารถแก้ไขด้วยการอุดฟัน อาจพิจารณาทำครอบฟันทันที และสร้างครอบชั่วคราวให้แก่คนไข้เพื่อให้ใช้งานได้

ฟันหักมักเกิดจากอุบัติเหตุ จึงไม่อาจป้องกันได้ทั้งหมด แต่มีวิธีลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนี้ – อ่านเพิ่มเติม

ครอบฟันวันเดียว (One Day Crown)

แก้ฟันร้าวครอบฟันเร่งด่วน เสร็จภายใน 1 วัน !!
by คุณโน้ต (พิธีกรและนักแสดง)

>>กลับไปที่สารบัญ<<

สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับครอบฟัน – Dental Crowns เพิ่มเติมที่นี่
@bidcdental

ขั้นตอนการครอบฟัน [ Dental Crowns ]


เทคโนโลยีการทำฟันด้วยระบบ Digital

การทำครอบฟันมีขั้นตอนต่อไปนี้ :

  • ครั้งที่ 1 : คนไข้จะต้องมาพบทันตแพทย์เพื่อได้รับการตรวจประเมินว่าฟัน มีการ X-ray ร่วมด้วย ตรวจประเมินว่าเนื้อฟันที่เหลืออยู่เป็นอย่างไร สามารถที่จะทำครอบฟันได้หรือไม่ เสร็จแล้วก็จะพิมพ์ปากผู้ป่วยครั้งแรก เพื่อส่งทำครอบฟันชั่วคราว สำหรับใช้งานระหว่างการรอชิ้นงานจากแลปทันตกรรม
  • ครั้งที่ 2 : คือการรื้อครอบฟันแบบชั่วคราวออก และทำการยึดครอบฟันแบบถาวรบนฟันที่กรอ ตรวจเช็คและการปรับแต่งให้มีความเหมาะสมสวยงามที่สุด ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
หลังครอบฟัน วีเนียร์ ดูแลตัวเองยังไง
หลังครอบฟัน วีเนียร์ ดูแลตัวเองยังไง

ภาพตัวอย่างการรักษาครอบฟัน (Dental Crowns) 


ทันตกรรมเพื่อความงาม
Cosmetic Dentistry

เคสครอบฟัน

Photo Credit : คุณหมอพีรพัฒน์
(ทันตแพทย์ประดิษฐ์ ศูนย์ทันตกรรม BIDC)

ทันตกรรมครอบฟัน
Dental Crowns

เคสครอบฟัน สะพานฟัน

Photo Credit : คุณหมอศริญญา
(ทันตแพทย์บูรณะฟันและตกแต่ง ศูนย์ทันตกรรม BIDC)


*ควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้มีประสบการณ์
ก่อนรับการรักษาทันตกรรม

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน


>>กลับไปที่สารบัญ<<

ครอบฟัน ต้องทำเมื่อไหร่?


ขั้นตอนการรักษาครอบฟัน


การทำครอบฟันแบ่งเป็น 3 กรณี ดังต่อไปนี้ :

    1. การรักษารากฟัน
    2. ครอบฟันแตก ครอบฟันร้าว
    3. ฟันสึก ฟันผุขนาดใหญ่

การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)


โพรงประสาทฟัน

กรณีที่ 1 คือ ฟันที่ได้รับการรักษารากฟัน โดยฟันก่อนที่จะได้รับการรักษาราก เนื้อฟันจะสูญเสียไปเยอะ และขั้นตอนในการรักษารากฟัน เราจะต้องกรอเนื้อฟันเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นเนื้อฟันจะหายไป เป็นปริมาณมากกว่าครึ่ง ดังนั้นเราควรที่จะได้รับการทำครอบฟัน เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม


ข้อมูลเพิ่มเติม : รักษารากฟัน คืออะไร? ทำไมเราต้องรักษารากฟัน (คลิกอ่าน)

ครอบฟันแตก ครอบฟันร้าว


ครอบฟัน (Dental Crowns) คืออะไร

กรณีที่ 2 คือ เป็นกรณีที่ฟันร้าว หรือว่าฟันแตก กรณีที่ฟันร้าว จะทำครอบฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันร้าวมากขึ้น หรือเกิดการแตกหักสูญเสียไปในอนาคต ส่วนในกรณีที่ฟันแตก จะทำการครอบฟันเพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม


ข้อมูลเพิ่มเติม : การทำครอบฟันด้วยทันตกรรมดิจิทัล ที่ ศูนย์ทันตกรรม BIDC (คลิกอ่าน)

ฟันสึก ฟันผุขนาดใหญ่


ฟันหัก เกิดขึ้นได้อย่างไร

กรณีที่ 3 คือ ในกรณีที่ฟันมีการสึกมาก หรือว่ามีรูผุขนาดใหญ่ เราจะใช้ทันตกรรมครอบฟันเพื่อให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานได้เป็นปกติเหมือนเดิม


ข้อมูลเพิ่มเติม : วิธีการป้องกันฟันสึกมีอะไรบ้าง (คลิกอ่าน)

>>กลับไปที่สารบัญ<<

ปรึกษาปัญหาการทำครอบฟัน กับทันตแพทย์ของเรา

คลิกปรึกษาออนไลน์

วิธีการดูแลหลังการครอบฟัน (Dental Crowns)


Dental Floss ไหมขัดฟัน

หลังจากทำครอบฟันแล้ว ผู้เข้ารับการรักษาสามารถใช้ฟันได้เป็นปกติ แต่การครอบฟันนั้นไม่ได้หมายความว่าฟันจะถูกปกป้องจากฟันผุ และโรคเหงือก

ดังนั้น ยังคงต้องรักษาสุขอนามัยของช่องปากให้ดีอยู่เสมอ โดยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันโดยเฉพาะบริเวณที่มีการครอบฟัน รวมไปถึงการบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่ต่อต้านแบคทีเรียอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

นอกจากนั้น อายุการใช้งานของฟันที่ครอบนั้นแล้วแต่การปฏิบัติตัวของผู้ที่ได้รับการครอบฟัน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขอนามัยของช่องปาก และนิสัยการบดเคี้ยว เช่น การเคี้ยวน้ำแข็ง หรือใช้ฟันเปิดหรือฉีกผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น (ครอบฟันจะอยู่ได้นานกี่ปี .. อ่านต่อ)



>>กลับไปที่สารบัญ<<

ประโยชน์ของการทำครอบฟัน

โปรจัดฟัน ทำฟัน 2024
โปรทำฟัน รัชดา

>>กลับไปที่สารบัญ<<

ครอบฟันอยู่ได้นานกี่ปี ?


การรักษาครอบฟัน


อายุการใช้งานของครอบฟันนั้น จะอยู่ระหว่าง 5-15 ปี แล้วแต่การปฏิบัติตัวของผู้ที่ได้รับการครอบฟัน ไม่ว่าจะเป็นการรักษาสุขอนามัยของช่องปาก และนิสัยการบดเคี้ยว

ครอบฟันเด็ก คืออะไร ?


ครอบฟันเด็ก คืออะไร


สำหรับเด็กเล็กจะมีการครอบฟันเพื่อรักษาฟันที่ถูกทำลายจากฟันผุที่ไม่สามารถอุดฟันได้ ช่วยป้องกันสำหรับเด็กที่มีแนวโน้มจะมีฟันผุได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กที่มีการรักษาสุขอนามัยของช่องปาก และฟันไม่ดี

อาการที่พบหลังจากการรักษาครอบฟัน


คำแนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์

  • คนไข้บางรายอาจจะมีอาการเสียวฟัน ในช่วงแรก ๆ ซึ่งทันตแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาสีฟันที่ช่วยลดอาการเสียวฟันร่วมด้วย
  • อาการแพ้ กรณีนี้พบได้ค่อนข้างน้อยมาก การแพ้เกิดจากครอบฟันที่ใช้การผสมวัสดุซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการแพ้โลหะหรือเซรามิกที่ใช้ เมื่อรู้สึกผิดปกติหลังการครอบฟัน ควรรีบไปพบทันตแพทย์ทันที
  • อาจจะมีรอยดำบริเวณแนวเหงือก กรณีมักเกิดขึ้นในกรณีคนไข้เลือกใช้ครอบฟันแบบที่มีโลหะผสม เพราะโลหะจะมีสีที่เข้มกว่า จึงเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้
  • หากครอบฟันหลุด เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ขนาดของครอบฟันไม่พอดีกับฟันแท้, ฟันผุซ้ำ รากฟันติดเชื้อ รวมถึงกาวน์เสื่อมสภาพ เป็นต้น

หากมีอาการผิดปกติ ควรรีบกลับมาพบทันตแพทย์ทันที (ติดต่อเราที่นี่)

>>กลับไปที่สารบัญ<<

สรุป

การดูแลสุขภาพของช่องปาก และฟันอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยโดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน ไม่ว่าจะเป็นฟันผุ รักษารากฟัน หรือครอบฟัน ควรทำความสะอาดฟันให้ถูกต้อง และตรวจสุขภาพฟันทุก 6 – 12 เดือน และไปตรวจตามเวลาที่ทันตแพทย์นัดหมาย เท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพช่องปาก และฟันที่แข็งแรง สามารถยิ้มได้อย่างมั่นใจ

ศูนย์ทันตกรรม BIDC ของเรามีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จะทำให้คุณมั่นใจในการรักษา และการบริการของเราที่พร้อมดูแลคุณ ให้คุณมีสุขภาพช่องปาก และฟันที่สวยงาม พร้อมรอยยิ้มที่มั่นใจ


BIDC เราเปิดให้บริการทุกวัน ดูแลทุกท่านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“ฟันบิ่น ฟันแตก ฟันหัก ครอบฟันหลุด ครอบฟันแตก Add Line คลินิกทำนัดได้เลยค่ะ”

ปรึกษาเรื่องจัดฟัน

ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา


ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย

โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400+66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com

Line ID : @bidcdental

สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่

@bidcdental
@bidcdental