หลายๆ คนคงรู้อยู่แล้วว่า ฟันเป็นกระดูกที่แข็งแรงที่สุด ซึ่งหน้าที่หลักของฟันก็คือ การบดเคี้ยวอาหาร ใช้ในการออกเสียง และถ้าฟันยิ่งสวย ยิ่งช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เราอีกด้วย แล้วถ้าฟันสวยๆ ของเราเกิด หัก หรือ แตก ขึ้นมาหล่ะ เราจะทำยังไงดี? วันนี้ศูนย์ทันตกรรม BIDC จะพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ฟันแตก” ว่าถ้าเกิดฟันของเราเกิดแตกขึ้นมาจะรักษายังไง และมีวิธีการป้องกันฟันไม่ให้แตกหรือไม่? มาดูคำตอบกันค่ะ
ฟันแตกลักษณะเป็นยังไง?
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจก่อนว่า “ ฟันแตก ” คืออะไร โดยฟันที่แตกจะมีลักษณะของฟันที่เกิดรอยแยกบนฟัน ฟันบิ่น หรือแตกออกมาจากตัวฟัน จะมีความเสียหายอยู่บริเวณผิวฟัน ทำให้ฟันเกิดการผิดรูป เป็นรู มีลักษณะแหลม มีผิวสัมผัสที่ไม่เรียบนั่นเอง และสามารถเกิดขึ้นได้กับฟันทุกซี่ตั้งแต่ฟันหน้าไปจนถึงฟันกราม
ขอขอบคุณภาพจากคุณหมอกิตินันท์
ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาด้านทันตกรรมความสวยงาม ประจำศูนย์ทันตกรรม BIDC
ดูภาพการรักษาเพิ่มเติม : วีเนียร์ สร้างยิ้มสวยแบบดารา (คลิก)
ฟันหัก/ฟันแตก เกิดจากอะไร
โดยสาเหตุของฟันที่แตก เกิดจากการมีแรงกด แรงกระแทกที่มีความรุนแรงมากเกินไป มากระทบที่ฟัน ทำให้ส่วนเคลือบฟัน และเนื้อฟัน ซึ่งเป็นส่วนภายนอก และส่วนกลางของฟันที่มีความแข็งแรงเกิดการแตกออก บางครั้งอาจรุนแรงจนไปกระทบศูนย์รวมของเส้นประสาท และเส้นเลือด ทำให้ฟันหัก แตก ถึงขั้นสูญเสียฟันแท้ได้
ภาพโครงสร้างของฟัน และรากฟัน (Structure of Teeth)
อ่านเพิ่มเติม : โครงสร้างของฟัน และรากฟัน มีอะไรบ้าง (คลิก)
มาดูปัจจัยหลักๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันแตกกันเถอะ
การบาดเจ็บ เช่น อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา หรือทางรถยนต์, หกล้ม เป็นต้น
การนอนกัดฟัน
การเคี้ยว หรือ การกัดอาหารที่มีความแข็ง
อายุมากขึ้น ทำให้ความแข็งแรงของฟันลดลง ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดฟันแตกมากขึ้น
ฟันแตก อาการเป็นอย่างไร
โดยอาการของฟันแตก จะขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันดังต่อไปนี้
- ลักษณะฟันภายนอกมีการบิ่น แตก อาจมีเลือดออกร่วมด้วย เกิดจากรอยแตกของฟันลึกลงไปถึงเนื้อฟันหรือโพรงประสาทฟัน อาจทำให้เส้นเลือดฝอยที่อยู่ภายในฟันแตก และทำให้มีเลือดออกมาด้วย
- ฟันแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน จะมีอาการเจ็บ ปวด เสียวฟัน หากเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน จะทำให้เกิดอาการเจ็บ ปวด เสียวฟัน จนทำให้เคี้ยวอาหารไม่ได้
- เหงือกอักเสบ / บวม บริเวณที่ฟันแตก เกิดจากการที่ฟันมีช่องว่าง ทำให้มีเศษอาหารไปติดสะสมจนเกิดแบคทีเรีย ส่งผลให้เกิดอาการเหงือกอักเสบ / บวมขึ้นได้
วิธีป้องกันฟันแตก ด้วยตัวเอง
สังเกตฟันตัวเองสม่ำเสมอ หากพบว่าฟันแตก หรือมีรอยร้าว ให้รีบไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา
ไม่นอนกัดฟัน หากมีอาการนอนกัดฟันควรปรึกษาแพทย์
ดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อขจัดเศษอาหารออกจากบริเวณซอกฟัน
ควรตรวจสุขภาพช่องปาก และ ขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน
ฟันหักทำยังไงดี ฟันแตกต้องรักษายังไง
การรักษาฟันแตกในปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ซึ่งทันตแพทย์จะทำการรักษาโดยพิจารณาจาก รอยแตกของฟัน ตำแหน่งของรอยแตก ความรุนแรง และอาการโดยรวมของคนไข้ มาดูกันค่ะ ว่ามีวิธีการใดบ้างที่ช่วยรักษาอาการฟันแตก
- การอุดฟัน : ใช้ในกรณีที่ฟันแตกไม่มาก โดยทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟัน เพื่ออุดปิดรอยร้าว หรือรอยแตกของฟันให้เชื่อมกัน เท่านั้นก็จะทำให้ฟันกลับมาสวยงาม แข็งแรง สามารถเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ (อ่านต่อ..)
- การถอนฟัน : ใช้ในกรณีที่ฟันแตกลึกลงไปถึงรากฟัน ทำให้โพรงประสาทฟันได้รับความเสียหาย และไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอื่นได้ ทำให้ทันตแพทย์ต้องทำการถอนฟันซี่นั้นออก หลังจากการถอนฟันนั้น อาจทดแทนฟันซี่นั้นด้วยการทำสะพานฟัน หรือการฝังรากเทียมเพื่อให้ฟันกลับมาสวยงามเหมือนปกติ (อ่านต่อ..)
- การรักษารากฟัน : ใช้ในกรณีที่ฟันแตกลึกลงไปถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งมีโอกาสที่ทำให้เชื้อโรคเข้าไปสู่โพรงประสาทฟัน และอาจเกิดการติดเชื้อได้ ทันตแพทย์จึงต้องกำจัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันส่วนที่เสียหายออก เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อเพิ่ม จากนั้นจึงอุดคลองรากฟัน หรือครอบฟัน เพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ (อ่านต่อ..)
- การครอบฟัน : ใช้ในกรณีที่ฟันแตกลึกลงไปถึงเนื้อฟัน มักจะใช้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายกับฟันจริง เช่น วัสดุแบบเซรามิกล้วน จะมีสีที่เหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ ทันตแพทย์จะกรอผิวเคลือบฟันบางส่วน เพื่อสวมวัสดุครอบฟันลงไปให้พอดีกับฟันที่แตก วิธีนี้เป็นการเสริมความแข็งแรงให้กับฟันที่แตก ทำให้สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ (อ่านต่อ..)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ โทร.
อ่านเพิ่มเติม : บริการทำฟัน จัดฟัน รากเทียม วีเนียร์ คลินิกทันตกรรม BIDC (คลิก)
“ ฟันแตก ” อันตรายไหม ?
ความอันตรายของฟันแตก ขึ้นอยู่กับระดับและลักษณะของฟันที่แตก เพราะรอยแตกของฟันนั้นอาจใหญ่ขึ้น และลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียฟันได้
ดูยังไงว่าฟันแตก ?
- ฟันแตกครึ่ง : ลักษณะฟันแตกเป็น 2 ส่วน อาจเกิดจากการนอนกัดฟัน การรับประทานอาหาร หรือกัดของที่มีความแข็ง อุบัติเหตุ และคนที่มีเนื้อฟันบาง ทำให้รู้สึกปวด และอาจเกิดหนองตามมาได้
- ฟันแตกเป็นรู : ฟันแตกเป็นรู หรือมีรอยแตกขนาดใหญ่ อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การกัดของแข็ง ฟันผุ ฟันไม่สบกัน วัสดุอุดฟันหลุด เป็นต้น
- ฟันแตกถึงราก : ฟันแตกเป็นแนวดิ่งลึกลงไปถึงรากฟัน อาจทำให้ฟันแยกจากกันได้ จนเกิดความรู้สึกปวด
- ฟันแตกจนเหงือกบวม : ฟันแตกลึกลงไปถึงชั้นเนื้อฟัน ทำให้เหงือกอักเสบ เกิดอาการเสียวฟัน
ฟันหน้าแตก ฟันกรามแตกรักษากี่บาท
สำหรับการรักษาฟันหน้าแตก ฟันกรามแตกปัจจุบันมีอยู่หลายวิธี ทันตแพทย์จะทำการรักษาพิจารณาจาก รอยแตกของฟัน ตำแหน่งของรอยแตก ความรุนแรง และอาการ โดยการรักษาจะมีตั้งแต่ การอุดฟัน การถอนฟัน รักษารากฟัน และครอบฟัน เป็นต้น
ที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC เรามีการรักษาทันตกรรมที่ครบวงจร และมีทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาเฉพาะทาง ทำให้การรักษาที่ BIDC ครอบคลุมเรื่องปัญหาฟันแตก ไม่ว่าจะเป็นฟันหน้า หรือ ฟันกราม โดยการรักษาจะมีราคาเริ่มต้นดังต่อไปนี้
ฟันแตกรักษายังไง
ค่ารักษาเริ่มต้น
*อุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน
1,200 บาท (ด้านละ)
*การถอนฟัน
1,300 บาท (ซี่ละ)
ครอบฟันเซรามิก
*ผู้มีสิทธิประกันสังคมในมาตรา 33 และมาตรา 39 ทางคลินิกทันตกรรม BIDC ให้บริการ ทันตกรรม ประกันสังคม (ขูดหินปูน, อุดฟัน, ถอนฟัน และถอน/ผ่าฟันคุด) ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาท/ปี เหลือจ่ายแค่ส่วนที่เกินจากสิทธิที่ได้รับเท่านั้น ..จองคิวออนไลน์ตอนนี้
อ่านเพิ่มเติม : เรื่องน่ารู้ ทำฟันด้วยการใช้ประกันสังคม [อัปเดต 2567] (คลิก)
สรุป
คำว่า “ฟันแตก” ฟังดูแล้วน่ากลัวไม่ใช่น้อยเลยนะคะ เมื่อฟันของเราแตกเป็นเรื่องที่หลายคนอาจคิดว่าไม่อันตราย แต่ถ้าปล่อยไว้นานๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้เช่นกัน ทางที่ดีที่สุดหากเกิดปัญหาแล้ว ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด
และที่สำคัญมากไปกว่านั้นต้องเลือกทำการรักษากับทันตแพทย์ที่มีสาขาทันตกรรมเฉพาะทางด้านการรักษานั้นๆ เพื่อที่จะทำการรักษาได้ตรงจุด และให้คำปรึกษา วิธีการดูแลได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งต้องหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากของเราอย่างถูกต้อง และถูกวิธี เพื่อฟันแท้ของเราจะได้อยู่กับไปนานๆ
BIDC เราเปิดให้บริการทุกวัน ดูแลทุกท่านด้วยมาตรฐานความปลอดภัยระดับสูง
“หากมีข้อสงสัยในการเรื่องของฟันแตก สอบถาม BIDC ได้ที่นี่ค่ะ (คลิก) ”
ติดต่อเรา คลินิกทันตกรรม BIDC รัชดา
ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์
157, 159 รัชดาภิเษก ซอย7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : +66 (2) 694 6400, +66 (2) 692 4433
อีเมล์ : contact@bangkokdentalcenter.com
Line ID : @bidcdental
สแกน QR Code ปรึกษาเราที่นี่